OUR BLOG

การสืบค้นสิทธิบัตรอย่างง่ายๆ

การสืบค้นสิทธิบัตรอย่างง่าย

          สิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตร นั้น มีจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะถูกพิจารณาว่ารับจดทะเบียนได้หรือไม่นั้น สิ่งแรกคือการดูเรื่อง “ความใหม่” แล้ว “ความใหม่” ที่ว่านี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใหม่ ? แน่นอนครับ ทุกคนคงต้องมาเปิด google ดูแน่ๆ แต่จริงๆแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสอบสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นจะพิจารณา “ความใหม่” จากฐานข้อมูลสิทธิบัตรเป็นหลัก

      ฐานข้อมูลสิทธิบัตรเอวนั้นมีหลากหลาย ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้นมักรู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น ฐานข้อมูลของ PatentscopeEspacenet เป็นต้น หรือฐานข้อมูลที่ถูกแยกออกไปในแต่ละประเทศอีกมากมาย หรืออย่างประเทศไทยเองก็คือสามารถสืบค้นได้โดยใช่ฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้นเองหรือซอฟแวร์ต่างๆที่ช่วยในการสืบค้นเช่น TotalPatentTHOMSON REUTERS

           ซึ่งเครื่องมือในการค้นหาของแต่ละฐานข้อมูลนั้นก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางฐานข้อมูลนั้นก็จะซับซ้อนและต้องใช้เวลาเรียนรู้ในการใช้งาน วันนี้ผมเลยอยากจะแนะนำวิธีเข้าถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรอย่างง่ายๆ โดยใช้ “google patent

google patent1

             Google patent นั้นเข้าได้ง่ายครับ เพียงพิมพ์คำว่า Google patent และจะปรากฎหน้าจอดังกล่าวก็สามารถคลิ๊กเข้าไปเพื่อใช้งานได้เลยครับ เมื่อคลิ๊กเข้าไปแล้วจะเจอกับหน้าจอแบบนี้

%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3

                โดยเราสามารถใส่ข้อมูลหรืองานประดิษฐ์ที่ต้องการค้นหาเข้าไปได้เลยครับ โดยให้ใส่คำสำคัญ (Keyword) ที่ต้องการค้นหา เช่นผมอยากหาเกี่ยวกับจักรยาน ก็สามารถใส่คำว่า “Bicycle” ได้เลยครับ

bicycle

          สิ่งหนึ่งในข้อดีที่ผมชอบมากในการใช้ Google Patent นั้นคือสามารถเห็นภาพเขียน (Drawing) ได้เลยซึ่งทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบงานเชิงวิศวกรรมอย่างมาก เมื่อลองกดเข้าไปดูสักอันหนึ่งจะเห็นข้อมูลสิทธิบัตรดังนี้ครับ

%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87

หมายเลข 1 คือ ชื่อของงานประดิษฐ์นั้นๆ

หมายเลข 2 คือ เลขที่คำขอ ซึ่งใช้อ้างอิงถึงสิทธิบัตรฉบับนั้นๆ

หมายเลข 3 คือ สถานะของคำขอ เช่น B2 นั้นหมายถึงสิทธิบัตรนั้นได้รับการจดทะเบียนแล้ว

หมายเลข 4 คือ ภาพเขียน (Drawing) ของงานประดิษฐ์ที่ได้ยื่นสิทธิบัตรในฉบับนั้นๆ

หมายเลข 5 คือ คำอธิบาย ซึ่งบางฉบับจะมีค่อนข้างครบถ้วน หรือบางฉบับจะมีแค่บางส่วนเท่านั้น

หมายเลข 6 คือ ข้อถือสิทธิ (Claim) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหรือเป็นหัวใจหลักของงานประดิษฐ์นั้นๆว่าต้องการขอคุ้มครองในสิ่งใดบ้าง

ส่วนในหมายเลข 7 นั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ส่วนตัวผู้เขียนนั้นค่อนข้างชอบใช้งาน เนื่องจากบางครั้งการอ่านเพียง ข้อถือสิทธิ (Claim) หรือการดูภาพเขียน (Drawing) นั้นอาจยังไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งการจะเข้าใจงานประดิษฐ์นั้นๆได้จำเป็นต้องอ่านฉบับเต็ม ซึ่งเราสามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาได้ง่ายๆ โดยการใช้ หมายเลข 7 คือ Espacenet ซึ่ง Espacenet นั้นเป็นฐานข้อมูลสิทธิบัตรของยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่หากใช้ Google Patent เราจะพบกับ หมายเลข 7 ได้ง่าย

espacenet

หากต้องการสิทธิบัตรฉบับเต็มนั้น ให้คลิ๊กไปที่ Original document ได้เลยครับ และกดปุ่ม Download หลังงานนั้นทางฐานข้อมูลจะให้เราพิมพ์รหัสตามที่ได้แสดงไว้ ให้ทำการพิมพ์รหัสจะทำให้เราได้สิทธิบัตรฉบับเต็มมาทันที

               การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรนั้นเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการยื่นจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรของท่าน หรือใช้เพื่อนำมาต่อยอดหรือพัฒนางานประดิษฐ์ต่างๆอีกด้วย หรือสามารถนำมาใช้ในการทำ ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) อีกด้วย สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นอาจต้องทำการสืบค้นที่ละเอียดยิ่งขื้นโดยเฉพาะการใช้ฐานข้อมูลที่หลากหลาย และฐานข้อมูลในประเทศที่ท่านต้องการทำการยื่นจดอีกด้วย ซึ่งผมและทีมงานจะมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมในโอกาสต่อไปครับ

ภาพ Featured Image  โดย http://griphonmarketing.com/

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ