OUR BLOG

ความจริงของสิทธิบัตร ในอีกมุม…

placeholder
banner web

ทำความรู้จักกับ “กระท่อม” ด้วยสิทธิบัตร

ทำความรู้จักกับ “กระท่อม” ด้วยสิทธิบัตร

banner web
         ช่วงนี้ทุกท่านคงได้ยินธุรกิจที่เกี่ยวกับพืช “กระท่อม”  กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ขนมไหว้พระจันทร์ที่มีส่วนผสมไปด้วยกระท่อม หรือ กาแฟเดอท่อม ที่เป็นเมนูกาแฟสุดชิคที่ผสมกับใบกระท่อมสด
ซึ่งพืชกระท่อมนี้ เป็นพืชในบัญชียาเสพติดที่เพิ่งได้รับการปลดล็อกไป ตามร่าง พ.ร.บ. พืชกระท่อม (ที่มา: the matter) เช่นเดียวกับพืชกัญชา ที่เพิ่งได้รับการปลดล็อกไป
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจเริ่มให้ความสนใจกับพืชเหล่านี้มากขึ้นนั่นเอง และ แน่นอนว่า IDG ตามติดเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ดั้งนั้น เราจะพาผู้ประกอบการณ์หลาย ๆ ท่านมาดูกันว่า กลุ่มธุรกิจที่สนใจในเรื่องของพืชกระท่อม จะสามารถต่อยอด และ พัฒนาเป็นอะไรได้บ้าง ? ผ่านข้อมูลของสิทธิบัตรนั่นเอง มาดูกัน !
IDG ได้แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก ดังนี้:
1. ใช้พืชกระท่อมร่วมกับสารสกัดอย่าง Cannabinoid (CBD) จากกัญชา 
สามารถนำพืชกระท่อมนี้ มาทำเป็นสูตร หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากกัญชาได้ อย่างที่ปรากฏในคำขอรับสิทธิบัตรสากล เลขที่ WO 2021/099194 A1 ภายใต้ชื่อคำขอ Methods for Preparing Cannabinoid Compositions ถือสิทธิโดย M&M Innovation Limited พัฒนาสารประกอบ CBD ที่มีความสามารถในการละลายน้ำ และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งเจ้า CBD ตัวนี้ เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการ เมาเคลิ้ม และ เป็นสารที่ละลายในไขมันนั่นเอง
2. ใช้สารสกัดจากใบกระท่อม ในทางเภสัชกรรมเพื่อรักษาโรคทางจิตเวช
สามารถนำสารสกัดจากใบกระท่อมไปสกัดทำเป็นยาได้อีกด้วยนะ ดั่งที่ปรากฏในคำขอรับสิทธิบัตรสากลเลขที่ WO 2021/076849 A1 ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ New Kratom Compositions ถือสิทธิโดย CaaMTech LLC  ซึ่งเป็นการใช้สารสกัดจากกระท่อม อย่างน้อย 2 กระท่อม เช่นสารสะกัด 7-Hydroxymitragynine, Mitragynine, Paynantheine, Speciociliatine, Speciogynine, Ajmalicine, Ciliaphylline, Corynantheidine, Corynoxine A, Corynoxine B, Isomitraphylline, Isorhynchophylline, Mitraphylline, Rhynchophylline, Speciophylline, Speciofoline, Epicatechin, 7-Hydroxyspecioliatine, 9-Hydroxycorynantheidine, Corynoxeine, Isopteropodine, Isorhynchophylline Oxindole, Tetrahydroalstonine, Mitragynine Oxindole B, and Mitragynine Oxindole A จากพืชกระท่อมนั่นเอง
3. สามารถพัฒนาเป็นสารเติมกลิ่น และ รส
นอกจากที่พืชกระท่อมจะสามารถนำไปร่วมกับสารสกัดตัวอื่น และ ยังสกัดเป็นยาได้แล้ว กระท่อมนี้ยังสามารถที่จะพัฒนามาแต่งกลิ่นเป็นน้ำยา ได้อีกด้วย ! จากที่ปรากฏในคำขอรับสิทธิบัตรสากลเลขที่ WO 2021/067961 A1  ภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ Flavored Bio Active Extracts and Methods of Flavor Introduction ถือสิทธิโดย Pure Laboratories LLC  ซึ่งมีการพัฒนาสารเติมกลิ่น และรสจากสารสกัดจากกัญชา และกระท่อม ที่เป็นกระบวนการใช้ความร้อน โดยมีการพัฒนาเป็นรสชาติต่าง ๆ เช่น Mixed Berry, Root Beer และ Green Apple เป็นต้น
       ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างจากข้อมูลสิทธิบัตรที่ IDG ได้พบ โดยทั้งหมดนี้เป็นสิทธิบัตรที่ยื่นผ่านองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกด้วย Patent Cooperation Treaty (PCT) อีกด้วย ! (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PCT ได้ที่นี่) ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถที่จะนำไปขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศต่อได้  ดังนั้น หนึ่งในนั้นอาจจะเป็นประเทศไทยก็เป็นได้
        การศึกษาข้อมูลสิทธิบัตรก่อนที่จะลงทุนพัฒนา จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิบัตรได้โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือลดความเสี่ยงของปัญหาที่จะมีการถูกฟ้องร้อง เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถนำมาศึกษาและต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ ให้เหนือกว่า และ ทันสมัยกว่าได้อีกด้วย
IDG หวังว่าข้อมูลนี้จะสามารถช่วยผู้ประกอบการมีไอเดียในการต่อยอดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับพืชเหล่านี้ และ หากมีอะไรอัพเดทที่น่าสนใจ ฝ่ายวิเคราะห์สิทธิบัตรจาก IDG ไม่นิ่งนอนใจแน่นอน จะคอยนำแนวทาง ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี และ ผลิตพัณฑ์มาฝากทุกท่านเรื่อย ๆ นะคะ
จากข้อมูลสิทธิบัตร ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากพืชกระท่อมอีกมากมาย หากท่านสนใจ หรือมีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อม สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่:
ติดต่อเราเพื่อสอบถามรายละเอียด
ทีมวิเคราะห์สิทธิบัตร
Tel : 02-0117161 ต่อ 302
Line : @idgthailand
E-mail : [email protected]

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ