OUR BLOG

เทคนิคการคิดชื่อ Brand เครื่องสำอาง

idg 201802 21

เทคนิคการคิดชื่อ Brand เครื่องสำอาง

แพรวนภา ผู้ประกอบการมือใหม่ ได้มีความคิดที่จะเปิดบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง ระหว่างที่ศึกษาและเตรียมการในปี พ.ศ. 2556 แพรวนภาจึงได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Bhes/\jiya กับสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง

หลังจากได้รับหนังสือสำคัญการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ในปี พ.ศ. 2558 แพรวนภา และเพื่อนๆ ก็ร่วมกันจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องสำอาง และจัดทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์  Bhes/\jiya  ทันที และมาถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรากฎว่าทาง อย. ไม่รับจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางภายใต้ Brand “Bhes/\jiya ”

ก่อนวิเคราะห์เคสนี้ ในเบื้องต้นผมขอเกริ่นเรื่อง Concept ของกฎหมายธุรกิจ ที่จำเป็นและส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ของเราใน 3 รูปแบบ ดังนี้ครับ

  • กฎหมายส่งเสริมธุรกิจเช่น เมื่อมีกฎหมายแล้ว จึงเกิดธุรกิจที่ปรับตัวให้เข้ากับกฎหมาย เช่น กฎหมายให้สัมปทานสิทธิต่างๆ กฎหมายส่งเสริมการลงทุน
  • กฎหมายกีดกันธุรกิจเช่น ธุรกิจบ่อนการพนันนั้น อาจมีใบอนุญาตที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ แต่ประเทศไทยยังกีดกันธุรกิจการพนันอยู่
  • กฎหมายควบคุมธุรกิจธุรกิจบางประเภทกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด

กฎหมายเครื่องหมายการค้าเป็นกฎหมายที่ “ให้สิทธิ” เจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้านั้น

ในขณะเดียวกัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และ กฎหมายเครื่องสำอาง และกฎหมายยา ก็เป็นกฎหมายที่ออกมาควบคุมตัวผลิตภัณฑ์ครับ ดังนั้นลองมาทำความเข้าใจหลักเกณฑ์กันก่อน เพื่อความสะดวกราบรื่นในการประกอบธุรกิจครับ

หลักเกณฑ์ การตั้งชื่อเครื่องสำอาง /ชื่อทางการค้า / ตรา / เครื่องหมายการค้า

  • ต้องไม่ใช้ชื่อไปในทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรือ อาจทำให้เข้าใจผิดจากความจริง
  • ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
  • ต้องไม่ใช้ชื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าทางภาษาไทย
พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง 2535
“เครื่องสำอาง” หมายความว่า

(1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวม ตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย 
พระราชบัญญัติ ยา 2510
“ยาใช้ภายนอก” หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่

“ยาใช้เฉพาะที่” หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้เฉพาะที่กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ
image1

Kera ชื่อยาที่ใช้รักษาอาการคัน และ Veda มาจากเวช ซึ่งแปลว่าการแพทย์

ส่วนนี้จะมีการเข้าใจผิดกันมากครับ ทำให้ไม่ผ่านการจดทะเบียนกับทาง อย. เช่นกรณีของแพรวนภา

Bhes/\jiya  นั้นอ่านเข้าใจได้ว่ามาจากคำว่า Bhesajiya  ซึ่งอ่านหรือเข้าใจได้ว่า “เภสัชยา” เนื่องจากเครื่องสำอางไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถใช้ชื่อที่ทำให้เข้าใจว่ามีคุณลักษณะเป็นยา ซึ่งมีไว้เพื่อรักษาโรคได้

คำว่า Veda หรือเวช ในสลากบรรจุภัณฑ์นั้น มีความหมายว่าการแพทย์นั้น ก็ก่อให้เกิดเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์อื่นๆ อีก เช่น

หลักเกณฑ์การใช้ชื่อสารเป็นชื่อเครื่องสำอาง หรือเป็นส่วนของชื่อเครื่องสำอาง

  • ต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในปริมาณที่เพียงพอ (มีปริมาณตามที่กำหนดไว้ในเอกสารทางวิชาการที่เชื่อถือได้ ตามแนวทางในการแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์  หรือ สนับสนุนข้อความที่แสดงไว้บนฉลากเครื่องสำอาง)
  • ต้องระบุชื่อสารนั้นไว้ที่ฉลากว่า เป็นส่วนประกอบสำคัญ
image2

ตัวอย่าง  Dermale

Dermal แปลว่าผิวหนัง
e หมายถึงวิตามินอี ซึ่งมีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง

หลักเกณฑ์การใช้สรรพคุณเป็นชื่อเครื่องสำอาง

  • ต้องมีสารที่มีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้าง และมีปริมาณที่เพียงพอ (มีปริมาณตามที่กำหนดไว้ในเอกสารทางวิชาการที่เชื่อถือได้  ตามแนวทางในการแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ หรือสนับสนุนข้อความที่แสดงไว้บนฉลากเครื่องสำอาง)
  • ต้องระบุชื่อสารที่มีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้างนั้นไว้ที่ฉลากว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญ

หลักเกณฑ์การกล่าวอ้างชื่อสารว่าเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์

  • ต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้นจริง
  • ต้องระบุชื่อสารนั้นไว้ที่ฉลากเครื่องสำอางว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญ
  • หากมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของสารด้วย จะต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในปริมาณที่เพียงพอแก่การกล่าวอ้างสรรพคุณ  และจะต้องพิสูจน์ได้ตามแนวทางในการแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์  หรือสนับสนุนข้อความที่แสดงไว้บนฉลากเครื่องสำอาง

หลักเกณฑ์รูปภาพ

  • ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
  • ต้องไม่ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

หลักเกณฑ์การแสดงสรรพคุณ

  • ต้องแสดงสรรพคุณภายใต้นิยามของคำว่า “เครื่องสำอาง” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535
  • ต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
  • ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ