OUR BLOG

รู้ไหม กลิ่นก็สามารถจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้

เครื่องหมายกลิ่น OLFACTORY TRADE MARKS / SCENT MARK
child 1152068 1280
รู้ไหมกลิ่นก็สามารถจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้น้า เพื่อเป็นสื่อในการสังเกต จดจำ และแยกความแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นรวมทั้งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าในรูปแบบดั้งเดิม เครื่องหมายกลิ่นที่จะจดได้จะต้องเป็นกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นธรรมชาติของสินค้า และต้องไม่เป็นกลิ่นที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้านั้น อย่างที่ประเทศอเมริกาก็มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากลิ่นน้า
เครื่องหมายกลิ่นในประเทศอเมริกา
เครื่องหมายกลิ่นเครื่องหมายแรกในอเมริกา
จดทะเบียนกลิ่นหอมของดอกพลูเมอเรียที่ใช้กับสินค้าเส้นด้าย ตอนยื่นจดผู้ยื่นขอได้ระบุกลิ่นว่า “The mark was for a “high impact, fresh, floral fragrance reminiscent of Plumeria blossoms” used in connection with “sewing thread and embroidery yarn.” U.S. Reg. No. 1,639,128.”
1
เครื่องหมายกลิ่นในอเมริกา
จด กลิ่น “FLOWERY MUSK SCENT” ในร้านขายอิเล็คทรอนิก VERIZON เครื่องหมายการค้านี้ได้รับการจดทะเบียน เมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม 2014เลขทะเบียน 4618936
เครื่องหมายกลิ่นในประเทศอังกฤษ
http://www.chanel.com/en_US/fragrance-beauty/no5-136328
CHANEL NO 5
ประเทศอังกฤษก็สามารถจดเครื่องหมายกลิ่นได้ ….. “ CHANEL NO 5 ” จดเครื่องหมายกลิ่น ตั้งแต่ปี 1994 แหละ
“ CHANEL NO 5 ” อธิบายว่าเครื่องหมายนี้มีกลิ่นแบบ “ scent of aldehydic-floral fragrance product, with an aldehydic top note from aldehydes, bergamot, lemon and neroli; an elegant floral middle note, from jasmine, rose, lily of the valley, orris and ylang-ylang. And a sensual feminine note from sandal, cedar, vanilla, amber, civet and musk ” แต่ไม่สามารถจดได้นะ เพราะกลิ่นที่มาจากธรรมชาติเนี้ยจะไม่สามารถจดได้ …..
เครื่องหมายที่สองที่ยื่นจดเครื่องหมายกลิ่น ในประเทศอังกฤษและได้รับการจดทะเบียน ภายใต้ THE UK REGISTER OFFICE เลขทะเบียน GB 2000234 ยื่นโดย SUMITOMO RUBBER CO., ยื่นจดกลิ่นหอมของกุหลาบที่ใช้สำหรับยางล้อรถ “ A floral fragrance / smell reminiscent of roses as applied to tyres” ปัจจุบันเครื่องหมายการค้านี้ได้โอนสิทธิให้แก่ Dunlop Tyres
แม้ว่าเครื่องหมายการค้ากลิ่นจะได้รับความคุ้มครองในกฏหมายของหลายประเทศแต่เครื่องหมายกลิ่นยังไม่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ