OUR BLOG

ทำอย่างไร ? เมื่อเกิดการพิพาท ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร
ข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ผังภูมิวงจรรวม ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การคุ้มครองพันธุ์พืช และยังรวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สัญญาค่าตอบแทนการใช้ลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
การระงับข้อพิพาท หมายถึง
การที่คู่พิพาทเลือกที่จะระงับข้อพิพาทโดยไม่นำคดีขึ้นสู่ศาล
ในทางสากลเรียกกระบวนการนี้ว่า การระงับข้อพิพาททางเลือก
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้กำหนดกระบวนการระงับข้อพิพาทเป็น 2 ประเภท คือ
::การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
– การระงับข้อพิพาทโดย คู่กรณี ยินดีให้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (ไม่มีคำชี้ขาดใดๆ)
– กระบวนการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยคู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
::::การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
– การระงับข้อพิพาทโดย คู่กรณีมอบข้อพิพาทให้บุคคลที่สาม (อนุญาโตตุลาการ) วินิจฉัยชี้ขาด
ซึ่งคำวินิจฉัยของบุคคลที่สาม (อนุญาโตตุลาการ) นี้ คู่กรณีตกลงกันที่จะผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
– กระบวนการอนุญาโตตุลาการ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งกำหนดตามทุนทรัพย์ที่คู่พิพาทเรียกร้อง
  กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
  • ผู้ขอให้ไกล่เกลี่ย

    ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุเรื่องที่จะขอให้มีการไกล่เกลี่ย
  • สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินปัญญา

    จะมีหนังสือเชิญคู่พิพาทมาชี้แจงข้อเท็จจริง
  • คู่พิพาท

    มาประชุมร่วมกันเพื่อไกล่เกลี่ย

    • กรณีตกลงกันได้  
      • ทำบันทึกข้อตกลงและลงนามร่วมกัน
    • กรณีที่ตกลงกันไม่ได้
      • คู่กรณีอาจนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือนำคดีเข้าสู่ศาล
  ขั้นตอนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ
  • คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย

    ยื่นคำเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำนักป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา

    แจ้งคำเสนอไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
คู่กรณีตกลงกันที่จะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท
  • คู่กรณี

    จะให้คู่กรณีเลือก อนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ ( 1 คน หรือ 3 คน แล้วแต่กรณี ) ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในสาขาต่างๆไว้
  • อนุญาโตตุลาการ

    จะนัดพร้อมคู่พิพาท เพื่อสอบถามถึงประเด็นปัญหาข้อพิพาท และจะกำหนดประเด็นและหน้าที่นำสืบ
    ทั้งพยานเอกสาร และพยานบุคคล ซึ่งอนุญาโตตุลาการก็จะกำหนดเวลาการสืบพยานแต่ละฝ่าย
  • อนุญาโตตุลาการ

    การพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการเป็นโดยวิธีลับ
    โดยจะต้องพิจารณาและทำคำชี้ขาดภายใน 90 วัน ( แต่สามารถขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 90 วัน ) รวมแล้วไม่เกิน 180 วัน
  • อนุญาโตตุลาการ

    ภายหลังจากที่อนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดแล้วคู่พิพาทถือว่ามีผลผูกพัน คู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น

    >>หากคู่พิพาทไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

    ฝ่ายชนะคดีอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อบังคับตามคำชี้ขาด
    ( เป็นข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545)

ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดตั้ง “สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา” ขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นและอำนวยความสะดวกในการระงับข้อพิพาทให้แก่คู่พิพาทโดยการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การประนอมข้อพิพาท และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่พิพาททั้งสองฝ่ายในการช่วยยุติปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม
ข้อดีของการใช้วิธีระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
    สะดวก
        – ขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาชี้ขาดไม่เข้มงวด เคร่งครัด หรือ มีพิธีการยุ่งยาก เหมือนการพิจารณาคดีในศาล
    รวดเร็ว
        – การพิจารณาใช้เวลาที่สั้นและรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับการพิจารณาในศาล
    ประหยัด
– คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้นกรณีอนุญาโตตุลาการ
    เป็นธรรม
– เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ทำให้การพิจารณาทำได้รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่คู่พิพาท
    พึงพอใจ
        – คู่พิพาทที่เป็นคู่ค้าสามารถยุติข้อพิพาทได้และรักษาชื่อเสียง และความลับระหว่างกันได้ เนื่องจากกระบวนการเป็นความลับ อีกทั้งรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันไว้ได้ต่อไป เพราะคู่พิพาทไม่ต้องเผชิญหน้าต่อสู้กันเพื่อผลแพ้ชนะทางคดีเหมือนการดำเนินคดีในศาล

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ