OUR BLOG

“เสียง” ก็เป็นเครื่องหมายการค้าได้แล้ว!

idg cover content
 
สืบเนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียน “เสียง” เป็นเครื่องหมายการค้าได้
เสียงที่จะจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้นั้นจะต้องเป็นเสียงที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือจะต้องเป็นเสียงที่ทำให้ประชาชนสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการของเจ้าของเครื่องหมายกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่นได้ และจะต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่ขอจดทะเบียนโดยตรง ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเภทอื่นๆ เช่น เสียงเครื่องยนต์จะไม่สามารถจดทะเบียนกับสินค้ารถยนต์ได้ เป็นต้น
 
ตัวอย่างเครื่องหมายเสียงที่คนไทยคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วในสหรัฐอเมริกา เช่น ดนตรีไตเติ้ลภาพยนตร์ของค่ายภาพยนตร์ 20th Century Fox, เสียงสิงโตคำรามของค่ายภาพยนตร์ MGM, เสียงโห่ร้องของทาซาน เป็นต้น
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศใช้ “กฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534)” กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายเสียง (Sound trademark)  ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายเสียงต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป
การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายเสียง ผู้ยื่นคำขอจะต้องบรรยายเสียงที่ขอจดทะเบียน เช่น เป็นเสียงคนพูด, เป็นเสียงร้องของสัตว์, เป็นเสียงดนตรีที่สอดประสานกัน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องแนบสิ่งบันทึกเสียงนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบแผ่น CD, DVD, USB Thumb drive หรือ SD Card ไปพร้อมกับคำขอจดทะเบียนด้วย หรือจะแนบโน๊ตดนตรีหรือกราฟเสียงเพื่อประกอบการพิจารณาของนายทะเบียนด้วยก็ได้
เครื่องหมายเสียงเครื่องหมายแรกที่ยื่นคำขอจดทะเบียนในประเทศไทย คือเครื่องหมายเสียงของสินค้าแผ่นอนามัยโซฟี โดย Uni-charm Corporation สัญชาติญี่ปุ่น โดยยื่นคำขอเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นวันแรกที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดรับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายเสียง
สำหรับผู้ประกอบการไทยท่านใดที่เห็นว่า “เสียง” เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำสินค้าหรือแบรนด์สินค้าของท่านได้ก็สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเสียงนั้นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนเองได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
 
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
  • 02-011-7161 ต่อ 101-103 (ฝ่ายเครื่องหมายการค้า)
  • อีเมล [email protected]
  • line@: @idgthailand

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ