OUR BLOG

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำหรับภาคธุรกิจ คืออะไร ?

สำคัญอย่างไรกับภาคประชาชนและธุรกิจ 2

ใครที่ไม่อยากให้ธุรกิจสะดุด ไม่ควรพลาด ! กับการขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือที่รู้จักกันในนามของการขอรับบีโอไอ (ฺBOI) ซึ่ง IDG จะขอมาสรุปกันแบบสั้น ๆ เพื่อให้คุณเข้าใจภาพรวมของการส่งเสริมการลงทุนสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ หรือผู้สนใจขอรับ BOI

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ภายใต้การดูเเลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI : The Board of Investment ) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ใครขอรับ BOI ได้บ้าง ?

  • นักลงทุนไทย เเละนักลงทุนต่างชาติ

ทำไมเราต้องขอรับ BOI ? มีข้อดีอย่างไรบ้าง

  • ส่งเสริมทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศทุกขนาดการลงทุน และส่งเสริมเป็นรายโครงการ
  • ส่งเสริมทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และส่งเสริมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เเต่ให้สิทธิจำแนกตามพื้นที่เป้าหมาย
  • ส่งเสริมการลงทุนในเชิงเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก การจ้างงาน การกระจายรายได้ เป็นต้น
  • เพื่อลดความเสี่ยงด้านต้นทุนตั้งเเต่เเรกเริ่มธุรกิจ เเละสร้างโอกาสการลงทุนจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการขอรับ BOI 
  • เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งภายในประเทศเเละต่างประเทศ เกิดความเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุน

ตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหากขอ BOI สำเร็จ ?

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

  • อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งของ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  • อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

จำแนกโดยกลุ่มอุตสาหกรรมและประเภทกิจการ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์

  2. อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

  3. อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน

  4. อุุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

  5. การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ (เบื้องต้น)

  • ต้องเป็นโครงการที่มีประเภทกิจการตรงตามข้อกำหนดของ BOI
  • พิจารณาเป็นรายโครงการ เเละต้องเป็นโครงการที่มีการลงทุนใหม่ ไม่มีการดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
  • มีกรรมวิธีผลิตที่ทันสมัย
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 
  • มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการการเกษตร/อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน/ตัดโลหะให้มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10%
  • ต้องมีเเนวทางมาตรฐานในการป้องกันเเละลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ  (เบื้องต้น)

  • ให้โครงการลงทุนในกิจการต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ตามบัญชีหนึ่งของพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  • ให้โครงการลงทุนในกิจการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ตามบัญชีสองและสามของ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  • กำหนดสัดส่วนตามความเหมาะสำหรับธุรกิจบางประเภทได้
  • หากมีการนำเข้าผู้ชำนาญการต่างประเทศให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

จากข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้นำมารวบรวมจะเห็นได้ว่า การขอรับการส่งเสริมการลงทุนถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจของคุณให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เเละมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากโครงการของคุณเป็นไปตามเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ก็จะสามารถเพิ่มโอเกาสให้กับภาคธุรกิจของคุณได้ทั้งในและต่างประเทศ

หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการให้ IDG ช่วยดูเเลด้านการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 

ติดต่อได้ที่ : 
Line: @idgthailand (มี@)
E-Mail: [email protected]
โทร: 02-011-7161 ต่อ 106


ที่มา: BOI : The Board of Investment of Thailand

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

สำคัญอย่างไรกับภาคประชาชนและธุรกิจ 2

ใครที่ไม่อยากให้ธุรกิจสะดุด ไม่ควรพลาด ! กับการขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือที่รู้จักกันในนามของการขอรับบีโอไอ (ฺBOI) ซึ่ง IDG จะขอมาสรุปกันแบบสั้น ๆ เพื่อให้คุณเข้าใจภาพรวมของการส่งเสริมการลงทุนสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ หรือผู้สนใจขอรับ BOI

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ภายใต้การดูเเลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI : The Board of Investment ) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ใครขอรับ BOI ได้บ้าง ?

  • นักลงทุนไทย เเละนักลงทุนต่างชาติ

ทำไมเราต้องขอรับ BOI ? มีข้อดีอย่างไรบ้าง

  • ส่งเสริมทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศทุกขนาดการลงทุน และส่งเสริมเป็นรายโครงการ
  • ส่งเสริมทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และส่งเสริมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เเต่ให้สิทธิจำแนกตามพื้นที่เป้าหมาย
  • ส่งเสริมการลงทุนในเชิงเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก การจ้างงาน การกระจายรายได้ เป็นต้น
  • เพื่อลดความเสี่ยงด้านต้นทุนตั้งเเต่เเรกเริ่มธุรกิจ เเละสร้างโอกาสการลงทุนจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการขอรับ BOI 
  • เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งภายในประเทศเเละต่างประเทศ เกิดความเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุน

ตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหากขอ BOI สำเร็จ ?

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

  • อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งของ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  • อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

จำแนกโดยกลุ่มอุตสาหกรรมและประเภทกิจการ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์

  2. อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

  3. อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน

  4. อุุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

  5. การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ (เบื้องต้น)

  • ต้องเป็นโครงการที่มีประเภทกิจการตรงตามข้อกำหนดของ BOI
  • พิจารณาเป็นรายโครงการ เเละต้องเป็นโครงการที่มีการลงทุนใหม่ ไม่มีการดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
  • มีกรรมวิธีผลิตที่ทันสมัย
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 
  • มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการการเกษตร/อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน/ตัดโลหะให้มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10%
  • ต้องมีเเนวทางมาตรฐานในการป้องกันเเละลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ  (เบื้องต้น)

  • ให้โครงการลงทุนในกิจการต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ตามบัญชีหนึ่งของพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  • ให้โครงการลงทุนในกิจการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ตามบัญชีสองและสามของ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  • กำหนดสัดส่วนตามความเหมาะสำหรับธุรกิจบางประเภทได้
  • หากมีการนำเข้าผู้ชำนาญการต่างประเทศให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

จากข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้นำมารวบรวมจะเห็นได้ว่า การขอรับการส่งเสริมการลงทุนถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจของคุณให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เเละมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากโครงการของคุณเป็นไปตามเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ก็จะสามารถเพิ่มโอเกาสให้กับภาคธุรกิจของคุณได้ทั้งในและต่างประเทศ

หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการให้ IDG ช่วยดูเเลด้านการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 

ติดต่อได้ที่ : 
Line: @idgthailand (มี@)
E-Mail: [email protected]
โทร: 02-011-7161 ต่อ 106


ที่มา: BOI : The Board of Investment of Thailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ