OUR BLOG

การขอเครื่องหมายรับรอง คืออะไร ? แล้วต้องพิจารณาอะไรบ้าง ?

cermark

 ก่อนอื่น IDG ขอยกตัวอย่างเครื่องหมายรับรองที่จดทะเบียนไว้ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนกันมากขึ้นว่าเครื่องหมายรับรอง คืออะไรและมีหน้าที่อะไร ยกตัวอย่างเช่น

Picture1
Picture2
Picture3
Picture4
  เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายเอาไว้รับรองกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ของเจ้าของเครื่องหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง และยังมีหน้าที่ในการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่น ๆ ของสินค้าหรือบริการนั้น และเมื่อเจ้าของเครื่องหมายรับรองได้ไปรับรองสินค้าหรือบริการของผู้ใดแล้ว บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิใช้เครื่องหมายรับรองนั้นควบคู่ไปกับเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของตนเองได้นั่นเองค่ะ แต่เจ้าของเครื่องหมายรับรองจะใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าหรือบริการของตนเองไม่ได้นะคะ ดังนั้นประมาณว่าห้ามนำเครื่องหมายนี้ไปใช้กับสินค้าหรือบริการของตน รวมไปถึงการอนุญาตให้คนอื่นใช้เครื่องหมายรับรองต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของเจ้าของด้วย

      ดังนั้น ในการอนุญาตให้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนายทะเบียนจะพิจารณาถึงความสามารถในการรับรองของผู้ขอรับเครื่องหมายรับรองด้วย โดยเกณฑ์ในการขอเครื่องหมายรับรองในเรื่องการพิจารณารับจดทะเบียน ก็ยังคงยึดตามเงื่อนไขของการขอจดทะเบียนเครื่องหมายทั่วไป คือ

1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ

3. ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียน ไว้แล้ว 

แต่เงื่อนไขที่จะเพิ่มเข้ามาเพิ่มเติมในการรับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้อง (ตามมาตรา 82)

  1. ยื่นข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นพร้อมกับคำขอจดทะเบียนด้วย และ
  2. แสดงได้ว่าตนมีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ

โดยข้อบังคับตาม (1) ต้องระบุถึงแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือ คุณลักษณะอื่นใดของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น  ส่วนข้อ (2) ความสามารถในการรับรองของผู้ขอ เช่น เป็นผู้เชียวชาญในด้านที่จะรับรอง หรือ ได้รับการยอมรับในความเป็นเลิศสาขานั้น ๆ แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้น หรือเห็นว่าการรับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ให้ นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นและมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผล แต่ผู้ขอก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้

 

อ้างอิง ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดรายละเอียดข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองตามนัย มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า  พ.ศ. ๒๕๓๔

IDG หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ จะสามารถช่วยผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่าน มีความเข้าใจในการขอเครื่องหมายรับรองได้มากขึ้น เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้า ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ให้คำปรึกษาท่านได้

 โทร: 02-011-7161 ถึง 6

ฝ่ายเครื่องหมายการค้า 02-011-7161 Ext

ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102

ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105

ฝ่ายกฏหมาย Ext 103

E-Mail: [email protected]

Line: @idgthailand

Facebook
Twitter
LinkedIn
cermark

 ก่อนอื่น IDG ขอยกตัวอย่างเครื่องหมายรับรองที่จดทะเบียนไว้ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนกันมากขึ้นว่าเครื่องหมายรับรอง คืออะไรและมีหน้าที่อะไร ยกตัวอย่างเช่น

Picture1
Picture2
Picture3
Picture4
  เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายเอาไว้รับรองกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ของเจ้าของเครื่องหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง และยังมีหน้าที่ในการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่น ๆ ของสินค้าหรือบริการนั้น และเมื่อเจ้าของเครื่องหมายรับรองได้ไปรับรองสินค้าหรือบริการของผู้ใดแล้ว บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิใช้เครื่องหมายรับรองนั้นควบคู่ไปกับเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของตนเองได้นั่นเองค่ะ แต่เจ้าของเครื่องหมายรับรองจะใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าหรือบริการของตนเองไม่ได้นะคะ ดังนั้นประมาณว่าห้ามนำเครื่องหมายนี้ไปใช้กับสินค้าหรือบริการของตน รวมไปถึงการอนุญาตให้คนอื่นใช้เครื่องหมายรับรองต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของเจ้าของด้วย

      ดังนั้น ในการอนุญาตให้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนายทะเบียนจะพิจารณาถึงความสามารถในการรับรองของผู้ขอรับเครื่องหมายรับรองด้วย โดยเกณฑ์ในการขอเครื่องหมายรับรองในเรื่องการพิจารณารับจดทะเบียน ก็ยังคงยึดตามเงื่อนไขของการขอจดทะเบียนเครื่องหมายทั่วไป คือ

1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ

3. ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียน ไว้แล้ว 

แต่เงื่อนไขที่จะเพิ่มเข้ามาเพิ่มเติมในการรับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้อง (ตามมาตรา 82)

  1. ยื่นข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นพร้อมกับคำขอจดทะเบียนด้วย และ
  2. แสดงได้ว่าตนมีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ

โดยข้อบังคับตาม (1) ต้องระบุถึงแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือ คุณลักษณะอื่นใดของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น  ส่วนข้อ (2) ความสามารถในการรับรองของผู้ขอ เช่น เป็นผู้เชียวชาญในด้านที่จะรับรอง หรือ ได้รับการยอมรับในความเป็นเลิศสาขานั้น ๆ แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้น หรือเห็นว่าการรับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ให้ นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นและมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผล แต่ผู้ขอก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้

 

อ้างอิง ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดรายละเอียดข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองตามนัย มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า  พ.ศ. ๒๕๓๔

IDG หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ จะสามารถช่วยผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่าน มีความเข้าใจในการขอเครื่องหมายรับรองได้มากขึ้น เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้า ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ให้คำปรึกษาท่านได้

 โทร: 02-011-7161 ถึง 6

ฝ่ายเครื่องหมายการค้า 02-011-7161 Ext

ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102

ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105

ฝ่ายกฏหมาย Ext 103

E-Mail: [email protected]

Line: @idgthailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ