บริการสิทธิบัตร

การปกป้องนวัตกรรม ด้วยการจดสิทธิบัตร

Trusted by 1,000+ brands and organizations of all sizes
Our Services

IDG เราคือผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสิทธิบัตรตัวจริง

ทีมงานของเราประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ยาวนานถึง 15 ปี มีทีมงานตัวแทนสิทธิบัตรที่เข้าใจนวัตกรรมของคุณได้อย่างแท้จริงทั้งด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา รวมไปถึงนักออกแบบและทีมนักกฎหมายมืออาชีพที่ช่วยดูแลคุณในทุกขั้นตอน ทั้งการร่างคำขอสิทธิบัตร จัดทำภาพเขียน จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง สืบคันสิทธิบัตร ยื่นจดทะเบียน วิเคราะห์ วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ โดยการดำเนินงานที่ ครอบคลุมทั้งการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จดอนุสิทธิบัตร และจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือการยื่นสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT

อีกทั้งยังจัดการข้อมูลสิทธิบัตรของคุณอย่างเป็นระบบ และสามารถดำเนินการด้านกฎหมายหรือดำเนินการด้านการตลาดหลังการจดสิทธิบัตรได้อีกด้วย

Creativity. Flexibility. Innovation
arno jpg014 jpg
One Stop Services

บริการสิทธิบัตร แบบครบวงจร

THAILAND PATENT REGISTRATION​

บริการจดทะเบียนสิทธิบัตร​

PATENT SEARCH

บริการสืบค้นสิทธิบัตร

GLOBAL PATENT REGISTRATION​

บริการจดทะเบียนสิทธิบัตรทั่วโลก

TECHNOLOGY ANALYSIS

บริการวิเคราะห์สิทธิบัตรและเทคโนโลยี​

Why Choose Us

ให้บริการด้วยความเป็นกันเอง
โดยมืออาชีพด้านสิทธิบัตร​

เราได้รับความไว้วางใจ ให้ดูแลงานสิทธิบัตรให้กับลูกค้าทั้งหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย เอกชนตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึง มหาชนระดับประเทศมากมาย รวมถึงให้บริการแก่องค์กรใหญ่จากต่างประเทศอีกด้วย

เรายังมีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายประเทศทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลสิทธิบัตรของท่านได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

มากประสบการณ์

ทีมงานของเราประกอบด้วยทีมตัวแทน สิทธิบัตร และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรประสบการณ์ตรง ยาวนานถึง 15 ปี

เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

เรามีทีมงานตัวแทนสิทธิบัตรที่เข้าใจนวัตกรรมของคุณได้อย่างแท้จริง ทั้งด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา

วิเคราะห์แม่นยำ

เรามีเครื่องมือวิเคราะห์เทคโนโลยีสิทธิบัตรและนวัตกรรมจากทั่วโลกได้อย่างแม่นยำ พร้อมสามารถให้คำแนะนำแน้วโน้มในการนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยืดหยุ่น และจริงใจ

เราได้รับความไว้วางใจ ให้ดูแลงานสิทธิบัตรให้กับลูกค้าทั้งหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย เอกชนตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึง มหาชน สื่อสารตรงไปตรงมา ไม่มีเก็บเพิ่มทีหลัง

business people working with ipad medium shot
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ

รีวิวจากผู้ใช้บริการ

"ทีมงานเข้าใจในตัวงาน เพียงเล่า Core idea ให้ฟัง เเม้จะซับซ้อนก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเเละผลลัพธ์เป็นไปตามอย่างที่เราต้องการ"

messageImage 1693746824969
คุณ ฉัตรพัฒน์ จิรธันยพัต บริษัท ฉลาดอินโนเวชั่น จำกัด

"IDG มีทีมงานที่มีคุณภาพเเละมีความครบวงจร เข้ามาที่นี่ที่เดียวคือได้ข้อมูลไปเเบบครบถ้วนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตร"
 

messageImage 1693745539168
คุณ วิศรุต พนับนพ บริษัท เบทาโก จำกัด (มหาชน)

"IDG ให้บริการครบวงจร มาเป็นทีม ประทับใจมาก ๆ ก็คงใช้บริการ IDG ต่อไป"

 

messageImage 1693748863366
คุณ ชวกิจ เก้าเอี้ยน บริษัท ทรูซัคเซส เมดิคอล ซัพพลาย จำกัด

“มากกว่าการจดทะเบียน
เราพร้อมแนะนำการใช้ประโยชน์”

การวิเคราะห์ข้อมูล
สิทธิบัตร

เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงภาพรวมของเทคโนโลยี
หรือข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ

กระบวนการคัดกรองและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารสิทธิบัตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหลากหลายระดับและรูปแบบไม่ว่าจะเป็นระดับอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีนวัตกรรมนั้นๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงภาพรวมของเทคโนโลยีหรือข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งระดับภายในประเทศ ระหว่างประเทศและทั่วโลก ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการวางแผนกลยุทธ์หรือการตัดสินใจทางธุรกิจในตลาด รวมถึงยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรมของท่านให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในท้องตลาดนั้นๆ

1365

สอบถามข้อมูล

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG
กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG ส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะรีบติดต่อกลับให้ไวที่สุด

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญทันทีผ่าน 
@idgthailand
เพื่อติดต่อเราผ่านแอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แบบฟอร์มติดต่อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร

จดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เบื้องต้น

สิทธิบัตรเบื้องต้น

สิทธิบัตรคืออะไร? มีกี่ประเภท? ต่างกันอย่างไรมีขั้นตอนอย่างไร
รวมเรื่องสิทธิบัตรเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนจดสิทธิบัตร

คำถามที่พบบ่อย

สิทธิบัตร คือ

สิทธิบัตร (Patent) เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ออกเพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยให้สิทธิ์เฉพาะแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เจ้าของสิทธิบัตรสามารถกีดกันผู้อื่นจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น อุปกรณ์ที่มีการทำงานเฉพาะ หรือการออกแบบที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น รูปทรง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์

การจดสิทธิบัตรจะช่วยยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้คิดค้นไอเดียนั้น ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังสามารถสร้างหรือเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งประดิษฐ์ของเราเพื่อต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ในอนาคต  และโอกาสในการขายสิทธิ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย

ข้อดีของการจดสิทธิบัตรไม่ได้มีเพียงแค่การปกป้องคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่หากยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และบริการได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์แล้ว ยังมีการจดสิทธิบัตรสำหรับกระบวนการผลิตสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับสูตรการผลิต 

การจดสิทธิบัตร ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้​ การจดสิทธิบัตรสามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการในหลายมิติ นอกเหนือจากการป้องการการลอกเลียนแบบแล้ว ยังมีผลต่อการแข่งขันในตลาด ดังนี้ เสริมความน่าเชื่อถือ (Credibility Enhancement) สิทธิบัตรจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในตลาด ลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์สามารถมั่นใจได้มากขึ้นในผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง สร้างมูลค่าทางธุรกิจ (Business Value Creation) สิทธิบัตรจะสร้างมูลค่าทางธุรกิจ หากต้องมีการขายสิทธิหรือให้เช่าสิทธิในอนาคต ส่งเสริมการลงทุน(Attracting Investment) ซึ่งแน่นอนสิทธิบัตรจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม

การจดสิทธิบัตรเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การมีตัวแทนหรือผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพในการดูแลการจดสิทธิบัตรจะช่วยให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการได้รับสิทธิบัตรที่คุ้มค่า 

 Untitled 1 1

     สิทธิบัตร (Patent) คือเอกสารทางกฏหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายการประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นเจ้าของสิทธิสามารถกีดกันผู้อื่นจากการผลิต ขาย แจกจ่าย หรือนำเข้างานของเจ้าของสิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้สอย (functional products) หรือเป็นการออกแบบเพื่อตกแต่ง (ornamental designs) ซึ่งรวมไปถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำมาจดสิทธิบัตรได้ แต่การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเหล่านี้ ผู้ยื่นจดสิทธิบัตรจำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดและสาระสำคัญของงานต่อสำนักสิทธิบัตรในประเทศที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง หากงานประดิษฐ์หรืองานออกแบบใดไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบจะสามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเริ่มธุรกิจที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม หรือการให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ (license-out) เพื่อที่ผู้อื่นสามารถนำไปผลิต ขาย หรือพัฒนาต่อยอดได้


ภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย สิทธิบัตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

patent design     สิทธิบัตรการประดิษฐ์
Patent idea    อนุสิทธิบัตร
idea 1     สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธี

สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

3 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้านหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

สิ่งประดิษฐ์นั้นต้องมีลักษณะทางเทคนิคที่ไม่เป็นที่เข้าใจต่อผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในแวดวงเดียวกันได้โดยง่าย การยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพิจารณา อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นผ่านฐานข้อมูลต่างๆ คุณจะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่กำลังจะยื่นจดนั้น เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาเหนือชั้นกว่าสิ่งเดิมหรือไม่ หนทางหนึ่งที่ใช้กันก็คือการใช้ข้อมูลเสริมที่ได้จากผลการทดสอบ ผลการวิจัย หรือผลการสืบค้น prior arts และเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ในส่วนรายละเอียดการประดิษฐ์หรือเอกสารประกอบการยื่นจดฯ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ท่านพยายามยื่นจดฯ นั้นมีความแตกต่างและมีลักษณะทางเทคนิคที่สูงกว่างานประดิษฐ์ก่อนๆ

3. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้

การประดิษฐ์ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • กรรมวิธีผลิตผงซักฟอกใหม่ที่มีส่วนประกอบของสารสมุนไพรหลายฃนิด (ไม่เป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน) เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาผ่านกรรมวิธีการผลิตนี้แล้วทำให้เกิดผลบวกต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ (ควรมีผลการทดลองเพื่อประกอบการยื่นจดด้วย) เช่นการฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่บนผ้า การระงับการแพร่เชื้อโรค ขจัดคราบต่างๆ และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลที่ดีเหนือกว่าผงซักฟอกแบบเดิม
  • ระบบไฮบริดใหม่ (Hybrid) ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในเครื่องยนต์และมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เหนือกว่าเครื่องยนต์ระบบไฮบริดแบบเดิมในตลาด
  • ระบบการผลิตไม้กอล์ฟแบบใช้ข้อมูลดิจิตอลมาประกอบการผลิต ที่อำนวยให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปร่างลักษณะ ขนาด ความโค้งมนและวัสดุให้ตรงตามความต้องการ ด้วยระบบการผลิตชนิดนี้ทำให้สามารถผลิตไม้กอล์ฟได้อย่างรวดเร็วทันที ลูกค้าสามารถรอรับกลับบ้านได้

2. อนุสิทธิบัตร

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธีอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น เจ้าของสิทธิสามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี แต่ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปีหลักเกณฑ์ “ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น” จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเล็กน้อย

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับอนุสิทธิบัตร

1. ใหม่
สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านฐานข้อมูลหลายๆทาง ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยาสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้
เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจตรงกันว่าการประดิษฐ์อะไรก็ตามแต่ ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯ ได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างการประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยอนุสิทธิบัตร

  • การออกแบบถุงใส่ไม้กอล์ฟที่มีพื้นที่แบ่งเป็นสัดส่วน เหมาะกับการจัดเก็บไม้กอล์ฟไม่ให้หล่นหรือหลุดออกจากถุงได้ มีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงมือ ลูกกอล์ฟ หรือไม้สำหรับตั้งลูกกอล์ฟ (tee)
  • หม้อต้มที่มีก้นหม้อเป็นพื้นผิวโค้งมน เพื่อกระจายความร้อนจากเตาให้หม้อต้มได้รับความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหุงต้มได้รวดเร็วขึ้น
  • สูตรเครื่องสำอางที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมอนุภาคทองขนาดนาโนเมตร (เรียกอีกอย่างว่า อนุภาคนาโน) ที่ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างประกายหลังการทา

3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

คุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย)

สิทธิบัตรการออกแบบมีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1. ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการยอมรับในอุตสหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ในประเทศไทยนั้น การออกแบบจะต้องไม่ไปกระทบต่อความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นการออกแบบนาฬิกาที่มีรูปลักษณ์เหมือนกับอวัยวะเพศ หรือโคมไฟที่มีลักษณะเหมือนกับเศียรพระพุทธรูป

ตัวอย่างการออกแบบที่อาจได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • กระถางปลูกต้นไม้ที่มีก้นเป็นรูปทรงกลมมน
  • ตู้เย็นที่มีรูปร่างคล้ายนกเพนกวิน
  • การออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีความหลากหลายดีไซน์แต่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอยคล้ายกัน

     

IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

เพิ่มเติม

  • กฎระเบียบและขั้นตอนในการยื่นจดสิทธิบัตร สามารถหาได้จากส่วนสิทธิบัตรของเว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรในต่างประเทศ โปรดยื่นจดผ่านระบบ Patent Cooperation Treaty (PCT) หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักสิทธิบัตรในแต่ละประเทศโดยตรง คนที่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มภาคีสมาชิคของ PCT สามารถยื่นจดสิทธิบัตร (เป็นภาษาอังกฤษ) กับกลุ่ม PCT ชั้น 6 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT หาได้จาก http://www.wipo.int/pct/en/ และเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โปรดติดติอผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศได้โดยตรง
  • ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่เป็นหนึ่งในสมาชิคของ Hague System ซึ่งเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ยื่นในการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ทาง: http://www.wipo.int/hague/en/