เครื่องหมายการค้าเบื้องต้น (อัปเดต 2567)
สารบัญเครื่องหมายการค้า
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Trademark
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้า หมายถึง ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ โลโก้ ตราสัญลักษณ์ ชื่อ คำ ข้อความ ลายมือชื่อ รูปร่างหรือรูปทรง เป็นต้น ะเครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว เจ้าของเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่จดทะเบียนำไว้
นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าจะช่วยให้เจ้าของสามารถสร้างความโดดเด่นความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของตน และเครื่องหมายยังช่วยให้กลุ่มลูกค้าเข้าใจได้ถูกต้องว่าสินค้าหรือบริการนั้นมาจากแหล่งไหน มีคุณภาพและเชื่อถือได้หรือไม่ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เจ้าของธุรกิจ นักออกแบบกราฟฟิก ฝ่ายขายหรือฝ่ายการตลาด การปกป้องเครื่องหมายสามารถทำให้คุณดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจและสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเภทของเครื่องหมายการค้า
“เครื่องหมาย” สามารถอยู่ในรูปแบบของคำ แบบ2-D และ 3-D เสียง หรือสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยเครื่องหมายแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
- เครื่องหมายการค้า (Trademark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น NIKE RED BULL Coca-Cola เพื่อแสดงว่าเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของบุคคลอื่น
- เครื่องหมายการบริการ (Service Mark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับงานบริการ ตัวอย่างเช่น FedEx Hilton Kasikorn Bank เพื่อแสดงว่าเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายของบุคคลอื่น
- เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) เป็นเครื่องหมายที่เจ้าของใช้รับรองสินค้าหรือบริการของผู้อื่น เพื่อใช้รับรองแหล่งที่มา ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามมาตราฐานตามเงื่อนไขของเครื่องหมายรับรองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ตรามาตรฐานของ Halal ISO หรือ FDA แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
- เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Siam Cement Group (SCG) หรือ กลุ่ม Charoen Pokphand (CP)
เครื่องหมายถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาชนิดหนึ่งที่มีมูลค่าทางการตลาดที่สูงมากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์ดังอาจมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่า ถึงแม้เมื่อเทียบกับสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ (no-brand) แล้วอาจจะไม่ได้มีอะไรที่พิเศษกว่าหรือประกอบด้วยวัตถุดิบหรือสิ่งที่มีมูลค่าที่สูงกว่าแต่อย่างใดเลย จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าจะสร้างมูลค่าให้กับเจ้าของเพิ่มขึ้นทุกปี
เครื่องหมายการค้า ลักษณะอื่น ๆ
นอกจากเครื่องหมายการค้าทั้ง 4 ประเภทที่เราพูดถึงข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องหมายการค้าที่น่าสนใจเพิ่มเติม ดังนี้
- เครื่องหมายเสียง (Sound Mark) คือ ลักษณะของเสียงที่มีการประดิษฐ์ขึ้นเอง สร้างความแตกต่างเฉพาะตัว จากเสียงทั่ว ๆ ไป เช่นเสียงที่เราคุ้นหูอย่างเพลง ไอศกรีม Wall’s, เสียงตอนเปิด Series ของ Netflix เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม : “เสียง” ก็เป็นเครื่องหมายการค้าได้แล้ว!
- เครื่องหมายกลิ่น (Smell Mark) คือ กลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นธรรมชาติของสินค้านั้น และต้องไม่เป็น กลิ่นที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้านั้น ถ้าขายพื้นไม้แต่เป็นกลิ่นไม้ ก็จะถือว่าไม่สามารถจดทะเบียนได้ แต่อย่างไรเครื่องหมายกลิ่นในไทยยังไม่สามารถจดทะเบียนได้
- เครื่องหมายรูปลักษณ์ (Trade Dress) คือการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายในภาพรวม เช่น การคุ้มครองฉลากหีบห่อของสินค้า ซึ่งนอกเหนือจากเครื่องหมายการค้า รวมถึงให้ความคุ้มครองการจัดหน้าร้านหรือการตกแต่งสถานที่ให้บริการอันมีลักษณะโดดเด่นเป็นที่จดจำของผู้บริโภค
อ่านเพิ่มเติม : Trade Dress คุ้มครองธุรกิจอย่างรอบด้านด้วย “เครื่องหมายรูปลักษณ์”
เครื่องหมายที่สามารถยื่นจดได้นั้นต้องมีลักษณะอย่างไร?
ก่อนการยื่นจดเครื่องหมายการค้า คุณต้องทำการสืบค้นให้แน่ใจก่อนว่าเครื่องหมายของคุณนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วโดยสืบค้นได้ในฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา DIP (ipthailand.go.th) นอกเหนือจากนี้ เครื่องหมายที่สามารถยื่นจดทะเบียนได้นั้นต้องมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
- ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ กล่าวคือเป็นเครื่องหมายที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จะทำให้ลูกค้าสามารถแยกแยะว่าเป็นสินค้าที่แตกต่างไปจากสินค้าอื่น ความบ่งเฉพาะถือเป็นหัวใจสำคัญในการจดเครื่องหมาย หากเป็นคำทั่วไปหรือคำที่สื่อหรือเล็งถึงสินค้าหรือบริการโดยตรง ก็จะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่หากเป็นคำที่ไม่มีความหมาย คำที่ประดิษฐ์ขึ้นและไม่สื่อถึงสินค้าหรือบริการโดยตรง ตัวอย่างเช่น GOOGLE STARBUCK NIKE ADIDAS เป็นต้น ก็จะมีโอกาสในการรับจดทะเบียนสูง นอกจากนี้คำว่าบ่งเฉพาะยังหมายไปถึง ชื่อตัว ชื่อสกุลหรือรูปภาพของบุคคลได้ โดยที่ต้องมีลักษณะพิเศษ
- ต้องไม่มีลักษณะที่ต้องห้าม ตามมาตรา 8 แห่งพรบ.เครื่องหมายการค้าไทย เช่น เครื่องหมายราชการ หรือลายธงชาติหรือสัญญลักษณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่สามารถนำมายื่นจดขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ รวมถึงเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่ “เหมือน” หรือ “คล้าย” กับบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้
ตัวอย่าง : เครื่องหมาย google ก็จะอยู่ในช่องคำประดิษฐ์ เนื่องจากคำว่า google ไม่มีความหมาย เหมือนใช้กับสินค้า หรือบริการ จำพวก 42 จัดให้โปรแกรมค้นหาบนอินเตอร์เน็ต ก็จะมีโอกาสรับจดทะเบียนสูง แต่ถ้าชื่อ Beauty Girl ขายเครื่องสำอาง ก็จะอยู่ในช่องคำทั่วไปหรือคำที่เล็งถึงสินค้า โอกาสรับจดทะเบียนก็จะน้อย
อายุความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้า
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและสามารถขอต่ออายุการคุ้มครองได้ทุก ๆ 10 ปี โดยต้องยื่นคำขอต่ออายุภายใน 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุหรือภายใน 6 เดือน นับแต่วันหมดอายุการจดทะเบียน (แต่จะมีค่าธรรมเนียมปรับร้อยละ 20) อย่างไรก็ตามหากลืมต่ออายุ สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนใหม่ได้แต่ต้องตรวจสอบความเหมือนคล้ายก่อนจดทะเบียนว่ามีบุคคลอื่นเครื่องหมายคล้ายกับที่เราจะยื่นขอหรือไม่
สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- ได้รับการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายตามประเทศที่ได้จดทะเบียนไว้
- ผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่ตนจดทะเบียนไว้
- สามารถใช้เครื่องหมาย (R) เพื่อบ่งบอกว่าเครื่องหมายนี้ได้รับการจดทะเบียนตามกฏหมายแล้ว โดย R ย่อมาจากคำว่า Registered
- ได้รับการคุ้มครองถึง 10 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุทุก ๆ 10 ปี ทำให้สิทธิของเจ้าของยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง
- ปกป้องสิทธิในการทำตลาดด้วยเครื่องหมาย
- เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้เครื่องหมาย โดยการให้เช่าสิทธิ์หรือการสร้างแฟรนไชส์ เพื่อต่อยอดธุรกิจ
จดโลโก้ จดแบรนด์สินค้า คืออะไร?
การจดโลโก้ Logo หรือจดแบรนด์เป็นคำที่เราอาจได้ยินบ่อยจนคุ้นหู แต่ถ้าเรียกให้ถูกต้องตามความคุ้มครอง การจดโลโก้ ก็คือ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นั่นเอง
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย Update 2566
(ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ)
การจดเครื่องหมายการค้าในปัจจุบันมีขั้นตอนในการดำเนินการไม่ยากนัก หากเราเข้าใจขั้นตอนหรือเตรียมความพร้อมได้อย่างครบถ้วนแล้วละก็ การจดเครื่องหมายการค้าก็เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
2. เตรียมเอกสารสำหรับจดทะเบียน
เตรียมเอกสารคำขอจดทะเบียนให้พร้อม ดังนี้
- คำขอจดทะเบียน (แบบ ก. 01) ดาวน์โหลดฟอร์ม ก.01 กรอกเอกสารให้ครบถ้วน พร้อมรูปเครื่องหมายไม่เกิน 5x5cm.
- เอกสารประกอบอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ยื่นจดว่าจดในนามนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน กรณีจดในนามบุคคล
– สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน กรณีจดในนามนิติบุคคล
– กรณีมีการตั้งตัวแทนทำการแทนเจ้าของ ใช้หนังสือมอบอำนาจ (ก.18)
(กรณีจดในนามต่างชาติ จะต้องมี Notary รับรองการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ)
3. ยื่นคำขอจดทะเบียน
หากดำเนินเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือทางเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางระบบ e-filling แต่อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนเครื่องหมายนายทะเบียนจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาปกติประมาณ 8-12 เดือน ระหว่างที่รอการพิจารณาสามารถใช้เครื่องหมายได้เลย แต่ปัจจุบันหากผู้ขอต้องการพิจารณาเร่งด่วน (Fast track) สามารถยื่นจดทะเบียนได้ขอยื่นพิจารณาเร่งด่วน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
-
- ยื่นคำขอแบบเร่งด่วนพิจารณาคำขอภายใน 4 เดือน โดยมี 10 เงื่อนไข (รายละเอียดเพิ่มเติม)
- ยื่นคำขอแบบเร่งด่วนแจ้งผลพิจารณาคำขอภายใน 6 เดือน โดยมี 2 เงื่อนไข คือ
- รายการสินค้าไม่เกิน 50 รายการและรายการเป็นไปตาม website กรม
- ต้องไม่ยื่นแก้ไขใด ๆ เข้าใปหลังจากยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว
กรณีถูกปฎิเสธการจดทะเบียน
- หากนายทะเบียนออกคำสั่งให้แก้ไขใด ๆ เจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องยื่นแก้ไขคำสั่งนั้นภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารดังกล่าว หากไม่ยื่นแก้ไขคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายต้องทำการยื่นคำขอเข้าไปใหม่
- แต่หากนายทะเบียนปฎิเสธการจดทะเบียน เช่น เครื่องหมายไม่บ่งเฉพาะหรือเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ผู้ขอสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ โดยการอุทธรณ์จะใช้เวลาในการวินิจฉัย 4-5 ปีแต่ผู้ขอยังสามารถใช้เครื่องหมายได้ตามปกติ หากไม่ดำเนินการใดๆ จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
- หรือกรณีมีผู้มายื่นคัดค้านการจดทะเบียนของท่าน ท่านสามารถโต้แย้งกลับคำคัดค้านดังกล่าวได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสาร หากไม่ดำเนินการใดๆ จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
4. ชำระค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะขึ้นอยู่กับจำพวก จำนวนรายการสินค้าและบริการที่เราต้องการจดทะเบียน ซึ่งจะแบ่งการชำระค่าธรรมเนียมเป็น 2 ช่วงคือ
ชำระตอนยื่นจด 1-5 รายการ รายการละ 1,000 บาท / มากกว่า 5 รายการขึ้นไปคิดเป็น 9,000 บาทต่อจำพวก
ชำระตอนรับจดทะเบียน 1-5 รายการ รายการละ 600 บาท / มากกว่า 5 รายการขึ้นไปคิดเป็น 5,400 บาทต่อจำพวก
เงื่อนไขการได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย กับ IDG
เพื่อประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทาง IDG เรามีบริการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมแนะนำการยื่นจดทะเบียนได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น
IDGTHAILAND มีบริการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีขั้นตอนและกระบวนการ ดังนี้
การสืบค้นความเหมือนคล้าย
การยื่นคำขอจดทะเบียน
การติดตามและรายงานสถานะ
การรับจดทะเบียน
2. การยื่นคำขอจดทะเบียน
เมื่อได้รับการยืนยันเครื่องหมายการค้า พร้อมเอกสารในการจดทะเบียนแล้ว ทางทีมงาน IDGTHAILAND จะดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป
3. การติดตามและรายงานสถานะ
หลังจากยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว ทางทีมงาน IDGTHAILAND จะรายงานสถานะของเครื่องหมายการค้าให้ทราบทุก ๆ 6 เดือน จนกว่าจะได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับคำสั่งใด ๆ จากนายทะเบียน หรือหากมีคำสั่งใด ๆ จากนายทะเบียน ทางทีมงานจะแจ้งคำสั่งให้ท่านทราบเพื่อแก้ไขตามคำสั่ง หรือ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อไป
4. การรับจดทะเบียน
เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของท่านสามารถจดทะเบียนได้ ทีมงาน IDGTHAILAND จะแจ้งให้ท่านทราบเพื่อดำเนินการชำระค่ารับจดทะเบียนต่อไป หลังจากชำระค่ารับจดแล้วนายทะเบียนจะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ท่าน
เอกสารประกอบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- จดทะเบียนในนามบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องหมายการค้า
- หนังสือมอบอำนาจ ก.18 เพื่อมอบอำนาจให้ IDG เป็นตัวแทนเครื่องหมายการค้า
- ชื่อเครื่องหมายการค้า หรือไฟล์ภาพเครื่องหมายการค้า
- รายการสินค้า/บริการที่ต้องการจดทะเบียน
- จดทะเบียนในนามนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (ไม่เกิน 6เดือน)
- หนังสือมอบอำนาจ ก.18 เพื่อมอบอำนาจให้ IDG เป็นตัวแทนเครื่องหมายการค้า
- ชื่อเครื่องหมายการค้า หรือไฟล์ภาพเครื่องหมายการค้า
- รายการสินค้า/บริการที่ต้องการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า จดที่ประเทศไหน คุ้มครองเฉพาะประเทศนั้น
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ Update 2566
หากเราต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ เราจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศเหล่านั้นเพื่อปกป้องสิทธิของตน การจดเครื่องหมายการค้า โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
2. เตรียมเอกสารสำหรับจดทะเบียน
เตรียมเอกสารคำขอจดทะเบียนให้พร้อม ดังนี้
- คำขอจดทะเบียน
- รูปเครื่องหมายการค้า โดยสามารถแนบไฟล์ (Jpg)
- เอกสารประกอบอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ยื่นจดว่าจดในนามนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ดังนี้
– สำเนาบัตรประชาชน กรณีจดในนามบุคคล
– สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน กรณีจดในนามนิติบุคคล
– กรณีมีการตั้งตัวแทนทำการแทนเจ้าของ ใช้หนังสือมอบอำนาจ (ก.18)
– หนังสือมอบอำนาจ จะต้องมี Notary รับรองการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ และรับรองที่กงสุล และสถานฑูตประเทศนั้น ๆ (ถ้ามี)
3. ยื่นคำขอจดทะเบียน
หากดำเนินเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว สามารถจ้าง LAW FIRM ในประเทศเหล่านั้นยื่นคำขอให้ได้ หากต้องการยื่นแบบ Direct Route หรือ หากต้องการยื่นผ่านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริด
สามารถยื่นคำขอผ่านระบบยืนยันตัวตนแบบรวมศูนย์กลาง ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
กรณีถูกปฎิเสธการจดทะเบียน
- หากนายทะเบียนออกคำสั่งให้แก้ไขใด ๆ เจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องจ้าง LAW FIRM ในประเทศ นั้น ๆ ยื่นแก้ไขคำสั่งนั้น หากไม่ยื่นแก้ไขคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายต้องทำการยื่นคำขอเข้าไปใหม่
- แต่หากนายทะเบียนปฎิเสธการจดทะเบียน เช่น เครื่องหมายไม่บ่งเฉพาะหรือเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ผู้ขอสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ หากไม่ดำเนินการใดๆ จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
- หรือกรณีมีผู้มายื่นคัดค้านการจดทะเบียนของท่าน ท่านสามารถโต้แย้งกลับคำคัดค้านดังกล่าว หากไม่ดำเนินการใดๆ จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
4. ชำระค่าธรรมเนียม
การยื่นตรง ( DIRECT ROUTE) : ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่ตามแต่ละประเทศ
การยื่นผ่านระบบ (MADRID ROUTE : ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอจดทะเบีย เครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศตามระบบมาดริด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สำนักระหว่างประเทศประกาศกำหนด ค่าธรรมเนียมตามระบบมาดริดประกอบด้วย
7.1 ค่าธรรมเนียมพื้นฐาน (basic fee) ในอัตรา 653 ฟรังค์สวิสสำหรับคำขอจดทะเบียนสีขาวดำ และ 903 ฟรังค์สวิสสำหรับเครื่องหมายการค้าที่เป็นสี และ
7.2 ค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศ หากผู้ขอจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองในประเทศใดๆ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมประเภท Complementary Fee และค่าธรรมเนียม ประเภท Supplementary Fee
ค่าธรรมเนียมประเภท Complementary Fee คือ ค่าธรรมเนียมสำหรับการระบุขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศ ในอัตรา 100 ฟรังค์สวิสในแต่ละประเทศที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุขอรับความคุ้มครอง
ค่าธรรมเนียมประเภท Supplementary Fee คือ ค่าธรรมเนียมสำหรับการระบุขอรับความคุ้มครองสำหรับจำพวกสินค้าเกินกว่า 3 จำพวกขึ้นไป ในอัตรา 100 ฟรังค์สวิสต่อจำพวกสินค้า
2) ค่าธรรมเนียมเฉพาะราย (Individual Fee) ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดและแจ้งแก่สำนักระหว่างประเทศให้เรียกเก็บแก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ตัวอย่างค่าธรรมเนียมเฉพาะรายสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
จีน 249 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกแรก 125 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกต่อไป
สหภาพยุโรป 789 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกแรก 48 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกที่2 144 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกถัดไป
ญี่ปุ่น 304 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกแรก 285 ฟรังค์สวิสสำหรับจำพวกสินค้าและบริการจำพวกต่อไป
ฟิลิปปินส์ 101 ฟรังค์สวิสสำหรับสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก
เกาหลีใต้ 191 ฟรังค์สวิสสำหรับสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก
สิงคโปร์ 260 ฟรังค์สวิสสำหรับสินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก
5. รอรับหนังสือสำคัญ แสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้วนายทะเบียนจะดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคำขอ หากเครื่องหมายการค้าของท่านสามารถจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งผลไปยังผู้จดทะเบียนให้ชำระค่ารับจดทะเบียนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารเพื่อรับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากไม่ดำเนินการใดๆ จะถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ คืออะไร
จดอย่างไรให้ครอบคลุม
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่บริษัทควรให้ความสนใจด้วยเช่นกัน
ซึ่งในปัจจุบันนี้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ ถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ และมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังต่อไปนี้:
1. National Route
เป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง ไปยังสำนักเครื่องหมายการค้าในประเทศที่ต้องการจะขอรับความคุ้มครอง ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า เป็นการยื่นตรง และจะต้องมีการตั้งตัวแทนในประเทศดังกล่าว เพื่อดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียน
2. Regional Route
เป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไปยังกลุ่มประเทศที่รวมตัวกัน เพื่อให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกัน ได้แก่ EUIPO OAPI และ Benelux เป็นต้น
3. Madrid System
เป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย > และทางกรมฯ เอง จะนำส่งคำขอไปที่สำนักเครื่องหมายการค้า องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) > หลังจากนั้น ทาง WIPO จะยื่นคำขอไปยังสำนักงานเครื่องหมายการค้าของประเทศปลายทาง ที่ผู้ขอต้องการจะขอรับความคุ้มครองซึ่งเรียกกันโดยง่ายว่าเป็นการยื่นมาดริด