OUR BLOG

ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร ภายในประเทศไทย

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร
IDG ได้มองเห็นว่า ในตอนนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ได้ให้ความสนใจกับการ “จดสิทธิบัตร” กันมากขึ้น แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร เพราะหลาย ๆ คนล้วนมีฝีมือในการออกแบบ และ ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา
รวมไปถึง มีความต้องการที่จะป้องกันปัญหาการถูกละเมิดสิทธิบัตรอีกด้วย
ดังนั้น ก่อนที่จะทำการยื่นสิทธิบัตรภายในประเทศ เราต้องรู้ ประเภทของสิทธิบัตร และ ขั้นตอนขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรให้ดีก่อน  ซึ่งขั้นตอนการยื่นสิทธิบัตรภายในประเทศ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้:

  1. การสืบค้นความเป็นไปได้ในการจดสิทธิบัตร
    เริ่มแรก บริษัท IDG (ตัวแทนรับสิทธิบัตร) จะนำข้อมูลงานของลูกค้ามาทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลภายในและต่างประเทศก่อน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของประเภทสิทธิบัตรที่จะยื่นจด ซึ่งเราจะรวบรวมข้อมูล และ จัดทำเป็นรายงานการสืบค้นให้กับลูกค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับขั้นตอนถัดไป โดยจะแนะนำให้ลูกค้าทำการยื่นจดโดยอ้างอิงจากผลการสืบค้นเป็นหลัก ว่าเข้าข่ายสิทธิบัตรประเภทไหน แต่ทั้งนี้ การเลือกประเภทของการยื่นจดสิทธิบัตร ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ที่จะยื่นจดอีกด้วย
  2. การจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตรและยื่นจดทะเบียน
    เมื่อสามารถตัดสินใจเลือกรูปแบบของการยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตรได้แล้ว IDG จะทำหน้าที่รับผิดชอบให้กับลูกค้าในเรื่องของการร่างคำขอรับสิทธิบัตรให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด > พร้อมจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง > และยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยการเตรียมเอกสารของแต่ละสิทธิบัตรประเภท จะมีความแตกต่างของข้อมูล ที่ทางบริษัทรับจดสิทธิบัตร จำเป็นต้องได้รับจากลูกค้า ดังต่อไปนี้2.1 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และ อนุสิทธิบัตร
    • ในส่วนของลูกค้า จำเป็นต้องส่งข้อมูลในส่วนของกลไก การทำงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนเชิงวิศวกรรม สูตร กรรมวิธี ที่เกี่ยวข้องกับงานประดิษฐ์ของลูกค้า พร้อมรูปภาพประกอบ หากไม่มีรูปภาพประกอบ
      ทาง IDG ยินดีเป็นผู้จัดทำให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    2.2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

    • จำเป็นจะต้องส่งรูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมติก โดยภาพที่เหมาะสมควรเป็นภาพลายเส้นดำบนพื้นขาว หรือภาพถ่ายขาวดำที่ไม่มีพื้นหลัง
  3. การประกาศโฆษณา และ รับจดทะเบียน
    ในส่วนของขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่เราได้ยื่นเอกสารไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางกรมฯ จะดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร และหากเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะทำการประกาศโฆษณา ซึ่งผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอ จะต้องไปยื่นเอกสารและชำระค่าธรรมเนียม จากนั้นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จะได้รับการประกาศโฆษณาเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งในระยะเวลานี้ อาจมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาคัดค้านงานของเรา และหากงานของเรามีการถูกคัดค้าน เราสามารถส่งคำชี้แจ้งให้ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ซึ่งในขั้นตอนการประกาศโฆษณานี้ จะมีความแตกต่างของรายละเอียดสำหรับสิทธิบัตรแต่ละประเภท ดังนี้
    • สิทธิบัตรการประดิษฐ์
      ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอ มาชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกาศโฆษณา ซึ่งต้องชำระภายใน 60 วัน หลังจากได้รับแจ้ง
      จากนั้นทางกรมฯ จะทำการประกาศโฆษณา เป็นเวลา 90 วัน และ หากไม่มีการถูกคัดค้าน ผู้ขอหรือตัวแทน ต้องยื่นขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบการประดิษฐ์ภายใน 5 ปี นับแต่วันประกาศโฆษณา หากผ่านขั้นตอนการตรวจสอบการประดิษฐ์ จะได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
    • อนุสิทธิบัตร
      ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอ มาชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประกาศโฆษณาและรับจดอนุสิทธิบัตร ซึ่งต้องชำระภายใน 60 วัน หลังจากได้รับแจ้ง
      หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาและรับจดอนุสิทธิบัตรไปพร้อมกัน ซึ่งอนุสิทธิบัตรอาจมีการยื่นให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้ แต่ต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปี หลังได้รับการจดทะเบียน
    • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
      ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะทำการประกาศโฆษณา หลังจากผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียม จากนั้น หากไม่มีผู้คัดค้าน จะทำการตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์เพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ (ระยะเวลาที่สามารถคัดค้านได้ คือ 90 วัน) ก่อนจะรับจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
      โดยเราไม่จำเป็นต้องยื่นขอให้ตรวจสอบเหมือนกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

เอกสารการประกอบการจดสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ

 จดในนามบุคคลธรรมดาจดในนามนิติบุคคล
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตร

กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ขอถือสิทธิ

  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครองและผู้ประดิษฐ์
  3. คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  5. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  3. สำเนาบัตรประขาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  5. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  7. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
กรณีผู้ประดิษฐ์กับผู้ขอถือสิทธิ
เป็นคนละคนกัน
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครอง
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  4. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  6. รายละเอียดคำขอรับสิทธิบัตร
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์
    2. ข้อถือสิทธิ
    3. รูปภาพ (ถ้ามี)
    4. บทสรุปการประดิษฐ์
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ขอถือสิทธิ

  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครองและผู้ประดิษฐ์
  3. คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  5. รูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมติก
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  3. สำเนาบัตรประขาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  5. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  7. รูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมติก
กรณีผู้ประดิษฐ์กับผู้ขอถือสิทธิ
เป็นคนละคนกัน
  1. แบบพิมพ์คำขอ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอรับความคุ้มครอง
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประดิษฐ์
  4. หนังสือสัญญาโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร
    /อนุสิทธิบัตร
  5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นผ่านตัวแทน)
  6. รูปภาพภายนอกของงานประดิษฐ์
    ทั้ง 6 ด้าน พร้อมภาพไอโซเมติก

โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้จะไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพราะ IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร และ วิศวกร รวมถึง วิทยาศาสตร์หลากหลากหลายสาขา ที่พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงคำแนะนำ ฟรี และ มีบริการจดสิทธิบัตรครบทุกขั้นตอน

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

เบอร์โทร : 02-011-7161 ถึง 6 (ฝ่ายสิทธิบัตรต่างประเทศกด 303)

Email: [email protected]

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ