OUR BLOG

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดทะเบียนเหมือนกับสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า แต่ก็สมควรยิ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยื่นจดอย่างเป็นทางการกับสำนักงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะหากคุณมีแผนที่จะใช้งานลิขสิทธิ์ในทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะกีดกันผู้อื่นจากการคัดลอก การจำหน่าย การแสดง การเผยแพร่ภาพ หรือการใช้เนื้อหามาดัดแปลง หรือใช้ค้าขายในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของสิทธิ งานที่มีลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณควรเรียนรู้เพื่อการปกป้องและใช้สิทธิของคุณได้อย่างเต็มที่

โดยทั่วไปแล้ว “งานสร้างสรรค์ที่ผ่านกระบวนการคิด”จะได้รับการคุ้มครองอย่างอัตโนมัติตั้งแต่แรกวันที่เจ้าของได้สร้างสรรค์ขึ้นมา และมีอายุถึง 50 ปีหลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต หากเป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนิติบุคคล งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 50 ปีหลังจากวันแรกที่ได้ทำการเผยแพร่

ยึดตามมาตรา 4 ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของราชอาณาจักรไทย งานที่มีลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วย 9 ประเภท

  1. งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. งานการแสดง
  3. งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม
  • ภาพวาด
  • ประติมากรรม
  • งานพิมพ์
  • งานตกแต่งสถาปัตย์
  • ภาพถ่าย
  • ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
  • งานประยุกตศิลป์ (งานประยุกตศิลป์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากวันจัดสร้าง)
  1. งานดนตรี
  2. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
  3. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  4. งานภาพยนตร์
  5. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  6. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

เพิ่มเติม

  • คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์และงานชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ได้ที่นี่ หรือที่นี่
  • เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องเข้าใจและรับทราบว่ากฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะการแสดงออกของความคิดเท่านั้น แต่ไม่ใช่ความคิดหรือไอเดียในตัวของมันเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใดนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของวรรณกรรมของคุณไปใช้และเขียนเผยแพร่ความคิดของคุณด้วยประโยคของเขาเอง โดยไม่ทำให้คุณเสื่อมเสียหรือสูญเสียรายได้ นั่นก็อาจไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ อีกทั้งหากผู้ใดผู้หนึ่งสร้างงานสร้างสรรค์คล้ายคลึงเหมือนกับงานของคุณ แต่ได้แสดงออกให้เห็นชัดเจนว่าเขาได้ใช้ความคิดของตนเองในการสร้างงาน ไม่ได้ไปเอามาจากที่อื่นใด ลักษณะนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของคุณเช่นกัน
  • ดังนั้น ก่อนที่คุณจะฟ้องผู้ที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ คุณควรมีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิทธิอย่างชัดเจน ประกอบกับคำยืนยันจากทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น คุณจึงสามารถฟ้องหรือคัดค้านผู้ที่ละเมิดงานของคุณได้อย่างมั่นใจ ไม่เสี่ยงถูกฟ้องกลับ
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการได้รับการคุ้มครองไอเดียของคุณ คุณควรยื่นจดเป็นสิทธิบัตร แต่ก็ต้องทำการสำรวจก่อนว่าไอเดียของคุณนั้นเข้าเกณฑ์ข้อใด ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากหัวข้อ การยื่นจดสิทธิบัตร นอกเหนือจากนี้หากคุณต้องการใช้งานออกแบบกราฟิก รูปถ่าย หรือภาพวาดใดๆ เพื่อการยื่นจดเป็นโลโก้บริษัทหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ คุณควรตรวจสอบข้อมูลในหัวข้อ การจดเครื่องหมายการค้า

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ