ค่าสิทธิ (Royalty Fee ) คืออะไร แล้วนอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไหม วันนี้ IDG จะพาคุณไปรู้จักเกี่ยวกับค่าสิทธิกัน !
ค่าสิทธิ (royalty Fee) คือค่าตอบแทน โดยฝ่ายที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ได้รับสัมปทาน จ่ายให้อีกฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยส่วนใหญ่ (ผู้อนุญาตหรือผู้ให้สัมปทาน) เพื่อเป็นสิทธิ์ในการใช้สินทรัพย์นั้น ๆ
ค่าสิทธิ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) (ซึ่งจะประกอบด้วย ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล) อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
ค่าสิทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น หากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 แต่อย่างไรก็ดีหากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) กับประเทศไทย ก็อาจได้รับการลดอัตราภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ค่าสิทธินอกจากจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย หมายถึง ผู้รับค่าสิทธิที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้จ่ายค่าสิทธิพร้อมออกใบกำกับภาษีให้ด้วย แต่ถ้าผู้รับค่าสิทธิมิได้เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อได้รับเงินค่าสิทธิผู้จ่ายในประเทศไทย ผู้จ่ายมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของค่าสิทธิตามประมวลรัษฎกร มาตรา 83/6
ภาษีที่เกี่ยวกับกับค่าสิทธิ มี 2 แบบคือ
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 54)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)
ข้อสะกิดใจ
- หากผู้จ่ายค่าสิทธินั้นได้หักภาษีไว้เกิน ทางผู้รับค่าสิทธิต่างประเทศมีสิทธิขอคืนจำนวนภาษีที่ถูกหักไว้เกินได้โดยยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร แบบ ค.10 ภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
- แต่ถ้าหากผู้จ่ายค่าสิทธินั้นได้หักภาษีไว้ขาด ผู้จ่ายค่าสิทธิต้องยื่นแบบภาษีเพิ่มเติมนับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบภาษี และคิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกด้วย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
- หากผู้รับค่าสิทธินั้นไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายค่าสิทธิต้องเป็นผู้รับภาระจ่ายภาษีแทน !!! OMGGGGG
IDG บริการรับทำบัญชีและภาษี ให้คำแนะนำพื้นฐานทางด้านการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและภาษี