OUR BLOG

จดบริษัทแล้ว ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ?

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 14

เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว บริษัทย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งนอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า VAT เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ผู้ประกอบการทำการเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

       การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ดังนี้

  • จำนวนรายได้: ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ยอดกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว
  • กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม: ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากกิจการซึ่งก่อให้เกิดรายได้ ไม่เข้าประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างเช่น การขายพืชผลทางการเกษตรหรือสัตว์ ภายในประเทศ, การขายปุ๋ย, การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน, การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาฯ, การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ, การให้บริการรักษาพยาบาล, การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน, การให้บริการขนส่ง หรือการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น  

โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ มิเช่นนั้น ผู้ประกอบการอาจมีโทษทางอาญา ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ทั้งนี้เมื่อสรรพากรทำการพิจารณาคำขอแล้ว จะทำการออกเอกสาร ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20) ให้เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อนำไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย

ภายหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่หลักๆ ในการจัดทำและนำส่งเอกสารต่างๆ เช่น จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนา โดยออกให้ผู้บริโภคทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ, จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายในทุกๆเดือน, จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เป็นต้น

โดย IDG มีบริการตัวแทนช่วยเหลือท่านในการดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้คำปรึกษาในตลอดทุกขั้นตอน เพื่อให้ธุรกิจของท่านดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ติดต่อได้ที่

Line: @idgthailand (มี@) หรือ https://lin.ee/lWm7QDf

☎️โทร: 02-011-7161 ต่อ 106

📩E-Mail: [email protected] หรือ [email protected]

 

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 14

เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว บริษัทย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งนอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า VAT เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ผู้ประกอบการทำการเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

       การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ดังนี้

  • จำนวนรายได้: ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนยอดขายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ยอดกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว
  • กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม: ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากกิจการซึ่งก่อให้เกิดรายได้ ไม่เข้าประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างเช่น การขายพืชผลทางการเกษตรหรือสัตว์ ภายในประเทศ, การขายปุ๋ย, การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน, การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาฯ, การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ, การให้บริการรักษาพยาบาล, การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน, การให้บริการขนส่ง หรือการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น  

โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ มิเช่นนั้น ผู้ประกอบการอาจมีโทษทางอาญา ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ทั้งนี้เมื่อสรรพากรทำการพิจารณาคำขอแล้ว จะทำการออกเอกสาร ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20) ให้เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อนำไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย

ภายหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่หลักๆ ในการจัดทำและนำส่งเอกสารต่างๆ เช่น จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนา โดยออกให้ผู้บริโภคทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ, จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายในทุกๆเดือน, จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เป็นต้น

โดย IDG มีบริการตัวแทนช่วยเหลือท่านในการดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้คำปรึกษาในตลอดทุกขั้นตอน เพื่อให้ธุรกิจของท่านดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ติดต่อได้ที่

Line: @idgthailand (มี@) หรือ https://lin.ee/lWm7QDf

☎️โทร: 02-011-7161 ต่อ 106

📩E-Mail: [email protected] หรือ [email protected]

 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ