OUR BLOG

จดสิทธิบัตรในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยาก ! ถ้ารู้ 5 อย่างนี้

banner web 01 1.jpg

  จากที่ IDG ได้มีการพูดถึง ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร ภายในประเทศไทย กันไปแล้ว ครั้งนี้ เรามาพูดถึง วิธีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศกันบ้างดีกว่าค่ะ !

PATENT.png

แต่ก่อนที่จะเริ่มจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ เราควรที่จะมีการวางแผนให้ดีกันก่อนที่จะมีการดำเนินการ เนื่องจากแต่ละประเทศ จะมีกฎเกณฑ์ วิธีการในการยื่นและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นเราควรที่จะศึกษาอย่างละเอียดกันก่อนที่จะทำการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปที่ประเทศนั้น ๆ ซึ่ง IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสิทธิบัตร ที่จะคอยให้คำแนะนำผู้ประกอบการทุกท่าน ฟรี ! และ ได้รวบรวม 5 สิ่งที่จำเป็น สำหรับตรวจสอบก่อนที่จะทำการยื่นคำขอเข้าไปในต่างประเทศ ดังนี้:

1. การเลือกตัวแทนสิทธิบัตรในต่างประเทศ

การเลือกตัวแทนสิทธิบัตรในต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากกฎเกณฑ์ของสิทธิบัตรที่ ไม่ว่าจะได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศใดก็ตาม จะมีผลบังคับใช้แค่ในประเทศนั้นเท่านั้น จึงต้องมีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ เพื่อป้องกันผู้อื่นทำการผลิต ใช้ ขาย สิ่งประดิษฐ์เดียวกันในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจดครบทุกประเทศ ผู้ประกอบการสามารถจดแค่ในเฉพาะประเทศที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจเท่านั้นก็เพียงพอ

ดังนั้นหากมีการวางแผนที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ ก็ควรหาตัวแทนสำหรับการให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการยื่น ซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญจาก IDG ยินดีให้คำปรึกษา และ บริการครบทุกขั้นตอน

2. ประเภทของสิทธิบัตร

       ในแต่ละประเทศจะมีกฎเกณฑ์และระบบในการยื่นสิทธิบัตรต่างกัน อย่างเช่น ระบบอนุสิทธิบัตรที่มีเพียงบางประเทศท่านั้น ดังเช่น ญี่ปุ่นหรือเกาหลี แต่ในสหรัฐอเมริกาจะไม่มีระบบนี้ หรือ แม้กระทั่งข้อจำกัดในสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์บางประเภท เช่น ประเทศจีน หากเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์ที่เป็นสูตรหรือกรรมวิธี จะต้องยื่นเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์เท่านั้น ไม่สามารถยื่นเป็นอนุสิทธิบัตรได้ 

 นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ในการพิจารณาของแต่ละประเภทสิทธิบัตร ซึ่งก็คือ ความใหม่ (Novelty) ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (Inventive step/Non-obviousness)  และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม โดยหากสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์ใดที่มีความใหม่และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ก็อาจจะยื่นเป็นอนุสิทธิบัตรแทน ในประเทศที่มีระบบอนุสิทธิบัตร

3. ค่าใช้จ่าย

หากต้องการที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามนั่นก็คือ ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการยื่นสิทธิบัตรในแต่ละประเทศจะมีค่าธรรมเนียมในแต่ละขั้นตอน ที่แตกต่างกันไป และค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายสิ่ง เช่น 

  • การแปลภาษา – บางประเทศสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการยื่นได้ แต่บางประเทศจะต้องใช้ภาษาท้องถิ่นเท่านั้น
  • ประเภทของสิทธิบัตร – ในหลาย ๆ ประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมในการยื่นของแต่ละประเภทสิทธิบัตรต่างกัน หากยื่นเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
  • รวมไปถึงจำนวนหน้าในคำขอหรือจำนวนข้อถือสิทธิ – ในบางประเทศจะมีข้อจำกัดในจำนวนหน้าหรือข้อถือสิทธิ ซึ่งหากเกินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามจำนวนที่เกินมา ทั้งนี้ในแต่ละประเทศจะมีอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไป
  • ประเภทของผู้ขอถือสิทธิ – ในบางประเทศอาจมีการลดค่าธรรมเนียมลงสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลขนาดเล็ก ทั้งนี้กฎเกณฑ์นี้ไม่ได้มีในทุกประเทศ *มีแค่เฉพาะในบางประเทศเท่านั้น
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับตัวแทนในต่างประเทศ –  เพื่อดำเนินการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศนั้น ๆ

4. ระยะเวลาในการยื่นคำขอไปจนถึงการได้รับจดทะเบียน

สำหรับระยะเวลาในการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปจนถึงการได้รับจดทะเบียนในต่างประเทศ จะใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นควรที่จะคำนวณระยะเวลาให้ดี หากมีสิ่งประดิษฐ์อยู่ในมือและสนใจที่จะทำธุรกิจในต่างประเทศ ก็ควรรีบนำสิ่งประดิษฐ์นั้นไปจดสิทธิบัตรในประเทศที่สนใจ เพราะระยะเวลาในการยื่นไปจนถึงการได้รับจดทะเบียนสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะใช้เวลาอยู่ที่ 3-5 ปี อนุสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 1-2 ปี และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่ 2-4 ปี ด้วยประสบการณ์หลายปี ของผู้เชี่ยวชาญ จาก IDG จะสามารถช่วยธุรกิจหลาย ๆ ท่าน คำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมได้

5. การต่ออายุรายปี

หลังจากสิทธิบัตรได้รับจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อที่จะรักษาการบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตร ซึ่งค่าธรรมเนียมก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของสิทธิบัตรและกฎสิทธิบัตรของประเทศที่ได้ยื่นคำขอไป เช่น ในบางประเทศมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มตามจำนวนข้อถือสิทธิหรือจำนวนหน้าในคำขอที่เกินจากกำหนด การชำระค่าธรรมเนียมรายปีจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก่อนการยื่นสิทธิบัตรเข้าไปในแต่ละประเทศ

 จาก 5 ข้อทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศมีข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเยอะ และ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จึงต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ดีก่อนการยื่นเข้า

ทั้งนี้ บริษัท IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร และ นวัฒกรรม รวมไปถึง เครื่องมือในการดำเนินการที่เหมาะสม

หากท่านใดมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรใน

 


————————————————————————————

 

Facebook
Twitter
LinkedIn
banner web 01 1.jpg

  จากที่ IDG ได้มีการพูดถึง ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร ภายในประเทศไทย กันไปแล้ว ครั้งนี้ เรามาพูดถึง วิธีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศกันบ้างดีกว่าค่ะ !

PATENT.png

แต่ก่อนที่จะเริ่มจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ เราควรที่จะมีการวางแผนให้ดีกันก่อนที่จะมีการดำเนินการ เนื่องจากแต่ละประเทศ จะมีกฎเกณฑ์ วิธีการในการยื่นและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นเราควรที่จะศึกษาอย่างละเอียดกันก่อนที่จะทำการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปที่ประเทศนั้น ๆ ซึ่ง IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสิทธิบัตร ที่จะคอยให้คำแนะนำผู้ประกอบการทุกท่าน ฟรี ! และ ได้รวบรวม 5 สิ่งที่จำเป็น สำหรับตรวจสอบก่อนที่จะทำการยื่นคำขอเข้าไปในต่างประเทศ ดังนี้:

1. การเลือกตัวแทนสิทธิบัตรในต่างประเทศ

การเลือกตัวแทนสิทธิบัตรในต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากกฎเกณฑ์ของสิทธิบัตรที่ ไม่ว่าจะได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศใดก็ตาม จะมีผลบังคับใช้แค่ในประเทศนั้นเท่านั้น จึงต้องมีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ เพื่อป้องกันผู้อื่นทำการผลิต ใช้ ขาย สิ่งประดิษฐ์เดียวกันในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจดครบทุกประเทศ ผู้ประกอบการสามารถจดแค่ในเฉพาะประเทศที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจเท่านั้นก็เพียงพอ

ดังนั้นหากมีการวางแผนที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ ก็ควรหาตัวแทนสำหรับการให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการยื่น ซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญจาก IDG ยินดีให้คำปรึกษา และ บริการครบทุกขั้นตอน

2. ประเภทของสิทธิบัตร

       ในแต่ละประเทศจะมีกฎเกณฑ์และระบบในการยื่นสิทธิบัตรต่างกัน อย่างเช่น ระบบอนุสิทธิบัตรที่มีเพียงบางประเทศท่านั้น ดังเช่น ญี่ปุ่นหรือเกาหลี แต่ในสหรัฐอเมริกาจะไม่มีระบบนี้ หรือ แม้กระทั่งข้อจำกัดในสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์บางประเภท เช่น ประเทศจีน หากเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์ที่เป็นสูตรหรือกรรมวิธี จะต้องยื่นเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์เท่านั้น ไม่สามารถยื่นเป็นอนุสิทธิบัตรได้ 

 นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ในการพิจารณาของแต่ละประเภทสิทธิบัตร ซึ่งก็คือ ความใหม่ (Novelty) ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (Inventive step/Non-obviousness)  และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม โดยหากสิ่งประดิษฐ์หรือการประดิษฐ์ใดที่มีความใหม่และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ก็อาจจะยื่นเป็นอนุสิทธิบัตรแทน ในประเทศที่มีระบบอนุสิทธิบัตร

3. ค่าใช้จ่าย

หากต้องการที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามนั่นก็คือ ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการยื่นสิทธิบัตรในแต่ละประเทศจะมีค่าธรรมเนียมในแต่ละขั้นตอน ที่แตกต่างกันไป และค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายสิ่ง เช่น 

  • การแปลภาษา – บางประเทศสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการยื่นได้ แต่บางประเทศจะต้องใช้ภาษาท้องถิ่นเท่านั้น
  • ประเภทของสิทธิบัตร – ในหลาย ๆ ประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมในการยื่นของแต่ละประเภทสิทธิบัตรต่างกัน หากยื่นเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
  • รวมไปถึงจำนวนหน้าในคำขอหรือจำนวนข้อถือสิทธิ – ในบางประเทศจะมีข้อจำกัดในจำนวนหน้าหรือข้อถือสิทธิ ซึ่งหากเกินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามจำนวนที่เกินมา ทั้งนี้ในแต่ละประเทศจะมีอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไป
  • ประเภทของผู้ขอถือสิทธิ – ในบางประเทศอาจมีการลดค่าธรรมเนียมลงสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลขนาดเล็ก ทั้งนี้กฎเกณฑ์นี้ไม่ได้มีในทุกประเทศ *มีแค่เฉพาะในบางประเทศเท่านั้น
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับตัวแทนในต่างประเทศ –  เพื่อดำเนินการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศนั้น ๆ

4. ระยะเวลาในการยื่นคำขอไปจนถึงการได้รับจดทะเบียน

สำหรับระยะเวลาในการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปจนถึงการได้รับจดทะเบียนในต่างประเทศ จะใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นควรที่จะคำนวณระยะเวลาให้ดี หากมีสิ่งประดิษฐ์อยู่ในมือและสนใจที่จะทำธุรกิจในต่างประเทศ ก็ควรรีบนำสิ่งประดิษฐ์นั้นไปจดสิทธิบัตรในประเทศที่สนใจ เพราะระยะเวลาในการยื่นไปจนถึงการได้รับจดทะเบียนสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะใช้เวลาอยู่ที่ 3-5 ปี อนุสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 1-2 ปี และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่ 2-4 ปี ด้วยประสบการณ์หลายปี ของผู้เชี่ยวชาญ จาก IDG จะสามารถช่วยธุรกิจหลาย ๆ ท่าน คำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมได้

5. การต่ออายุรายปี

หลังจากสิทธิบัตรได้รับจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อที่จะรักษาการบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตร ซึ่งค่าธรรมเนียมก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของสิทธิบัตรและกฎสิทธิบัตรของประเทศที่ได้ยื่นคำขอไป เช่น ในบางประเทศมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มตามจำนวนข้อถือสิทธิหรือจำนวนหน้าในคำขอที่เกินจากกำหนด การชำระค่าธรรมเนียมรายปีจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก่อนการยื่นสิทธิบัตรเข้าไปในแต่ละประเทศ

 จาก 5 ข้อทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศมีข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเยอะ และ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จึงต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ดีก่อนการยื่นเข้า

ทั้งนี้ บริษัท IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร และ นวัฒกรรม รวมไปถึง เครื่องมือในการดำเนินการที่เหมาะสม

หากท่านใดมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจที่จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรใน

 


————————————————————————————

 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ