OUR BLOG

จีนครองแชมป์ยื่นจดสิทธิบัตร Generative AI มากสุดในโลก

จีนจดสิทธิบัตร ai

จีนครองตำแหน่งแชมป์ยื่นจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Generative AI (GenAIมากที่สุดในโลก จากการเปิดเผยขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI มีทั้งหมด 54,000 รายการถูกยื่นจดสิทธิบัตร และมีการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์มากกว่า 75,000 ฉบับ ระหว่างปี 2014 ถึง 2023

สิ่งประดิษฐ์ GenAI มากกว่า 38,000 รายการมาจากประเทศจีน ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในอันดับสองถึงหกเท่า ตามมาด้วยเกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย โดย GenAI มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยรายปีสูงสุดในห้าอันดับแรก อยู่ที่ 56% GenAI กำลังแพร่กระจายไปทั่วอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การผลิต การขนส่ง ความปลอดภัย และโทรคมนาคม

จากรายงานระบุว่าจีนพยายามพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) เพื่อแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เช่น OpenAI, Microsoft, Alphabet และ Amazon ที่เป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จีนยังได้เปิดตัวโมเดล LLM ของตนเองเพื่อแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ เช่น Alibaba และ Baidu นั่นแสดงให้เห็นว่าจีนเองต้องการเป็นผู้นำด้าน GenAI  อย่างแท้จริง

ไฮไลท์ที่น่าสนใจ

  • สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI จำนวน 54,000 รายการถูกยื่นจดสิทธิบัตร ระหว่างปี 2014 ถึง 2023
  • การเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนสิทธิบัตร GenAI เพิ่มขึ้นแปดเท่านับตั้งแต่เปิดตัวdeep neural network architecture ที่อยู่เบื้องหลัง LLM  ที่กลายมาเป็นคำพ้องกับ GenAI ในปี 2560
  • 5 อันดับประเทศที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรด้าน GenAI ได้แก่ จีน (38,210 รายการ), สหรัฐอเมริกา (6,276 รายการ), สาธารณรัฐเกาหลี (4,155 รายการ), ญี่ปุ่น (3,409 รายการ) และอินเดีย (1,350 รายการ)
  • ในปี 2023 เพียงปีเดียวมีสิทธิบัตร GenAI มากกว่า 25% ของสิทธิบัตร GenAI ทั้งหมดทั่วโลกถูกตีพิมพ์ และมีบทความวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI มากกว่า 45% ถูกตีพิมพ์
  • สิทธิบัตร GenAI ปัจจุบันมีเพียง 6% ของสิทธิบัตร AI ทั้งหมดทั่วโลก
  • ผู้ยื่นขอสิทธิบัตร GenAI อันดับ 10 อันดับแรก ได้แก่ Tencent, Ping An Insurance, Baidu, Chinese Academy of Sciences, IBM, Alibaba Group, Samsung Electronics, Alphabet, ByteDance และ Microsoft
สถิติสิทธิบัตร Generative AI

ในอนาคต ปัญญาประดิษฐ์ GenAI จะสามารถช่วยออกแบบโมเลกุลใหม่ๆ ซึ่งจะเร่งกระบวนการพัฒนายา นอกจากนี้ GenAI ยังสามารถทำงานอัตโนมัติในด้านการจัดการเอกสารและการเผยแพร่ได้มากขึ้น รวมถึงการใช้งานในระบบช่วยเหลือการค้าปลีกและแชทบอทบริการลูกค้า และยังช่วยในการออกแบบและเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะและการขับขี่อัตโนมัติ

“GenAI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวงการด้วยศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การใช้ชีวิต และการเล่นของเรา โดยผ่านการวิเคราะห์แนวโน้มการจดสิทธิบัตรและข้อมูล WIPO หวังว่าจะให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทิศทางในอนาคต”  Daren Tang ผู้อำนวยการใหญ่ของ WIPO กล่าว

รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าตอนนี้จีนเป็นผู้นำในการยื่นจดสิทธิบัตร GenAI และกำลังดำเนินการพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป เรายังได้เห็นแนวโน้มเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาและเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว ซึ่งรายงานนี้จะสามารถช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักพัฒนาเข้าใจและนำไปปรับใช้ในยุทธศาสตร์ทางธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Facebook
Twitter
LinkedIn
จีนจดสิทธิบัตร ai

จีนครองตำแหน่งแชมป์ยื่นจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Generative AI (GenAIมากที่สุดในโลก จากการเปิดเผยขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI มีทั้งหมด 54,000 รายการถูกยื่นจดสิทธิบัตร และมีการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์มากกว่า 75,000 ฉบับ ระหว่างปี 2014 ถึง 2023

สิ่งประดิษฐ์ GenAI มากกว่า 38,000 รายการมาจากประเทศจีน ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในอันดับสองถึงหกเท่า ตามมาด้วยเกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย โดย GenAI มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยรายปีสูงสุดในห้าอันดับแรก อยู่ที่ 56% GenAI กำลังแพร่กระจายไปทั่วอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การผลิต การขนส่ง ความปลอดภัย และโทรคมนาคม

จากรายงานระบุว่าจีนพยายามพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) เพื่อแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เช่น OpenAI, Microsoft, Alphabet และ Amazon ที่เป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จีนยังได้เปิดตัวโมเดล LLM ของตนเองเพื่อแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ เช่น Alibaba และ Baidu นั่นแสดงให้เห็นว่าจีนเองต้องการเป็นผู้นำด้าน GenAI  อย่างแท้จริง

ไฮไลท์ที่น่าสนใจ

  • สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI จำนวน 54,000 รายการถูกยื่นจดสิทธิบัตร ระหว่างปี 2014 ถึง 2023
  • การเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนสิทธิบัตร GenAI เพิ่มขึ้นแปดเท่านับตั้งแต่เปิดตัวdeep neural network architecture ที่อยู่เบื้องหลัง LLM  ที่กลายมาเป็นคำพ้องกับ GenAI ในปี 2560
  • 5 อันดับประเทศที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรด้าน GenAI ได้แก่ จีน (38,210 รายการ), สหรัฐอเมริกา (6,276 รายการ), สาธารณรัฐเกาหลี (4,155 รายการ), ญี่ปุ่น (3,409 รายการ) และอินเดีย (1,350 รายการ)
  • ในปี 2023 เพียงปีเดียวมีสิทธิบัตร GenAI มากกว่า 25% ของสิทธิบัตร GenAI ทั้งหมดทั่วโลกถูกตีพิมพ์ และมีบทความวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI มากกว่า 45% ถูกตีพิมพ์
  • สิทธิบัตร GenAI ปัจจุบันมีเพียง 6% ของสิทธิบัตร AI ทั้งหมดทั่วโลก
  • ผู้ยื่นขอสิทธิบัตร GenAI อันดับ 10 อันดับแรก ได้แก่ Tencent, Ping An Insurance, Baidu, Chinese Academy of Sciences, IBM, Alibaba Group, Samsung Electronics, Alphabet, ByteDance และ Microsoft
สถิติสิทธิบัตร Generative AI

ในอนาคต ปัญญาประดิษฐ์ GenAI จะสามารถช่วยออกแบบโมเลกุลใหม่ๆ ซึ่งจะเร่งกระบวนการพัฒนายา นอกจากนี้ GenAI ยังสามารถทำงานอัตโนมัติในด้านการจัดการเอกสารและการเผยแพร่ได้มากขึ้น รวมถึงการใช้งานในระบบช่วยเหลือการค้าปลีกและแชทบอทบริการลูกค้า และยังช่วยในการออกแบบและเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะและการขับขี่อัตโนมัติ

“GenAI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวงการด้วยศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การใช้ชีวิต และการเล่นของเรา โดยผ่านการวิเคราะห์แนวโน้มการจดสิทธิบัตรและข้อมูล WIPO หวังว่าจะให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทิศทางในอนาคต”  Daren Tang ผู้อำนวยการใหญ่ของ WIPO กล่าว

รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าตอนนี้จีนเป็นผู้นำในการยื่นจดสิทธิบัตร GenAI และกำลังดำเนินการพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป เรายังได้เห็นแนวโน้มเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาและเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว ซึ่งรายงานนี้จะสามารถช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักพัฒนาเข้าใจและนำไปปรับใช้ในยุทธศาสตร์ทางธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ