การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยมีการจำแนกประเภทของคนต่างด้าว การกำหนดบัญชีรายชื่อธุรกิจที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทย และทุนขั้นต่ำที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคนไทยได้ หากยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน หากกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในลักษณะที่เป็นการกีดกันหรือสร้างอุปสรรคในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของคนต่างด้าวแล้ว ก็อาจส่งผลให้ประเทศไทยไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานภายในประเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ด้วย
ความหมายของ “คนต่างด้าว” ** ทำแบบ กด แล้วจะแสดงข้อความเพิ่มเติม
**ตัวอย่าง https://inlps.com
- บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย ในการพิจารณาสัญชาติของบุคคลว่ามีสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยการได้มาซึ่งสัญชาติไทยอาจเกิดจากหลักสืบสายโลหิต หลักดินแดน การสมรส และการแปลงสัญชาติ
- นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยนิติบุคคลใดที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ย่อมมีสถานะเป็นคนต่างด้าว
- นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ต่างด้าวถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่านิติบุคคลจะจดทะเบียนในประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนลงทุนหรือการถือหุ้นของบุคคลถ้าคนต่างด้าวลงทุนหรือถือหุ้นตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ย่อมถือว่านิติบุคคลนั้น มีสถานะเป็นคนต่างด้าว
- นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีบุคคลตามข้อ 1, 2 และ 3 ข้างต้นถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย, นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และ นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ต่างด้าวถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง มีหุ้นหรือลงทุนตั้งแต่ร้อยละ ๕๐ ของทุนทั้งหมด
ประเภทของธุรกิจในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
บัญชี | ลักษณะธุรกิจ |
1 | ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ |
การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน การเลี้ยงสัตว์การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติการทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย การสกัดสมุนไพรไทย การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ การทำหรือหล่อพระพุทธรูปรวมถึงการทำบาตร และการค้าที่ดิน | |
2 | ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีก่อน |
ธุรกิจตามบัญชีนี้เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวตามบัญชีสองนี้ ต้องมีคนไทยหรือนิติบุคคลไทยถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของทุนของคนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจนั้น (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอาจผ่อนผันสัดส่วนการถือหุ้นได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า) และต้องมีกรรมการคนไทยไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนกรรมการทั้งหมดด้วย | |
3 | ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ |
· การประกอบธุรกิจก่อสร้าง · การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน · การทำธุรกิจขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่ไม่ใช่การประมูลโบราณวัตถุหรือของที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ · ธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ · ธุรกิจการค้าปลีกหรือค้าส่งสินค้าที่มีทุนขั้นต่ำน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท · ธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง |