เทคโนโลยี
“รถไฟความเร็วสูง”
BY ENLIGHTIVE IDG
“BACKGROUND”
ณ เวลานี้ถ้าพูดถึงรถไฟความเร็วสูง คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากำลังเป็นกระแสอย่างกว้างขวาง แต่ผลสรุปจะเป็นอย่างไรนั้นไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงหรือไม่? เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันต่อไปครับ
แต่สำหรับแง่ของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงนั้น วันนี้ผมขอเสนอบทความเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง เจ้า Linear Motor Car ร่วมกับบทวิเคราะห์ทิศทางของเทคโนโลยีและแง่มุมโดยรอบที่น่าสนใจมานำเสนอ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เทคโนโลยี “Enlightive” by IDG
ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จัก Linear Motor Car ก่อน ซึ่งมันคือรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ทำความเร็วได้สูงกว่า “ชิงกังเซ็น” ได้กว่าเท่าตัวเลย โดยถือว่าเป็นความเร็วที่สูงสุดในโลกอยู่ ณ ขณะนี้เลยครับ การขับเคลื่อนโดยอธิบายง่ายๆ ก็คือมันจะลอยขึ้นขณะวิ่ง ด้วยความที่ลอยได้นี่เองจึงทำให้มีแรงเสียดทานที่ต่ำมาก เจ้ารถไฟชนิดนี้จึงทำความเร็วได้สูงมาก โดยมันลอยได้อย่างไรนั้นผมได้ใส่สารคดีสั้น “ดูให้รู้ : รถล้ำอนาคต Linear Motor car” ของ ThaiPBS ไว้ให้ทุกท่านได้ดูพอเป็นรายละเอียดคร่าวๆ →
“Technology Trend Analysis“
ญี่ปุ่น เป็นประเทศเจ้าเทคโนโลยี Linear Motor Car : เมื่อเราดูปริมาณการจดสิทธิบัตร ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Linear Motor Car ก็พบว่าญี่ปุ่น มีการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีดังกล่าวมากที่สุดกว่า 1,000 ฉบับ ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา และจีนตามลำดับดังแสดงด้วยแผนภูมิวงกลมทางด้านซ้าย
Hitachi Ltd. ผู้ถือครองสิทธิบัตรมากที่สุด : ข้อมูลสิทธิบัตรแสดงให้เห็นว่า บริษัท HITACHI LTD ถือครองเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Linear Motor Car มากที่สุด (สีคราม) รองลงมาคือ บริษัท SIEMENS AG (สีเหลือง)
สำหรับเจ้าเทคโนโลยี Linear Motor Car นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ แม้จะมีการผลิตเป็นรถไฟให้เราเห็นเมื่อไม่นานมานี้ หากแต่เป็นสิ่งที่คิดค้นและขอรับความคุ้มครองไว้นานแล้วกว่า 50 ปี โดยทิศทางของเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ มีการยื่นขอรับความคุ้มครองเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 1989 ถึง 1992 และค่อยๆลดต่ำลง โดยถ้าหากนับอายุของสิทธิบัตรในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะพบว่าบางส่วนหมดสิ้นอายุไปแล้ว สาธารณะชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งอาจจะพิจารณาได้ว่าตัว core technology ไม่มีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นมามาก ในช่วงหลังมานี้เป็นเพียงการพัฒนาต่อยอดจากเดิม เช่นปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นหรือระบบความปลอดภัย ตู้รถไฟ เป็นต้น ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจเห็นรถไฟ Linear Motor Car จากจีนเพิ่มสูงขึ้นเหมือนที่เราเคยเห็นรถไฟความเร็วสูงปกติของจีนที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากสิทธิบัตรรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นหมดอายุลงก็เป็นได้
“Social voice“
ต่อมาเรามาดูการพูดถึง รถไฟความเร็วสูงภายในประเทศไทย กันบ้างนะครับ จากการเก็บข้อมูลตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาเราจะพบประเด็นใหญ่ๆของ รถไฟความเร็วสูง ซึ่งไม่หนีไปจากเหตุการณ์ภายในประเทศเสียเท่าไหร่ เช่น รถไฟความเร็วสูง, นายก, นครราชสีมา เป็นต้น โดยมีกระแสมาเป็นระยะและค่อยๆลดลงช่วงปลายสัปดาห์ที่ 31 มีนาคมนี่เอง เมื่อเข้าไปดูถึงช่องทางที่มีการพูดถึงรถไฟความเร็วสูง พบว่าช่องทางหลักๆก็คือ facebook ตามมาด้วยเว็บเพจข่าวสารโดยทั่วไป ดังแสดงตามกราฟโดนัทด้านล่าง
สำหรับประเด็นหนึ่งในโลกโซเชียลที่น่าสนใจท่ามกลางกระแสของการสร้างหรือไม่สร้างรถไฟความเร็วสูงในไทยนั้น คือทาง มทร.อีสาน เตรียมเปิดหลักสูตรการคมนาคมระบบราง เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงที่กำลังมีเป้าหมายมาที่นครราชสีมา โดยมุ่งเป้าเพื่อผลิตบุคลากรให้สามารถเรียนรู้และซ่อมบำรุงรวมไปถึงต่อยอดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าดังกล่าวด้วยตนเองได้ในอนาคต… (สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านต่อได้ที่ http://koratstartup.com/2016/03/28/rmuti-new-curriculum/ )
ท้ายที่สุดนี้ สำหรับทิศทางต่อไปของเทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูง จากข้อมูลสิทธิบัตรทั้งบริษัท Hitachi เอง รวมทั้งสิทธิบัตรของ Railway Technical Research Institute กำลังให้ความสนใจไปที่เทคโนโลยีในกลุ่มของ electrical digital data processing หรือ data processing system โดยมีการยื่นจดสิทธิบัตรในกลุ่มดังกล่าวเป็นจำนวนที่สูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาระบบประมวลผลหรือระบบบริหารจัดการนั้นแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังถูกพัฒนาต่อเติมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ มากขึ้น โดยมีการควบคุมและบริหารจัดการอย่างรัดกุมและมีระบบนั่นเอง
ข้อมูลโดย Enlightive (ศึกษาบริการเพิ่มเติม https://idgthailand.com/enlightive-methodology/)