OUR BLOG

รู้มั้ย? ศิลปินได้รับค่าตอบแทนจากผลงานดนตรีอย่างไร

The Rhythm of Protection Copyright in the Digital Music Era (13)
“เมื่อมีผู้เสพผลงาน ย่อมมีผู้ได้รับผลประโยชน์” เช่นเดียวกับวงการดนตรี ศิลปินและนักแต่งเพลงมักได้รับค่าตอบแทนจากคนที่ซื้อหรือฟังเพลงผ่าน ช่องทางต่างๆ เช่นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดิจิทัล (Digital Service Providers: DSPs) ร้านจำหน่ายเพลง วิทยุ วิดีโอ ภาพยนต์ โทรทัศน์ คลับบาร์ เป็นต้น ซึ่งอาจได้รับค่าตอบแทนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ฟังที่ชำระเงินโดยตรง หรือผ่านตัวแทนที่จ่ายเงินให้กับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดิจิทัลเพื่อให้เพลงแสดงบนเว็บไซต์ หรือมาจากค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายสำหรับการใช้เพลง เช่น จากสถานีวิทยุ หรือสถานที่อื่น ๆ
สำหรับการรับค่าตอบแทน ศิลปินและนักแต่งเพลงต้องใส่ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล (metadata) ที่ระบุว่าใครทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ในงานดนตรีและงานสิ่งบันทึกเสียง และลงทะเบียนเพื่อรับเครดิตและค่าตอบแทน

เมื่อมีคนซื้อเพลงหรือฟังเพลงผ่านช่องทางข้างต้น จะมีการได้รับค่าตอบแทนดังนี้

1.นักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลง (publisher) จะได้รับค่าตอบแทนเมื่อที่มีการใช้ผลงานดนตรีของพวกเขา
2.นักดนตรีและค่ายเพลงจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อมีการใช้งานสิ่งบันทึกเสียงของพวกเขา

การเก็บและจ่ายค่าลิขสิทธิ์นั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็น

  • เมื่อมีการสตรีมเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ ผู้ถือสิทธิ์จะได้รับค่าตอบแทนที่แบ่งกันระหว่างผู้เผยแพร่เพลง นักแต่งเพลง ค่ายเพลง และนักดนตรี
  • เมื่อมีการเล่นเพลงทางวิทยุหรือในสถานที่สาธารณะ (เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือคาเฟ่) ผู้ถือสิทธิ์มักจะได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง (Collective Management Organizations: CMO) โดยจะอยู่ในรูปแบบของค่าตอบแทนหรือค่าลิขสิทธิ์ที่แบ่งกันระหว่างผู้เผยแพร่เพลงและนักแต่งเพลง
  • ผู้บันทึกผลงานดนตรี (recording artist) และนักดนตรี อาจได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของสิทธิข้างเคียง (neighboring rights) หรืออาจไม่ได้รับค่าตอบแทนจากสิทธิข้างเคียงซึ่งจะแตกต่างกับไปตามภูมิภาคและประเทศ
  • เมื่อมีการซื้องานสิ่งบันทึกเสียงในร้านค้า (ในรูปแบบที่มีหน้าร้าน) ค่ายเพลงจะได้รับค่าตอบแทน ซึ่งค่ายเพลงจะรับผิดชอบในการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บันทึกผลงานดนตรีและนักดนตรี ตลอดจนจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้เผยแพร่เพลงและนักแต่งเพลงสำหรับการทำสำเนาเพลง
  • สำหรับการแสดงสด ผู้บันทึกผลงานดนตรีจะได้รับค่าตอบแทนโดยตรง ในขณะที่นักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลงจะได้รับค่าตอบแทนผ่านองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง สิ่งสำคัญคือการรายงานผลงานดนตรีทั้งหมดที่แสดงสดผ่านรายชื่อเพลงที่จะแสดง (setlist) ไปยังองค์กรด้านลิขสิทธิ์ทางการแสดง (Performing Rights Organizations: PRO) ที่ผู้จัดงานคอนเสิร์ตมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ เพื่อให้มั่นใจว่านักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลงได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  • หากมีการนำเสนอผลงานดนตรีและ/หรืองานสิ่งบันทึกเสียงในภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ วิดีโอเกม หรือแคมเปญโฆษณา จะต้องใช้การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์แบบซิงค์ (sync licenses) นักแต่งเพลงจะได้รับค่าตอบแทนจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์แบบซิงค์ผ่านผู้เผยแพร่เพลงหรือองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง และนักดนตรีจะได้รับค่าตอบแทนผ่านค่ายเพลง
อย่างไรด็ตาม ทางทีมงานอยากฝากคำแนะนำให้กับศิลปิน/ผู้สร้างสรรค์ผลงานว่าการชดเชยค่าตอบแทนนั้นขึ้นอยู่กับการใส่ข้อมูล “Metadata” ที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ว่ามีการระบุรายละเอียดที่ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ทางองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะหาผู้สร้างสรรค์และให้ค่าตอบแทนได้
จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานดนตรีนั้นมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนจากผลงานดนตรีที่สร้างขึ้นในหลากหลายช่องทาง ดังนั้น จะดีกว่ามั้ย?…ถ้าคุณที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ นั้นตระหนักถึงสิทธิ์ในผลงาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองที่ควรจะได้รับ
Reference:
https://goclip.org/en/music/the-ecosystem/from-listeners-to-creators?collection=how-it-all-fits-together 

ติดต่อทีมลิขสิทธิ์เเละเครื่องหมายการค้า :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 101

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน 
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

The Rhythm of Protection Copyright in the Digital Music Era (13)
“เมื่อมีผู้เสพผลงาน ย่อมมีผู้ได้รับผลประโยชน์” เช่นเดียวกับวงการดนตรี ศิลปินและนักแต่งเพลงมักได้รับค่าตอบแทนจากคนที่ซื้อหรือฟังเพลงผ่าน ช่องทางต่างๆ เช่นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดิจิทัล (Digital Service Providers: DSPs) ร้านจำหน่ายเพลง วิทยุ วิดีโอ ภาพยนต์ โทรทัศน์ คลับบาร์ เป็นต้น ซึ่งอาจได้รับค่าตอบแทนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ฟังที่ชำระเงินโดยตรง หรือผ่านตัวแทนที่จ่ายเงินให้กับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดิจิทัลเพื่อให้เพลงแสดงบนเว็บไซต์ หรือมาจากค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายสำหรับการใช้เพลง เช่น จากสถานีวิทยุ หรือสถานที่อื่น ๆ
สำหรับการรับค่าตอบแทน ศิลปินและนักแต่งเพลงต้องใส่ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล (metadata) ที่ระบุว่าใครทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ในงานดนตรีและงานสิ่งบันทึกเสียง และลงทะเบียนเพื่อรับเครดิตและค่าตอบแทน

เมื่อมีคนซื้อเพลงหรือฟังเพลงผ่านช่องทางข้างต้น จะมีการได้รับค่าตอบแทนดังนี้

1.นักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลง (publisher) จะได้รับค่าตอบแทนเมื่อที่มีการใช้ผลงานดนตรีของพวกเขา
2.นักดนตรีและค่ายเพลงจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อมีการใช้งานสิ่งบันทึกเสียงของพวกเขา

การเก็บและจ่ายค่าลิขสิทธิ์นั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็น

  • เมื่อมีการสตรีมเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ ผู้ถือสิทธิ์จะได้รับค่าตอบแทนที่แบ่งกันระหว่างผู้เผยแพร่เพลง นักแต่งเพลง ค่ายเพลง และนักดนตรี
  • เมื่อมีการเล่นเพลงทางวิทยุหรือในสถานที่สาธารณะ (เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือคาเฟ่) ผู้ถือสิทธิ์มักจะได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง (Collective Management Organizations: CMO) โดยจะอยู่ในรูปแบบของค่าตอบแทนหรือค่าลิขสิทธิ์ที่แบ่งกันระหว่างผู้เผยแพร่เพลงและนักแต่งเพลง
  • ผู้บันทึกผลงานดนตรี (recording artist) และนักดนตรี อาจได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของสิทธิข้างเคียง (neighboring rights) หรืออาจไม่ได้รับค่าตอบแทนจากสิทธิข้างเคียงซึ่งจะแตกต่างกับไปตามภูมิภาคและประเทศ
  • เมื่อมีการซื้องานสิ่งบันทึกเสียงในร้านค้า (ในรูปแบบที่มีหน้าร้าน) ค่ายเพลงจะได้รับค่าตอบแทน ซึ่งค่ายเพลงจะรับผิดชอบในการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บันทึกผลงานดนตรีและนักดนตรี ตลอดจนจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้เผยแพร่เพลงและนักแต่งเพลงสำหรับการทำสำเนาเพลง
  • สำหรับการแสดงสด ผู้บันทึกผลงานดนตรีจะได้รับค่าตอบแทนโดยตรง ในขณะที่นักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลงจะได้รับค่าตอบแทนผ่านองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง สิ่งสำคัญคือการรายงานผลงานดนตรีทั้งหมดที่แสดงสดผ่านรายชื่อเพลงที่จะแสดง (setlist) ไปยังองค์กรด้านลิขสิทธิ์ทางการแสดง (Performing Rights Organizations: PRO) ที่ผู้จัดงานคอนเสิร์ตมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ เพื่อให้มั่นใจว่านักแต่งเพลงและผู้เผยแพร่เพลงได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  • หากมีการนำเสนอผลงานดนตรีและ/หรืองานสิ่งบันทึกเสียงในภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ วิดีโอเกม หรือแคมเปญโฆษณา จะต้องใช้การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์แบบซิงค์ (sync licenses) นักแต่งเพลงจะได้รับค่าตอบแทนจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์แบบซิงค์ผ่านผู้เผยแพร่เพลงหรือองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง และนักดนตรีจะได้รับค่าตอบแทนผ่านค่ายเพลง
อย่างไรด็ตาม ทางทีมงานอยากฝากคำแนะนำให้กับศิลปิน/ผู้สร้างสรรค์ผลงานว่าการชดเชยค่าตอบแทนนั้นขึ้นอยู่กับการใส่ข้อมูล “Metadata” ที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ว่ามีการระบุรายละเอียดที่ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ทางองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะหาผู้สร้างสรรค์และให้ค่าตอบแทนได้
จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานดนตรีนั้นมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนจากผลงานดนตรีที่สร้างขึ้นในหลากหลายช่องทาง ดังนั้น จะดีกว่ามั้ย?…ถ้าคุณที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ นั้นตระหนักถึงสิทธิ์ในผลงาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองที่ควรจะได้รับ
Reference:
https://goclip.org/en/music/the-ecosystem/from-listeners-to-creators?collection=how-it-all-fits-together 

ติดต่อทีมลิขสิทธิ์เเละเครื่องหมายการค้า :

โทร : 02-011-7161 ติดต่อ 101

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน 
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ