วงจรเครื่องหมายการค้า (Trademark Life Cycle)
จากประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจาก IDG มองเห็นว่า เมื่อเราพูดถึงเครื่องหมายการค้าแล้วนั้น ในยุคนี้ คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนได้ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก เพราะเนื่องจากมีแบรนด์ หรือ ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว จึงมีความคิดที่อยากจดเครื่องหมายการค้า เพื่อป้องกันการซ้ำ และ การถูกละเมิด รวมทั้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์และธุรกิจอีกด้วย
ในส่วนของการที่เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดตามกฎหมายนั้น สามารถทำได้โดยการยื่นจดทะเบียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศต่าง ๆ ดังนั้นการออกแบบหรือเลือกชื่อเครื่องหมายการค้าที่มีโอกาสในการได้รับจดทะเบียนและเป็นไปตามกฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในปัจจุบันมีเครื่องหมายการค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้เองเจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนสำหรับวงจรเครื่องหมายการค้า (Trademark Life Cycle) แล้วหรือไม่ ? ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบ จดทะเบียน ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ให้ความคุ้มครองและรักษาเครื่องหมายดังกล่าวอย่างถูกต้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์สูงสุดของท่านซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้าจาก IDG ได้รวบรวม 8 ขั้นตอน ของ trademark lifecycle มาให้ทุกท่าน ทำความเข้าใจกันแบบง่าย ๆ กันค่ะ
8 ขั้นตอนใน trademark lifecycle
1. การออกแบบเครื่องหมายการค้า (Creation)
การออกแบบเครื่องหมายการค้าถือเป็นขั้นตอนเริ่มต้นสำหรับการเริ่มใช้เครื่องหมายการค้านั่นเอง ซึ่งมีหลายหลักเกณฑ์ที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าควรให้ความสำคัญเมื่อเริ่มมีการออกแบบ อย่างเช่น ควรหลีกเลี่ยงคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงไม่ว่าจะเป็นทั้งในภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ตาม หรือหลีกเลี่ยงเครื่องหมายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความของเรา [เครื่องหมายการค้าหรือ “โลโก้” ของท่านจะได้รับการคุ้มครองเป็นเครื่องหมายการค้าหรือไม่?]
และอีกประเด็นที่ควรพิจารณา ก็คือบางครั้งเจ้าของเครื่องหมายการค้ามักต้องการใช้โดเมนเนมให้สอดคล้องกับเครื่องหมายการค้า ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ท่านควรตรวจสอบโดเมนเนม และ เครื่องหมายการค้าก่อนที่จะทำการออกแบบ เพื่อไม่ให้เหมือนหรือคล้ายกับบุคคลอื่นนั่นเอง
2. การคัดเลือก (Screening)
คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร หากในบางครั้งคุณอาจออกแบบเครื่องหมายการค้า (อย่างเช่น โลโก้) ที่คุณต้องการไว้หลากหลายแบบ เพื่อเก็บไว้เป็นตัวเลือก ว่าอันไหนที่จะไม่ซ้ำกันคนอื่น หรือ อันไหนที่ถูกใจและเหมาะสมมากที่สุด
ดังนั้นขั้นตอนต่อไปคือการคัดเลือกเครื่องหมายการค้า ซึ่งวิธีที่เหมาะสมที่สุดคงไม่พ้นการสืบค้นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าในฐานระบบว่าเครื่องหมายการค้าใดบ้างที่บุคคลอื่นได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งในส่วนนี้ อาจจะทำให้หลาย ๆ ท่านเสียเวลาในการสืบค้น
ในเวลาเดียวกัน เจ้าของเครื่องหมายอาจต้องการตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่เราเลือกนั้นเคยมีคนใช้เป็นโดเมนเนมดังกล่าวแล้วหรือยัง ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการค้นหาในระบบการจดโดเมนเนมเช่นเดียวกับการสืบค้นเครื่องหมายการค้า ซึ่งปกติการคัดเลือก (Screening) จะเป็นขั้นตอนสำหรับเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจำนวนมากนั่นเอง จึงทำให้ต้องมีการทำ Screening ก่อนที่จะลงทุน
โดยการค้นหาความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าสามารถทำได้โดยใช้ระบบเสิร์ชหรือบริษัทผู้มีความเชี่ยวชาญอย่าง IDG นั่นเอง
เมื่อทำการคัดเลือกเครื่องหมายการค้าแล้ว รายชื่อเครื่องหมายการค้าของคุณจะแคบลงเนื่องจากเครื่องหมายที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นจะถูกตัดออกไป
3. การสืบค้นโดยละเอียด (Clearance)
เครื่องหมายการค้าที่ผ่านการคัดเลือก (Screening) แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสืบค้นโดยละเอียด ซึ่งการสืบค้นที่ครอบคลุมและมีโอกาสตกหล่นค่อนข้างน้อยมาก ๆ มักดำเนินการโดยบริษัทผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านเครื่องหมายการค้า โดยบริษัทจะดำเนินการจัดทำรายงานการสืบค้นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า (Search Report) โดยรายงานต่อเจ้าของเครื่องหมายก่อนดำเนินการยื่นจดทะเบียน ในส่วนของรายงานจะมีการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของคุณมีโอกาสจะได้รับจดทะเบียนมากน้อยแค่ไหน
และรายงานดังกล่าวไม่เพียงแต่สืบค้นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันเท่านั้น แต่ยังสืบค้นความเหมือนคล้ายสำหรับเครื่องหมายการค้าที่อาจอยู่ในจำพวกรายการสินค้าที่เกี่ยวข้องกันอีกด้วย และรวมไปถึงเครื่องหมายที่มีคำพ้องเสียง พ้องความหมาย คำนำหน้าแบบเดียวกัน หรือ เครื่องหมายอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภคก็ด้วยเช่นกัน
รายงานการสืบค้นความเหมือนคล้ายจะช่วยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของท่านพร้อมสำหรับการจดทะเบียนและการใช้ในอนาคตหรือไม่
ซึ่ง IDG มีบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวก และ ประหยัดเวลาให้กับท่าน โดยที่ IDG จะช่วยสืบค้น โดยผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ พร้อมกับเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ท่านไม่ต้องประสบกับปัญหาการจดเครื่องหมายการค้าซ้ำนั่นเอง
4. การตรวจสอบ (Investigation)
อ้างอิงจากการสืบค้นความเหมือนคล้ายโดยละเอียด (Clearance) ทนายความในบริษัทที่ปรึกษาของคุณอาจทำการตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่มีความขัดแย้งกับเครื่องหมายการค้าของคุณยังมีการใช้จริงอยู่ในตลาดหรือไม่ หากพบว่ายังมีการใช้อยู่ ในขั้นตอนนี้จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายทราบว่าอาจเกิดปัญหาได้หากคุณใช้หรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
5. การแสดงความคิดเห็น (Opinion)
ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้าจะทำการแสดงความคิดเห็น และ วิเคราะห์ว่าเครื่องหมายการค้าของท่านพร้อมสำหรับการใช้งานและการจดทะเบียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในขั้นตอนนี้ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้ามั่นใจได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของท่านจะปลอดภัย และยังเป็นการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
จากขั้นตอนนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่สนับสนุนในการตัดสินใจสำหรับเจ้าของเครื่องหมายการค้าว่าจะต้องการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวไหม
6. การยื่นจดทะเบียน (Filing/registration)
ในส่วนของขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมีข้อกำหนดแตกต่างกันไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ในกรณีนี้ IDG จะขอพูดถึงขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยนั้นไม่ได้กำหนดว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องแสดงหลักฐานว่ามีการใช้ หรือ มีเจตนาที่จะใช้เครื่องหมายการค้าต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีความแตกต่างจากข้อกำหนดในประเทศอื่น ๆ อย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องแสดงหลักฐานให้เห็นชัดเจนว่าได้มีการใช้หรือเจตนาที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ต้องการจะขอจดทะเบียน
เมื่อเจ้าของเครื่องหมายการค้ายื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อกรมทรัพย์สินฯ แล้ว นายทะเบียนจะทำการพิจารณาความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้านั่นเอง หากตรวจสอบแล้วไม่พบว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้ นายทะเบียนจะประกาศโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 60 วัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสามารถยื่นคำยื่นคัดค้านการจดทะเบียนได้ และเมื่อถึงวันที่ครบกำหนด หากไม่มีผู้คัดค้าน เครื่องหมายดังกล่าวก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรับจดทะเบียนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ รวมไปถึงขั้นตอนอื่น ๆ ค่อนข้างที่จะใช้เวลาพอสมควร หากท่านมีความต้องการที่จะประหยัดเวลา รวมไปถึง ความน่าเชื่อถือ ทาง IDG มีบริการจดเครื่องหมายการค้า โดยผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี ที่จะทำเดินการให้ครบทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ และ มีประสิทธิภาพนั่นเอง
7. การรักษาสิทธิในเครื่องหมายการค้า (Maintenance)
เครื่องหมายการค้าจะแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร เพราะเครื่องหมายการค้านั้น สามารถได้รับความคุ้มครองตลอดไป ในขณะที่ลิขสิทธิ์มีความคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์บวกไปอีก 50 ปีเท่านั้น
แม้ว่าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าจะกำหนดให้เครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปี แต่เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็สามารถต่ออายุเครื่องหมายการค้าได้ทุก ๆ 10 ปี นั่นเอง !
ดังนั้น เครื่องหมายการค้าจะคงอยู่กับเจ้าของเครื่องหมายการค้า จนถึงวันที่หมดอายุและไม่มีการต่ออายุใด ๆ นั่นเอง ซึ่งการต่ออายุอาจดำเนินการโดยเจ้าของเครื่องหมายการค้า ทนายความผู้รับมอบอำนาจ หรือ บริษัทที่ปรึกษาของท่านนั่นเอง
ในขั้นตอนนี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาไว้ซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้า สามารถยืนยันได้ว่าเครื่องหมายของคุณจะไม่ถูกเพิกถอน และคุณถือเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเครื่องหมายดังกล่าว
8. การใช้ประโยชน์ในทางการค้า (Commercial exploitation)
ในส่วนของขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเครื่องหมายการค้าของคุณเริ่มเป็นที่รู้จักหรือได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น คุณอาจได้รับผลประโยชน์จากความนิยมเหล่านี้ได้ อย่างเช่นในกรณีที่ปกติคุณใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อสินค้าของคุณได้รับความนิยม เครื่องหมายการค้าก็จะเป็นที่รู้จักตามมา คุณอาจนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสินค้าประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นการขยายธุรกิจได้อีกด้วย ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยชื่อเสียง (Goodwill) ในเครื่องหมายการค้าได้ ซึ่ง IDG สามารถให้คำแนะนำกับท่านได้เป็นอย่างดี
จะเห็นได้ว่าการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้รับความคุ้มครองและได้รับผลประโยชน์สูงสุดในเครื่องหมายการค้า
แต่อาจยังมีผู้ประกอบการหลายรายที่ละเลยบางขั้นตอนจนทำให้เกิดปัญหาในธุรกิจ อย่างเช่น มีบุคคลอื่นนำเครื่องหมายของคุณไปจดทะเบียนและเกิดข้อพิพาทระหว่างกันได้
ซึ่ง IDG มีบริการเครื่องหมายครบทุกวงจร ที่ไม่ใช่แค่เพียงการจดเครื่องหมายการค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน ด้วยผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี เป็นความไว้วางใจจากแบรนด์ดัง ๆ ที่สามารถดำเนินการให้กับท่านครบทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประหยัดเวลาให้กับท่านอีกด้วย
ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรงที่ฝ่ายเครื่องหมายการค้าของเรา โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์
โทร: 02-011-7161 ถึง 6
ฝ่ายเครื่องหมายการค้า 02-011-7161 Ext
ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102
ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105
ฝ่ายกฏหมาย Ext 103
E-Mail: [email protected]
———————————————————————————————
Click here
———————————————————————————————