OUR BLOG

วิธีแก้ปัญหากับคู่กรณีด้วย Notice Letter ที่ควรรู้

banner web 2

วิธีแก้ปัญหากับคู่กรณีด้วย Notice Letter ที่คุณยังไม่รู้

       ลูกความหลายท่านที่เข้ามาปรึกษามักมีปัญหามากมายจากการที่คู่กรณีฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำการตามที่เคยตกลงกันไว้ หรือคู่กรณีบางท่านก็ตั้งใจทำให้ลูกความเกิดความเสียหาย หรือคู่กรณีบางท่านก็ตกอยู่ในสถานะลูกหนี้ที่ไม่มี ไม่หนี แต่ไม่จ่าย! ลูกความที่เข้ามาขอคำปรึกษากับเราบางท่านใจเย็นยอมทวงหนี้มาเป็น 10 ปีจนหมดอายุความ แต่ลูกความบางท่านก็ใจร้อน อย่างไรเสียต้องเอาคู่กรณีเข้าคุกหรือขอให้ศาลบังคับคดีให้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่ามีลูกความจำนวนไม่น้อยที่จบปัญหาทั้งหมดจากการให้ทนายความช่วยเขียน Notice Letter ส่งไปยังคู่กรณี ผู้เขียนขออนุญาตยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ที่ประสบพบเจอ ลูกความท่านนี้เคยโทรศัพท์เจรจาขอให้คู่กรณีหยุดการใช้เครื่องหมายการค้า เนื่องจากเครื่องหมายดังกล่าวมีลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกับของลูกความมาก แต่การเจรจาก็ดูขัดหูขัดใจไปเสียหมด คู่กรณีอ้างว่าตนไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงทำไมต้องมาแจ้งเตือนให้ตนหยุดใช้ด้วย ลูกความได้รับคำตอบเช่นนั้นก็ไม่รอช้ารีบเข้าปรึกษาทนายความด้านทรัพย์สินทางปัญญา ของ IDG ซึ่งแน่นอนว่ากรณีนี้จบลงอย่างสวยงาม เพราะทนายความได้อธิบายเหตุผลและข้อกฎหมายทั้งหมดแทนลูกความในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงลงใน Notice Letter ให้คู่กรณีเข้าใจทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยเจรจาทางโทรศัพท์จนคู่กรณียินยอมที่จะหยุดใช้เครื่องหมายการค้านั้น และยกเลิกจำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับลูกความของเราไปในที่สุด เห็นหรือไม่ว่าทุกกรณีไม่จำเป็นขอใช้บารมีศาลเป็นที่พึ่งเสมอไป Notice Letter เป็นวิธีที่ช่วยจบปัญหาให้แก่ลูกความมาแล้วหลายรายในช่วงระยะเวลาอันสั้นและแน่นอนว่ามันย่อมดีกว่าการนั่งสืบพยานต่อสู้กันในชั้นศาลเป็นปี ๆ

Notice Letter คืออะไร?

Notice Letter หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือ หนังสือแจ้งให้ลูกหนี้หรือคู่กรณีทราบล่วงหน้าว่าจะมีการดำเนินคดีภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงื่อนไขให้ชำระหนี้, เงื่อนไขให้หยุดกระทำการ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง และมักมีเงื่อนไขเวลามาเป็นตัวกำหนดให้ดำเนินการภายใน 7 หรือ 15 หรือ 30 วัน เป็นต้น

การทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice Letter มีทั้งกรณีที่บอกกล่าวทวงถามก่อนหรือไม่ก็ได้ เช่นกรณีการโต้แย้งสิทธิที่ชัดแจ้งอยู่แล้วในคดีละเมิดที่ไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือบอกกล่าวก็มีอำนาจฟ้องได้ แต่ในทางปฏิบัติเพื่อความเป็นธรรมหรือความชัดเจนทนายและลูกความส่วนใหญ่จะยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice ก่อนเสมอ

กรณีที่จำเป็นที่ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนเสมอ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน หากเจ้าหนี้ไม่มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจฟ้อง อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2560 และ 4603/2562 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ มาตรา 686 วรรคแรก “เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ” หรือกรณีบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายกำหนดให้ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนองชำระหนี้ก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีให้บังคับจำนอง ยึดทรัพย์สินออกที่จำนองขายทอดตลาดได้ อ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ มาตรา 728 วรรคสอง ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผู้จำนองเช่นว่านั้นหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันดังกล่าว” ดังนี้จากกรณีข้างต้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดข้อเรียกร้องต่อกัน เจ้าหนี้จะใช้สิทธิบังคับลูกหนี้หรือคู่กรณีโดยพลการไม่ได้ โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการบอกกล่าวทวงถามให้ถูกต้องเสียก่อน

การส่งหนังสือบอกกล่าวไม่จำเป็นต้องให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งให้เสมอไป ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามลูกความหรือผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดำเนินการจัดส่งหนังสือบอกกล่าวด้วยตนเองแต่อย่างใด เพียงแต่ท่านต้องศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการส่งหนังสือบอกกล่าวให้ถี่ถ้วนและกำหนดเนื้อหาให้ครอบคลุมชัดเจน หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice ของท่านจึงจะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย

การบอกกล่าวทวงถามนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือก็สามารถทวงถามโดยวาจาได้ แต่การทวงถามด้วยวาจานั้นมักจะมีข้อโต้แย้งกันได้ว่าไม่เคยได้มีการบอกกล่าว หากพิสูจน์ก็ต้องเอาบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์มาเบิกความต่อศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ดังนั้น เมื่อทนายความจะดำเนินการบอกกล่าวทวงถามก็จะใช้วิธีทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์พร้อมใบตอบรับ ซึ่งเป็นวิธีทางการและมีหลักฐานเพื่อนำไปพิสูจน์ในชั้นศาลได้อย่างชัดเจน แต่บางครั้งการส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก็ยังเกิดข้อขัดข้องทำให้ไม่สามารถส่งได้ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ถ้าหากพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีมีเจตนาทุจริตโดยไม่ยอมรับหนังสือบอกกล่าวทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จะรับได้ หรือ มีผู้รับไว้แทนได้ตามกฎหมาย เช่นนี้ เพียงการส่งหนังสือบอกกล่าวไปนั้นถึงแม้ยังไม่มีผู้รับ ก็ถือเป็นการส่งคำบอกกล่าวถึงตัวผู้รับโดยชอบตามกฎหมายแล้ว

องค์ประกอบของหนังสือบอกกล่าว

    ส่วนที่ 1 หัวกระดาษ ประกอบด้วย ชื่อสำนักงานกฎหมาย (ถ้ามี), สถานที่ทำหนังสือ, วันที่ทำ, เรื่อง, เรียน (ชื่อผู้รับหนังสือ)

    ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย

                            ย่อหน้าที่ 1 ให้ท่านบรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างท่านกับคู่กรณี ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

                             ย่อหน้าที่ 2 ให้ท่านบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ ส่วนมากมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ปรากฏว่า…” และตามด้วย เหตุที่เกิดขึ้นคืออะไร, ทำให้ใครเสียหาย และเสียหายอย่างไร

                             ย่อหน้าที่ 3 ให้ท่านบรรยายคำขอบังคับ ระบุสิ่งที่จะบังคับเอาจากลูกหนี้หรือคู่กรณี เช่น ต้นเงินดอกเบี้ย หรือให้กระทำการ หรือหยุดกระทำการใด, ชำระแก่ผู้ใด พร้อมกำหนดระยะเวลาดำเนินการ และลงท้ายด้วยคำบังคับว่าถ้าไม่ปฏิบัติตาม ข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

    ส่วนที่ 3 ส่วนลงท้าย ประกอบด้วย ข้อความตรงกลางหน้ากระดาษว่า “ขอแสดงความนับถือ” พร้อมลงชื่อทนายความ หรือผู้ที่ดำเนินการจัดส่งหนังสือบอกกล่าว

 

 

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง

                                                ทำที่ …………………………………………….                                                                             

                                                         

                                                          วันที่ 1 มกราคม 2564

เรื่อง ขอให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง

เรียน นายชอบ เป็นหนี้

 

          เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 ท่านได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 54321 เลขที่ดิน 87 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไว้กับนายพากเพียร หาสกุล เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,000,000 บาท โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจำนอง ซึ่งท่านได้รับเงินกู้จำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา

          ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปี ท่านไม่ชำระหนี้ให้แก่นายพากเพียร หาสกุล ผู้รับจำนองเลย ดังนั้น นายพากเพียร หาสกุล จึงไม่มีความประสงค์ที่จะให้ท่านกู้เงินและจำนองที่ดินอีกต่อไป

          ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายพากเพียร หาสกุล จึงขอให้ท่านชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่านเพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินการฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวต่อศาล เพื่อยึดที่ดินจำนองดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามกฎหมายต่อไป

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

( นายมั่นคง ยุติธรรม )

ทนายความผู้รับมอบอำนาจ


IDGTHAILAND มีทีมทนายความผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการร่างและส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างมืออาชีพ ด้วยบริการที่รวดเร็ว และราคายุติธรรม สอบถามค่าบริการหรือข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-011-7161 ต่อ 106 – 107 หรือ LINE: @idgthailand

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.facebook.com/1495897350425901/posts/2624562510892707/

https://www.thairath.co.th/news/local/1986177

https://www.kobkiat.com/17710040/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA-notice%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1 

Facebook
Twitter
LinkedIn
banner web 2

วิธีแก้ปัญหากับคู่กรณีด้วย Notice Letter ที่คุณยังไม่รู้

       ลูกความหลายท่านที่เข้ามาปรึกษามักมีปัญหามากมายจากการที่คู่กรณีฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำการตามที่เคยตกลงกันไว้ หรือคู่กรณีบางท่านก็ตั้งใจทำให้ลูกความเกิดความเสียหาย หรือคู่กรณีบางท่านก็ตกอยู่ในสถานะลูกหนี้ที่ไม่มี ไม่หนี แต่ไม่จ่าย! ลูกความที่เข้ามาขอคำปรึกษากับเราบางท่านใจเย็นยอมทวงหนี้มาเป็น 10 ปีจนหมดอายุความ แต่ลูกความบางท่านก็ใจร้อน อย่างไรเสียต้องเอาคู่กรณีเข้าคุกหรือขอให้ศาลบังคับคดีให้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่ามีลูกความจำนวนไม่น้อยที่จบปัญหาทั้งหมดจากการให้ทนายความช่วยเขียน Notice Letter ส่งไปยังคู่กรณี ผู้เขียนขออนุญาตยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ที่ประสบพบเจอ ลูกความท่านนี้เคยโทรศัพท์เจรจาขอให้คู่กรณีหยุดการใช้เครื่องหมายการค้า เนื่องจากเครื่องหมายดังกล่าวมีลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกับของลูกความมาก แต่การเจรจาก็ดูขัดหูขัดใจไปเสียหมด คู่กรณีอ้างว่าตนไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงทำไมต้องมาแจ้งเตือนให้ตนหยุดใช้ด้วย ลูกความได้รับคำตอบเช่นนั้นก็ไม่รอช้ารีบเข้าปรึกษาทนายความด้านทรัพย์สินทางปัญญา ของ IDG ซึ่งแน่นอนว่ากรณีนี้จบลงอย่างสวยงาม เพราะทนายความได้อธิบายเหตุผลและข้อกฎหมายทั้งหมดแทนลูกความในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงลงใน Notice Letter ให้คู่กรณีเข้าใจทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยเจรจาทางโทรศัพท์จนคู่กรณียินยอมที่จะหยุดใช้เครื่องหมายการค้านั้น และยกเลิกจำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับลูกความของเราไปในที่สุด เห็นหรือไม่ว่าทุกกรณีไม่จำเป็นขอใช้บารมีศาลเป็นที่พึ่งเสมอไป Notice Letter เป็นวิธีที่ช่วยจบปัญหาให้แก่ลูกความมาแล้วหลายรายในช่วงระยะเวลาอันสั้นและแน่นอนว่ามันย่อมดีกว่าการนั่งสืบพยานต่อสู้กันในชั้นศาลเป็นปี ๆ

Notice Letter คืออะไร?

Notice Letter หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า หนังสือบอกกล่าวทวงถาม คือ หนังสือแจ้งให้ลูกหนี้หรือคู่กรณีทราบล่วงหน้าว่าจะมีการดำเนินคดีภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงื่อนไขให้ชำระหนี้, เงื่อนไขให้หยุดกระทำการ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง และมักมีเงื่อนไขเวลามาเป็นตัวกำหนดให้ดำเนินการภายใน 7 หรือ 15 หรือ 30 วัน เป็นต้น

การทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice Letter มีทั้งกรณีที่บอกกล่าวทวงถามก่อนหรือไม่ก็ได้ เช่นกรณีการโต้แย้งสิทธิที่ชัดแจ้งอยู่แล้วในคดีละเมิดที่ไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือบอกกล่าวก็มีอำนาจฟ้องได้ แต่ในทางปฏิบัติเพื่อความเป็นธรรมหรือความชัดเจนทนายและลูกความส่วนใหญ่จะยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice ก่อนเสมอ

กรณีที่จำเป็นที่ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนเสมอ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน หากเจ้าหนี้ไม่มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจฟ้อง อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2560 และ 4603/2562 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ มาตรา 686 วรรคแรก “เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ” หรือกรณีบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายกำหนดให้ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนองชำระหนี้ก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีให้บังคับจำนอง ยึดทรัพย์สินออกที่จำนองขายทอดตลาดได้ อ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ มาตรา 728 วรรคสอง ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผู้จำนองเช่นว่านั้นหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันดังกล่าว” ดังนี้จากกรณีข้างต้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดข้อเรียกร้องต่อกัน เจ้าหนี้จะใช้สิทธิบังคับลูกหนี้หรือคู่กรณีโดยพลการไม่ได้ โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการบอกกล่าวทวงถามให้ถูกต้องเสียก่อน

การส่งหนังสือบอกกล่าวไม่จำเป็นต้องให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งให้เสมอไป ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามลูกความหรือผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดำเนินการจัดส่งหนังสือบอกกล่าวด้วยตนเองแต่อย่างใด เพียงแต่ท่านต้องศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการส่งหนังสือบอกกล่าวให้ถี่ถ้วนและกำหนดเนื้อหาให้ครอบคลุมชัดเจน หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือ Notice ของท่านจึงจะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย

การบอกกล่าวทวงถามนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือก็สามารถทวงถามโดยวาจาได้ แต่การทวงถามด้วยวาจานั้นมักจะมีข้อโต้แย้งกันได้ว่าไม่เคยได้มีการบอกกล่าว หากพิสูจน์ก็ต้องเอาบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์มาเบิกความต่อศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ดังนั้น เมื่อทนายความจะดำเนินการบอกกล่าวทวงถามก็จะใช้วิธีทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์พร้อมใบตอบรับ ซึ่งเป็นวิธีทางการและมีหลักฐานเพื่อนำไปพิสูจน์ในชั้นศาลได้อย่างชัดเจน แต่บางครั้งการส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก็ยังเกิดข้อขัดข้องทำให้ไม่สามารถส่งได้ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ถ้าหากพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีมีเจตนาทุจริตโดยไม่ยอมรับหนังสือบอกกล่าวทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จะรับได้ หรือ มีผู้รับไว้แทนได้ตามกฎหมาย เช่นนี้ เพียงการส่งหนังสือบอกกล่าวไปนั้นถึงแม้ยังไม่มีผู้รับ ก็ถือเป็นการส่งคำบอกกล่าวถึงตัวผู้รับโดยชอบตามกฎหมายแล้ว

องค์ประกอบของหนังสือบอกกล่าว

    ส่วนที่ 1 หัวกระดาษ ประกอบด้วย ชื่อสำนักงานกฎหมาย (ถ้ามี), สถานที่ทำหนังสือ, วันที่ทำ, เรื่อง, เรียน (ชื่อผู้รับหนังสือ)

    ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย

                            ย่อหน้าที่ 1 ให้ท่านบรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างท่านกับคู่กรณี ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

                             ย่อหน้าที่ 2 ให้ท่านบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ ส่วนมากมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ปรากฏว่า…” และตามด้วย เหตุที่เกิดขึ้นคืออะไร, ทำให้ใครเสียหาย และเสียหายอย่างไร

                             ย่อหน้าที่ 3 ให้ท่านบรรยายคำขอบังคับ ระบุสิ่งที่จะบังคับเอาจากลูกหนี้หรือคู่กรณี เช่น ต้นเงินดอกเบี้ย หรือให้กระทำการ หรือหยุดกระทำการใด, ชำระแก่ผู้ใด พร้อมกำหนดระยะเวลาดำเนินการ และลงท้ายด้วยคำบังคับว่าถ้าไม่ปฏิบัติตาม ข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

    ส่วนที่ 3 ส่วนลงท้าย ประกอบด้วย ข้อความตรงกลางหน้ากระดาษว่า “ขอแสดงความนับถือ” พร้อมลงชื่อทนายความ หรือผู้ที่ดำเนินการจัดส่งหนังสือบอกกล่าว

 

 

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง

                                                ทำที่ …………………………………………….                                                                             

                                                         

                                                          วันที่ 1 มกราคม 2564

เรื่อง ขอให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง

เรียน นายชอบ เป็นหนี้

 

          เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 ท่านได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 54321 เลขที่ดิน 87 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไว้กับนายพากเพียร หาสกุล เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,000,000 บาท โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจำนอง ซึ่งท่านได้รับเงินกู้จำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา

          ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปี ท่านไม่ชำระหนี้ให้แก่นายพากเพียร หาสกุล ผู้รับจำนองเลย ดังนั้น นายพากเพียร หาสกุล จึงไม่มีความประสงค์ที่จะให้ท่านกู้เงินและจำนองที่ดินอีกต่อไป

          ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายพากเพียร หาสกุล จึงขอให้ท่านชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่านเพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินการฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวต่อศาล เพื่อยึดที่ดินจำนองดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามกฎหมายต่อไป

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

( นายมั่นคง ยุติธรรม )

ทนายความผู้รับมอบอำนาจ


IDGTHAILAND มีทีมทนายความผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการร่างและส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างมืออาชีพ ด้วยบริการที่รวดเร็ว และราคายุติธรรม สอบถามค่าบริการหรือข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-011-7161 ต่อ 106 – 107 หรือ LINE: @idgthailand

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.facebook.com/1495897350425901/posts/2624562510892707/

https://www.thairath.co.th/news/local/1986177

https://www.kobkiat.com/17710040/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA-notice%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ