OUR BLOG

สถานการณ์ล่าสุดในการยื่นจดเครื่องหมายการค้าของประเทศเมียนมา


banner3
แม้สถานการณ์ต่าง ๆ ภายในประเทศเมียนมาจะยังยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบธุรกิจและนักลงทุนนานาชาติ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมียนมายังเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนและเป็นฐานผู้บริโภคที่สำคัญของสินค้าไทย ทำให้เจ้าของแบรนด์ต่างให้ความสนใจที่จะบุกตลาดเมียนมา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่เป็นเหมือนหัวใจสำคัญของแบรนด์มากขึ้น และสอดรับกับที่ก่อนหน้านี้ ทางการเมียนมาได้ออกประกาศที่แสดงถึงความพร้อมและยกระดับด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดวันที่สำคัญ ๆ เพื่อใช้ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ยิ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการยิ่งขึ้นไป แต่สุดท้ายเพราะปัญหาภายในประเทศที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ กำหนดการต่าง ๆ จึงถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
เจ้าของแบรนด์ที่ต้องการจะขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ของเมียนมาได้ จะต้องเป็นแบรนด์ที่เคยมีการบันทึกความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Registered Declaration of Trademark Ownership) เอาไว้ก่อนวันที่กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้เท่านั้น จึงจะสามารถนำมาขอยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Re-filing) ในช่วง Soft Opening ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมา (MIPO) ได้ และให้อายุความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ 10 ปีเช่นนานาประเทศ
ในส่วนของเจ้าของแบรนด์ที่ยังไม่เคยได้รับความคุ้มครองมาก่อนเลยในเมียนมา ขณะนี้ ทางการเมียนมาได้มีการประกาศให้สามารถกลับมาใช้ระบบการบันทึกความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือการจดทะเบียนรูปแบบเดิมได้แล้ว หลังจากที่มีการยุติการให้บริการดังกล่าวไปชั่วคราว โดยการจดทะเบียนในรูปแบบเดิม จะเป็นการยื่นต่อสำนักงานทะเบียนในกรุงย่างกุ้ง ก่อนที่จะมีการเปิดอาคารกรมทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ที่กรุงเนปิดอว์ในอนาคต
กระบวนการจดทะเบียนตามระบบจดทะเบียนรูปแบบเดิม จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 เดือนโดยประมาณ เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะสามารถนำบันทึกความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้วนั้น มายื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Re-filing) ในช่วง Soft Opening นี้ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะการยื่นบันทึกข้อมูลเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening นี้ จะเป็นการแสดงความจำนงว่าต้องการจะได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในเมียนมาตามกฎหมายฉบับใหม่ และจะทำให้เครื่องหมายการค้าที่บันทึกข้อมูลไว้ ได้รับการพิจารณาจากนายทะเบียนเป็นกลุ่มแรก
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านระหว่างช่วง Soft Opening ไปสู่ช่วง Grand Opening เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเจ้าของแบรนด์ เพราะเมียนมายึดแนวพิจารณาเครื่องหมายการค้าตามหลัก ‘First to File’ หรือการสันนิษฐานว่าผู้ที่ยื่นคำขอไว้อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่ดีกว่า ดังนั้น ยิ่งมีการยื่นคำขอได้เร็ว ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับจดทะเบียนสูงกว่าการยื่นในภายหลัง ซึ่งหากเจ้าของแบรนด์เลือกที่จะรอการเปิดระบบ Grand Opening เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เครื่องหมายการค้าอาจต้องพบกับอุปสรรคในระหว่างการพิจารณา เพราะช่วง Grand Opening จะเป็นการเปิดให้สาธารณชนยื่นคำขอได้โดยไม่ได้มีข้อจำกัดแล้วว่าจะต้องมีหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้วในเมียนมามาก่อน
อย่างไรก็ดี การบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening จะไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการจดทะเบียนตามกฎหมายฉบับใหม่ เพราะผู้ขอที่ยื่นไว้แล้ว ยังต้องเตรียมการนำส่งแบบฟอร์มตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด และชำระค่าธรรมเนียม เมื่อมีการเข้าสู่ช่วง Grand Opening อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งขณะนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมา ยังไม่ได้มีการกำหนดแบบฟอร์มมาตรฐาน หรือแนวทางการพิจารณาเครื่องหมายการค้า ตลอดจนอัตราค่าธรรมเนียมมาแต่อย่างใด
CHECKLIST สำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ในเมียนมา

  • หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney) ที่ลงนามแล้ว พร้อมรับรองลายมือชื่อโดยทนายความ และรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยกรมการกงสล กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย
  • สำเนาหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Declaration of Trademark Ownership) ที่ลงนามแล้ว พร้อมรับรองลายมือชื่อโดยทนายความ
  • ชื่อและที่อยู่ของผู้ขอจดทะเบียน (ภาษาอังกฤษ)
  • ภาพเครื่องหมายการค้า (ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ นามสกุล .jpg)
  • รายการสินค้า/บริการที่ต้องการจดทะเบียน
  • กรณียื่นในนามนิติบุคคล ใช้ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของกรรมการผู้มีอำนาจ *ใช้สำหรับกระบวนการรับรองเอกสาร
  • กรณียื่นในนามบุคคลธรรมดา ใช้ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้ขอจดทะเบียน *ใช้สำหรับกระบวนการรับรองเอกสาร

หมายเหตุ:
*IDG จะเป็นผู้จัดเตรียมแบบฟอร์มเอกสารตาม 1) และ 2) สำหรับให้ลงนาม และเมื่อได้รับข้อมูลตาม Checklist ทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับเอกสารยืนยันข้อมูลเครื่องหมายการค้า (Confirmation Sheet) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการเริ่มกระบวนการยื่นคำขอ
ขั้นตอนการดำเนินการของ IDG

1.   เตรียมเอกสารให้ลงนาม ประทับตราสำคัญ และนำไปรับรองเอกสาร 3 – 10 วัน นับจากวันที่ได้รับการยืนยันและได้รับชำระค่าบริการ
2.     นำส่งเอกสารที่รับรองแล้วไปที่ IDG สาขาเมียนมา 7 – 14 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารคืนจากสถานทูตฯ
3.   ยื่นคำขอตามระบบจดทะเบียนเดิม ที่สำนักงานทะเบียนกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และนำส่งรายงานการยื่นคำขอให้ทางอีเมล 14 วัน นับจากวันที่เอกสารไปถึงสำนักงานสาขา
4.     ติดตามและรอผลการจดทะเบียน 2 – 4 เดือน
5.   รับหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้ว จากสำนักงานทะเบียนฯ และนำส่งรายงานการรับหนังสือฯ ทางอีเมล 7 – 10 วัน นับจากได้รับแจ้งจากสำนักงานทะเบียนฯ
6.   ยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening และนำส่งรายงายการยื่นบันทึกให้ทางอีเมล 3 – 5 วัน นับจากได้รับหนังสือฯ ที่จดทะเบียนแล้ว
7.   ติดตามความคืบหน้าของกรมฯ และรอประกาศกำหนดวันที่สำหรับ Grand Opening แบบฟอร์ม หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพื่อแจ้งให้ท่านทราบเป็นระยะ

    ค่าบริการของ IDG

พิเศษ ! สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่สนใจจะปกป้องเครื่องหมายการค้าในประเทศเมียนมา

จดทะเบียนตามระบบการจดทะเบียนแบบเดิม เพียง 20,000 บาท จาก 28,000 บาท

พิเศษยิ่งกว่านั้น ! ราคาดังกล่าว

รวมค่าบริการในการยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนในช่วง Soft Opening แล้ว

จากปกติ คำขอละ 5,000 บาท

สำหรับเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนในเมียนมาเท่านั้น!

ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น

หมายเหตุ:
* IDG จะเป็นผู้จัดเก็บหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าฉบับจริงไว้ ณ สำนักงานสาขา กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการช่วง Soft Opening และ Grand Opening ต่อไป โดยจะนำส่งเป็นสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ให้กับท่านเพื่ออ้างอิงเท่านั้น ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องใช้ฉบับจริงในการอ้างยันสิทธิทางทะเบียนของท่าน แต่หากท่านต้องการจะได้รับเอกสารฉบับจริงด้วย ทางทีมงานจะดำเนินการจัดส่งให้ผ่านผู้รับขน (DHL Corporate) ซึ่งอาจมีค่าใช่จ่ายเพิ่มเติมตามที่ถูกเรียกเก็บจริง
** ค่าบริการข้างต้น รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของ ค่ารับรองเอกสาร ค่าเดินทางและตรวจสอบเอกสาร และค่าขนส่งเอกสารจากประเทศไทยไปเมียนมา ทั้งนี้ ยกเว้นเฉพาะ ค่าขนส่งหนังสือฯ ฉบับจริงกลับมายังประเทศไทยเท่านั้น ที่จะเรียกเก็บเพิ่มเติมหากท่านมีความประสงค์จะรับเอกสารฉบับจริง
*** ค่าบริการข้างต้น ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมที่อาจเรียกเก็บในช่วง Grand Opening ซึ่งต้องรอการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมาต่อไป

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรงที่ฝ่ายเครื่องหมายการค้าของเรา โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

โทร: 02-011-7161 ถึง 6

ฝ่ายเครื่องหมายการค้า  02-011-7161 Ext

ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102

ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105

ฝ่ายกฏหมาย Ext 103

E-Mail: [email protected]


Click here

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด


banner3
แม้สถานการณ์ต่าง ๆ ภายในประเทศเมียนมาจะยังยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบธุรกิจและนักลงทุนนานาชาติ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมียนมายังเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนและเป็นฐานผู้บริโภคที่สำคัญของสินค้าไทย ทำให้เจ้าของแบรนด์ต่างให้ความสนใจที่จะบุกตลาดเมียนมา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่เป็นเหมือนหัวใจสำคัญของแบรนด์มากขึ้น และสอดรับกับที่ก่อนหน้านี้ ทางการเมียนมาได้ออกประกาศที่แสดงถึงความพร้อมและยกระดับด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดวันที่สำคัญ ๆ เพื่อใช้ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ยิ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการยิ่งขึ้นไป แต่สุดท้ายเพราะปัญหาภายในประเทศที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ กำหนดการต่าง ๆ จึงถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
เจ้าของแบรนด์ที่ต้องการจะขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ของเมียนมาได้ จะต้องเป็นแบรนด์ที่เคยมีการบันทึกความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Registered Declaration of Trademark Ownership) เอาไว้ก่อนวันที่กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้เท่านั้น จึงจะสามารถนำมาขอยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Re-filing) ในช่วง Soft Opening ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมา (MIPO) ได้ และให้อายุความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ 10 ปีเช่นนานาประเทศ
ในส่วนของเจ้าของแบรนด์ที่ยังไม่เคยได้รับความคุ้มครองมาก่อนเลยในเมียนมา ขณะนี้ ทางการเมียนมาได้มีการประกาศให้สามารถกลับมาใช้ระบบการบันทึกความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือการจดทะเบียนรูปแบบเดิมได้แล้ว หลังจากที่มีการยุติการให้บริการดังกล่าวไปชั่วคราว โดยการจดทะเบียนในรูปแบบเดิม จะเป็นการยื่นต่อสำนักงานทะเบียนในกรุงย่างกุ้ง ก่อนที่จะมีการเปิดอาคารกรมทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ที่กรุงเนปิดอว์ในอนาคต
กระบวนการจดทะเบียนตามระบบจดทะเบียนรูปแบบเดิม จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 เดือนโดยประมาณ เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะสามารถนำบันทึกความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้วนั้น มายื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Re-filing) ในช่วง Soft Opening นี้ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะการยื่นบันทึกข้อมูลเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening นี้ จะเป็นการแสดงความจำนงว่าต้องการจะได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในเมียนมาตามกฎหมายฉบับใหม่ และจะทำให้เครื่องหมายการค้าที่บันทึกข้อมูลไว้ ได้รับการพิจารณาจากนายทะเบียนเป็นกลุ่มแรก
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านระหว่างช่วง Soft Opening ไปสู่ช่วง Grand Opening เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเจ้าของแบรนด์ เพราะเมียนมายึดแนวพิจารณาเครื่องหมายการค้าตามหลัก ‘First to File’ หรือการสันนิษฐานว่าผู้ที่ยื่นคำขอไว้อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่ดีกว่า ดังนั้น ยิ่งมีการยื่นคำขอได้เร็ว ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับจดทะเบียนสูงกว่าการยื่นในภายหลัง ซึ่งหากเจ้าของแบรนด์เลือกที่จะรอการเปิดระบบ Grand Opening เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เครื่องหมายการค้าอาจต้องพบกับอุปสรรคในระหว่างการพิจารณา เพราะช่วง Grand Opening จะเป็นการเปิดให้สาธารณชนยื่นคำขอได้โดยไม่ได้มีข้อจำกัดแล้วว่าจะต้องมีหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้วในเมียนมามาก่อน
อย่างไรก็ดี การบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening จะไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการจดทะเบียนตามกฎหมายฉบับใหม่ เพราะผู้ขอที่ยื่นไว้แล้ว ยังต้องเตรียมการนำส่งแบบฟอร์มตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด และชำระค่าธรรมเนียม เมื่อมีการเข้าสู่ช่วง Grand Opening อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งขณะนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมา ยังไม่ได้มีการกำหนดแบบฟอร์มมาตรฐาน หรือแนวทางการพิจารณาเครื่องหมายการค้า ตลอดจนอัตราค่าธรรมเนียมมาแต่อย่างใด
CHECKLIST สำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ในเมียนมา

  • หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney) ที่ลงนามแล้ว พร้อมรับรองลายมือชื่อโดยทนายความ และรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยกรมการกงสล กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย
  • สำเนาหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Declaration of Trademark Ownership) ที่ลงนามแล้ว พร้อมรับรองลายมือชื่อโดยทนายความ
  • ชื่อและที่อยู่ของผู้ขอจดทะเบียน (ภาษาอังกฤษ)
  • ภาพเครื่องหมายการค้า (ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ นามสกุล .jpg)
  • รายการสินค้า/บริการที่ต้องการจดทะเบียน
  • กรณียื่นในนามนิติบุคคล ใช้ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของกรรมการผู้มีอำนาจ *ใช้สำหรับกระบวนการรับรองเอกสาร
  • กรณียื่นในนามบุคคลธรรมดา ใช้ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้ขอจดทะเบียน *ใช้สำหรับกระบวนการรับรองเอกสาร

หมายเหตุ:
*IDG จะเป็นผู้จัดเตรียมแบบฟอร์มเอกสารตาม 1) และ 2) สำหรับให้ลงนาม และเมื่อได้รับข้อมูลตาม Checklist ทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับเอกสารยืนยันข้อมูลเครื่องหมายการค้า (Confirmation Sheet) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการเริ่มกระบวนการยื่นคำขอ
ขั้นตอนการดำเนินการของ IDG

1.   เตรียมเอกสารให้ลงนาม ประทับตราสำคัญ และนำไปรับรองเอกสาร 3 – 10 วัน นับจากวันที่ได้รับการยืนยันและได้รับชำระค่าบริการ
2.     นำส่งเอกสารที่รับรองแล้วไปที่ IDG สาขาเมียนมา 7 – 14 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารคืนจากสถานทูตฯ
3.   ยื่นคำขอตามระบบจดทะเบียนเดิม ที่สำนักงานทะเบียนกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และนำส่งรายงานการยื่นคำขอให้ทางอีเมล 14 วัน นับจากวันที่เอกสารไปถึงสำนักงานสาขา
4.     ติดตามและรอผลการจดทะเบียน 2 – 4 เดือน
5.   รับหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนแล้ว จากสำนักงานทะเบียนฯ และนำส่งรายงานการรับหนังสือฯ ทางอีเมล 7 – 10 วัน นับจากได้รับแจ้งจากสำนักงานทะเบียนฯ
6.   ยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วง Soft Opening และนำส่งรายงายการยื่นบันทึกให้ทางอีเมล 3 – 5 วัน นับจากได้รับหนังสือฯ ที่จดทะเบียนแล้ว
7.   ติดตามความคืบหน้าของกรมฯ และรอประกาศกำหนดวันที่สำหรับ Grand Opening แบบฟอร์ม หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพื่อแจ้งให้ท่านทราบเป็นระยะ

    ค่าบริการของ IDG

พิเศษ ! สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่สนใจจะปกป้องเครื่องหมายการค้าในประเทศเมียนมา

จดทะเบียนตามระบบการจดทะเบียนแบบเดิม เพียง 20,000 บาท จาก 28,000 บาท

พิเศษยิ่งกว่านั้น ! ราคาดังกล่าว

รวมค่าบริการในการยื่นบันทึกข้อมูลทะเบียนในช่วง Soft Opening แล้ว

จากปกติ คำขอละ 5,000 บาท

สำหรับเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่เคยจดทะเบียนมาก่อนในเมียนมาเท่านั้น!

ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น

หมายเหตุ:
* IDG จะเป็นผู้จัดเก็บหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าฉบับจริงไว้ ณ สำนักงานสาขา กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการช่วง Soft Opening และ Grand Opening ต่อไป โดยจะนำส่งเป็นสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ให้กับท่านเพื่ออ้างอิงเท่านั้น ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องใช้ฉบับจริงในการอ้างยันสิทธิทางทะเบียนของท่าน แต่หากท่านต้องการจะได้รับเอกสารฉบับจริงด้วย ทางทีมงานจะดำเนินการจัดส่งให้ผ่านผู้รับขน (DHL Corporate) ซึ่งอาจมีค่าใช่จ่ายเพิ่มเติมตามที่ถูกเรียกเก็บจริง
** ค่าบริการข้างต้น รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนหนังสือแสดงความเป็นเจ้าของ ค่ารับรองเอกสาร ค่าเดินทางและตรวจสอบเอกสาร และค่าขนส่งเอกสารจากประเทศไทยไปเมียนมา ทั้งนี้ ยกเว้นเฉพาะ ค่าขนส่งหนังสือฯ ฉบับจริงกลับมายังประเทศไทยเท่านั้น ที่จะเรียกเก็บเพิ่มเติมหากท่านมีความประสงค์จะรับเอกสารฉบับจริง
*** ค่าบริการข้างต้น ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมที่อาจเรียกเก็บในช่วง Grand Opening ซึ่งต้องรอการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมียนมาต่อไป

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรงที่ฝ่ายเครื่องหมายการค้าของเรา โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

โทร: 02-011-7161 ถึง 6

ฝ่ายเครื่องหมายการค้า  02-011-7161 Ext

ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102

ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105

ฝ่ายกฏหมาย Ext 103

E-Mail: [email protected]


Click here

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ