OUR BLOG

DIP-JPO PATENT PROSECUTION HIGHWAY (PPH) จดสิทธิบัตรญี่ปุ่น

idg cover content 3

ตามที่ได้สัญญากันไว้ในตอนที่แล้ว ในตอนนี้เราจะมาทำการเล่าถึง DIP-JPO PATENT PRPSECUTION HIGHWAY หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าโครงการ PPH กัน ซึ่งโครงการ PPH นั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นของการยื่นสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่นเลย โดยโครงการดังกล่าวนั้น เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย (DIP) และสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศญี่ปุ่น (JPO) เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการยื่นขอรับสิทธิบัตรระหว่างทั้งสองประเทศ โดยภายใต้โครงการดังกล่าว ผู้ขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น เมื่อได้รับจดทะเบียนโดยสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นแล้ว สามารถนำผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศญี่ปุ่น มายื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ในประเทศไทยได้ โครงการดังกล่าวนั้น ปัจจุบันยังเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Programme) แต่ได้มีการขยายระยะเวลาความร่วมมือเพิ่มอีกสองปีจนถึง 31 ธันวาคม 2566 ซึ่งหากมีการประกาศยกระดับความเพิ่มเติมหลังจากนั้น ก็อาจจะมีโอกาสได้เห็นโครงการดังกล่าวถูกยกระดับเป็นโครงการแบบถาวรเลยก็เป็นได้ 

PPH ทำอะไรได้บ้าง? 

  1. กรณียื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศญี่ปุ่น หากมีการขอถือสิทธิย้อนหลังไว้ในประเทศไทยและได้รับจดทะเบียน สามารถใช้ผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศไทยไปเร่งรัดขั้นตอนการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศญี่ปุ่นได้ แต่ในทางปฏิบัติ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นมักใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรน้อยกว่าประเทศไทย 
  2. กรณียื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศไทย หากมีการถือสิทธิย้อนหลังไว้ที่ประเทศญี่ปุ่นและได้รับจดทะเบียน สามารถใช้ผลการตรวจสอบการประดิษฐ์จากสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น ประกอบการตรวจสอบการประดิษฐ์เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้
    โดยในบทความนี้ เราจะทำการเจาะลึกในขั้นตอนดังกล่าว

เงื่อนไขคำขอภายใต้โครงการ PPH 

  1. ต้องดำเนินการยื่นขอรับสิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีระยะเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอเป็นครั้งแรกสำหรับระบบ
    การยื่นตรง (Direct Route) หรือ 30 เดือน สำหรับระบบ PCT
  2. ในการขอถือสิทธิย้อนหลัง สามารถขอถือสิทธิย้อนหลังได้เฉพาะวันที่ยื่นคำขอในไทย ญี่ปุ่น หรือวันที่ยื่นคำขอ PCT เท่านั้น ไม่สามารถขอ
    ถือสิทธิย้อนหลังไปยังประเทศอื่น ๆ ที่มีการยื่นคำขอเป็นครั้งแรกได้ 
  3. คำขอที่ยื่นในประเทศทั้งสองต้องมีความสอดคล้องกัน และต้องมีข้อถือสิทธิที่ได้รับจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย
  4. หากมีการแก้ไขข้อถือสิทธิ จะต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อถือสิทธิที่ได้รับจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น
  5. คำขอที่มีผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ในประเทศไทยแล้ว ไม่สามารถยื่นขอเข้าโครงการ PPH เพื่อตรวจสอบการประดิษฐ์ได้ 

ขั้นตอนการยื่นขอเข้าโครงการ PPH

สำหรับการขอเข้าร่วมโครงการ PPH นั้น ผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือตัวแทนสิทธิบัตรจะต้องกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสารที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือผ่านระบบ e-filing พร้อมทั้งรับรองว่าคำขอดังกล่าวนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยจะต้องยื่นเอกสารดังกล่าวหลังจากหรือพร้อมกับคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ แต่หากได้รับผลการตรวจสอบการประดิษฐ์แล้ว ก็จะไม่สามารถยื่นขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้ 

เอกสารประกอบการยื่นเข้าโครงการ PPH

  1. แบบฟอร์มขอเข้าร่วมโครงการ 
  2. สำเนาผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่น ที่ขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และ
    คำแปลภาษาไทย หรืออังกฤษ พร้อมทั้งรับรองคำแปลถูกต้อง 
  3. สำเนาข้อถือสิทธิของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่น ที่ขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และคำแปลภาษาไทย หรืออังกฤษ พร้อมทั้งรับรองคำแปลถูกต้อง 
  4. สำเนาเอกสารอ้างอิงของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรญี่ปุ่น ของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่นขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่จำเป็นต้องทำการแปลในแต่ละรายการ 
  5. ตารางเทียบข้อถือสิทธิที่ยื่นในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกัน หากแปลไม่ตรงกัน ผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือตัวแทนจะต้องทำการอธิบายหรือแสดงถึงขอบเขตที่สอดคล้องกัน 

บทสรุป

อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นสำหรับการขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ผ่านโครงการ PPH ก็คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะไม่มีกำหนดจำนวน
คำขอที่สามารถรับได้ในแต่ละเดือน โดยหากคำขอนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของการเข้าโครงการ ก็สามารถยื่นขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ได้เลย ซึ่งแตกต่างกับการยื่นผ่านโครงการเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีโควตาที่สามารถรับได้ในแต่ละเดือน ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับการขอเข้าร่วมโครงการ PPH นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับผู้ที่มีคำขอสิทธิบัตรญี่ปุ่นที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว หากยื่นเข้าร่วมโครงการ PPH เพื่อขอเร่งรัดการตรวจสอบก็เป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ 

สำหรับข้อสังเกต ถึงแม้การขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ผ่านโครงการ PPH จะไม่มีโควตากำหนดในแต่ละเดือน รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเรียกเก็บเพิ่มเติม แต่สำหรับการยื่นเอกสารนั้น ก็ถือว่ามีเอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่จะต้องจัดเตรียมอีกจำนวนมาก ซึ่งการได้มาสำหรับเอกสารเหล่านี้ จะต้องทำการประสานกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น รวมถึงต้องมีขั้นตอนการแปลภาษาและรับรองคำแปลอีกด้วย ดังนั้น
การดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวผ่านทางตัวแทนสิทธิบัตรจึงเป็นอีกทางเลือกที่มีความน่าสนใจเช่นกัน 

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

idg cover content 3

ตามที่ได้สัญญากันไว้ในตอนที่แล้ว ในตอนนี้เราจะมาทำการเล่าถึง DIP-JPO PATENT PRPSECUTION HIGHWAY หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าโครงการ PPH กัน ซึ่งโครงการ PPH นั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นของการยื่นสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่นเลย โดยโครงการดังกล่าวนั้น เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย (DIP) และสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศญี่ปุ่น (JPO) เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการยื่นขอรับสิทธิบัตรระหว่างทั้งสองประเทศ โดยภายใต้โครงการดังกล่าว ผู้ขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น เมื่อได้รับจดทะเบียนโดยสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นแล้ว สามารถนำผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศญี่ปุ่น มายื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ในประเทศไทยได้ โครงการดังกล่าวนั้น ปัจจุบันยังเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Programme) แต่ได้มีการขยายระยะเวลาความร่วมมือเพิ่มอีกสองปีจนถึง 31 ธันวาคม 2566 ซึ่งหากมีการประกาศยกระดับความเพิ่มเติมหลังจากนั้น ก็อาจจะมีโอกาสได้เห็นโครงการดังกล่าวถูกยกระดับเป็นโครงการแบบถาวรเลยก็เป็นได้ 

PPH ทำอะไรได้บ้าง? 

  1. กรณียื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศญี่ปุ่น หากมีการขอถือสิทธิย้อนหลังไว้ในประเทศไทยและได้รับจดทะเบียน สามารถใช้ผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศไทยไปเร่งรัดขั้นตอนการตรวจสอบการประดิษฐ์ของประเทศญี่ปุ่นได้ แต่ในทางปฏิบัติ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นมักใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรน้อยกว่าประเทศไทย 
  2. กรณียื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศไทย หากมีการถือสิทธิย้อนหลังไว้ที่ประเทศญี่ปุ่นและได้รับจดทะเบียน สามารถใช้ผลการตรวจสอบการประดิษฐ์จากสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น ประกอบการตรวจสอบการประดิษฐ์เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้
    โดยในบทความนี้ เราจะทำการเจาะลึกในขั้นตอนดังกล่าว

เงื่อนไขคำขอภายใต้โครงการ PPH 

  1. ต้องดำเนินการยื่นขอรับสิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีระยะเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอเป็นครั้งแรกสำหรับระบบ
    การยื่นตรง (Direct Route) หรือ 30 เดือน สำหรับระบบ PCT
  2. ในการขอถือสิทธิย้อนหลัง สามารถขอถือสิทธิย้อนหลังได้เฉพาะวันที่ยื่นคำขอในไทย ญี่ปุ่น หรือวันที่ยื่นคำขอ PCT เท่านั้น ไม่สามารถขอ
    ถือสิทธิย้อนหลังไปยังประเทศอื่น ๆ ที่มีการยื่นคำขอเป็นครั้งแรกได้ 
  3. คำขอที่ยื่นในประเทศทั้งสองต้องมีความสอดคล้องกัน และต้องมีข้อถือสิทธิที่ได้รับจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย
  4. หากมีการแก้ไขข้อถือสิทธิ จะต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อถือสิทธิที่ได้รับจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น
  5. คำขอที่มีผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ในประเทศไทยแล้ว ไม่สามารถยื่นขอเข้าโครงการ PPH เพื่อตรวจสอบการประดิษฐ์ได้ 

ขั้นตอนการยื่นขอเข้าโครงการ PPH

สำหรับการขอเข้าร่วมโครงการ PPH นั้น ผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือตัวแทนสิทธิบัตรจะต้องกรอกแบบฟอร์มและยื่นเอกสารที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือผ่านระบบ e-filing พร้อมทั้งรับรองว่าคำขอดังกล่าวนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยจะต้องยื่นเอกสารดังกล่าวหลังจากหรือพร้อมกับคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ แต่หากได้รับผลการตรวจสอบการประดิษฐ์แล้ว ก็จะไม่สามารถยื่นขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้ 

เอกสารประกอบการยื่นเข้าโครงการ PPH

  1. แบบฟอร์มขอเข้าร่วมโครงการ 
  2. สำเนาผลการตรวจสอบการประดิษฐ์ของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่น ที่ขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และ
    คำแปลภาษาไทย หรืออังกฤษ พร้อมทั้งรับรองคำแปลถูกต้อง 
  3. สำเนาข้อถือสิทธิของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่น ที่ขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และคำแปลภาษาไทย หรืออังกฤษ พร้อมทั้งรับรองคำแปลถูกต้อง 
  4. สำเนาเอกสารอ้างอิงของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรญี่ปุ่น ของคำขอรับสิทธิบัตรญี่ปุ่นขอใช้ผลการตรวจสอบเพื่อยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่จำเป็นต้องทำการแปลในแต่ละรายการ 
  5. ตารางเทียบข้อถือสิทธิที่ยื่นในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกัน หากแปลไม่ตรงกัน ผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือตัวแทนจะต้องทำการอธิบายหรือแสดงถึงขอบเขตที่สอดคล้องกัน 

บทสรุป

อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นสำหรับการขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ผ่านโครงการ PPH ก็คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะไม่มีกำหนดจำนวน
คำขอที่สามารถรับได้ในแต่ละเดือน โดยหากคำขอนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของการเข้าโครงการ ก็สามารถยื่นขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ได้เลย ซึ่งแตกต่างกับการยื่นผ่านโครงการเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีโควตาที่สามารถรับได้ในแต่ละเดือน ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับการขอเข้าร่วมโครงการ PPH นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับผู้ที่มีคำขอสิทธิบัตรญี่ปุ่นที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว หากยื่นเข้าร่วมโครงการ PPH เพื่อขอเร่งรัดการตรวจสอบก็เป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ 

สำหรับข้อสังเกต ถึงแม้การขอเร่งรัดการตรวจสอบการประดิษฐ์ผ่านโครงการ PPH จะไม่มีโควตากำหนดในแต่ละเดือน รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเรียกเก็บเพิ่มเติม แต่สำหรับการยื่นเอกสารนั้น ก็ถือว่ามีเอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่จะต้องจัดเตรียมอีกจำนวนมาก ซึ่งการได้มาสำหรับเอกสารเหล่านี้ จะต้องทำการประสานกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น รวมถึงต้องมีขั้นตอนการแปลภาษาและรับรองคำแปลอีกด้วย ดังนั้น
การดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวผ่านทางตัวแทนสิทธิบัตรจึงเป็นอีกทางเลือกที่มีความน่าสนใจเช่นกัน 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ