![ภาพประกอบเนื้อหา อยากสร้างเเบรนด์เครื่องสำอาง ต้องจดสิทธิบัตรหรือไม่ ? ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 1400 × 768 px 14](https://idgthailand.com/wp-content/uploads/2023/12/ก่อนซื้อแฟรนไชส์-1400-×-768-px-14-1024x562.png)
ในโลกของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมโดดเด่นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการที่ช่วยให้เเบรนด์ประสบความสำเร็จได้ บริษัทผู้ผลิต-จำหน่าย เครื่องสำอางต่าง ๆ พยายามพัฒนาสูตรเครื่องสำอางเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา การปกป้องสูตรนวัตกรรมเหล่านี้ผ่านการจดทะเบียนสิทธิบัตรจึงมีความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก และยังเป็นข้อดีในการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านที่กำลังสร้างเเบรนด์ใหม่ หรือ ผู้ประกอบการที่มีเเบรนด์อยู่เเล้วเเต่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ขึ้นมา อาจจะยังมีข้อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นสามารถขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรได้หรือไม่ เเละนอกจากสิทธิบัตรสามารถขอรับความคุ้มครองในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ด้วยหรือเปล่า การยื่นจดสิทธิบัตรจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับผลิตภัณฑ์บ้าง ในบทความนี้เราจะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในธุรกิจด้านครื่องสำอางกันครับ
สิทธิบัตร เป็นหนังสือคุ้มครองที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด โดยสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สูตรผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่สามารถจดสิทธิบัตรได้หรือไม่ ?
สูตรเครื่องสำอาง อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจัง จนได้ส่วนผสมหรือนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสูตรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ยังไม่เคยมีสิ่งนี้อยู่ในตลาด เเละยังไม่เคยถูกเผยเเพร่ สามารถนำมายื่นจดสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรได้
ยกตัวอย่าง: บริษัทเครื่องสำอางเเห่งหนึ่งพัฒนาสูตรครีมลดเลือนริ้วรอยที่มีส่วนผสมที่ประกอบด้วยสมุนไพรธรรมชาติในสูตรที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีการศึกษาวิจัยและทดลองทางคลินิกอย่างละเอียด ดังนั้นบริษัทดังกล่าวได้ระบุกระบวนการเจลอากาศและผสมสารสกัดเฉพาะเหล่านี้ ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นนวัตกรรมในการลดเลือนริ้วรอย ในกรณีที่กล่าวมาข้างต้นนี้ บริษัทสามารถยื่นขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรเพื่อปกป้อง
สูตร : การผสมสารสกัดและอัตราส่วนที่ทำให้ครีมลดเลือนริ้วรอยมีประสิทธิภาพ
กระบวนการผลิต : วิธีการสกัด กระบวนการผลิต และการผสมครีมอย่างเฉพาะเจาะจงที่ทำให้ได้คุณภาพและความเสถียร
ผลลัพธ์ที่ได้ : หากครีมมีผลลัพธ์ในการลดเลือนริ้วรอยที่เป็นนวัตกรรมและได้ผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายไว้ สิ่งนี้ยังสามารถถูกระบุในขอบเขตความคุ้มครองของสิทธิบัตรได้อีกด้วย
ดังนั้น การได้รับความคุ้มครองในสิทธิบัตรสำหรับสูตรเครื่องสำอางนั้น บริษัทจะได้รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายครีมลดเลือนริ้วรอยนี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง (โดยทั่วไปสิทธิบัตรจะมีอายุความคุ้มครองอยู่ที่ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร เเละ อนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด ยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปี) ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้บริษัทเจ้าอื่น ๆ ไม่สามารถผลิต ใช้ หรือจำหน่ายสูตรเดียวกันนี้ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งสิทธิบัตรเป็นสิทธิพิเศษที่จะสร้างความได้เปรียบในตลาดสำหรับผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ
![ภาพประกอบเนื้อหา อยากสร้างเเบรนด์เครื่องสำอาง ต้องจดสิทธิบัตรหรือไม่ ? 6795014 scaled](https://idgthailand.com/wp-content/uploads/2023/12/6795014-768x512.jpg)
ในส่วนของบรรจุภัณฑ์หากเป็นการออกแบบที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ โดยบรรจุภัณฑ์มีรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย หรือสีสันที่ไม่เหมือนใคร สามารถยื่นจดสิทธิบัตรการออกเเบบผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งสิทธิบัตรการออกเเบบผลิตภัณฑ์ จะคุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย รูปร่างภายนอก หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย) สิทธิบัตรการออกเเบบผลิตภัณฑ์ มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
![ภาพประกอบเนื้อหา อยากสร้างเเบรนด์เครื่องสำอาง ต้องจดสิทธิบัตรหรือไม่ ? ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 1400 × 768 px 15](https://idgthailand.com/wp-content/uploads/2023/12/ก่อนซื้อแฟรนไชส์-1400-×-768-px-15-1024x562.png)
NOTE :
ก่อนยื่นคำขอสิทธิบัตร ควรทำการสืบค้นสิทธิบัตรอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าสูตรผลิตภัณฑ์ของคุณนั้นไม่ซ้ำกับผู้อื่น ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวเปิดเผยอยู่เเล้วในท้องตลาด และยังไม่มีผู้ใดยื่นจดสิทธิบัตรดังกล่าวไปแล้ว การสืบค้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่และช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิบัตรได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของคุณนั้นได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุมที่สุด
ประโยชน์จากการจดทะเบียนสิทธิบัตร
– สิทธิในการครอบครองตลาดเเต่เพียงผู้เดียว
สิทธิบัตรให้ข้อดีในการแข่งขันด้านการตลาด คือ การมอบสิทธิในการใช้งานเพียงผู้เดียวบริษัทจะได้รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมานี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยในช่วงเวลานี้ บริษัทเจ้าอื่น ๆ จะไม่สามารถผลิต ใช้ หรือจำหน่ายสูตรเดียวกันได้
– เพิ่มมูลค่าของบริษัท
สูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท ทำให้มีความน่าสนใจต่อนักลงทุน คู่ค้า และผู้ซื้อที่สนใจในนวัตกกรมของคุณ
– การคุ้มครองทางกฎหมาย
สิทธิบัตรจะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดผลิตภัณฑ์ของคุณ หากพบว่ามีการละเมิด ลอกเลียนเเบบ สามารถดำเนินคดีทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
– เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
บริษัทสามารถให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรให้กับบริษัทอื่น ๆ ที่สนใจในนวัตกรรมของคุณได้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกช่องทางหนึ่ง
(สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร คือ สัญญาที่ผู้ให้สิทธิ ได้ให้สิทธิเฉพาะอย่างแก่ผู้ขอใช้สิทธิ โดยอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่เกินอายุความคุ้มครอง)
“นอกจากการจดสิทธิบัตรเเล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมานั้นยังสามารถขึ้นทะเบียน อย. เพื่อเป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ สร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ของเรานั้นได้มีการรับรองความปลอดภัย ตามเกณฑ์ของ อย. เเละส่วนของชื่อเเบรนด์ โลโก้ ตราสินค้าก็ยังสามารถยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองมิให้บุคคลอื่นนำชื่อเเบรนด์ของเราไปใช้โดยไม่ได้รับการอนุญาต”
สำหรับคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงและรายละเอียดต่าง ๆ นั้น ควรปรึกษากับทนายความหรือตัวแทนสิทธิบัตรที่เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถให้คำปรึกษาหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของคุณได้รับการยื่นจดทะเบียนที่ครอบคลุม เเละสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับธุรกิจของคุณได้
โดย IDG ยินดีให้คำปรึกษา วางแผน และให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจรให้ธุรกิจคุณ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา รับคำปรึกษาเบื้องต้นจากเรา ฟรี!
หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน
โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร
E-Mail: [email protected]
Line: @idgthailand