OUR BLOG

“หุ่นยนต์” ผลผลิตแห่งการพัฒนาสู่โลกอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“หุ่นยนต์” สู่โลกอนาคต

บทบาทและอนาคตหุ่นยนต์ในปี 2025

หุ่นยนต์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราไปแล้ว โลกอนาคตขยับเข้ามาเร็วขึ้น เห็นได้จากเทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่รวดเร็วของผู้คนในปัจจุบัน ตั้งแต่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ไปจนถึงแขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม และด้วยการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของ AI และ Machine Learning ส่งผลให้ปี 2025 และหลังจากนี้หุ่นยนต์จะสามารถคิดวิเคราะห์ และโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น อีกทั้งยังเข้ามามีบทบาทในแทบทุกอุตสาหกรรมอย่างการแพทย์ การขนส่ง หรือการดูแลผู้สูงอายุ

วิวัฒนาการของ ‘หุ่นยนต์’

จุดเริ่มต้นของหุ่นยนต์อย่าง ‘Unimate’ ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 โดย George Devol และ Joseph Engelberger เพื่อใช้หยิบจับ ยกของหนัก หรือเชื่อมโลหะ ตามคำสั่งหรือโปรแกรมที่ได้ติดตั้งไว้ อันเป็นการช่วยลดอันตราย และข้อผิดพลาดในสายการผลิตจริง

ต่อมาในปี 1972 Charles Rosen และทีมงานที่ Stanford Research Institute ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่สามารถเรียนรู้และตัดสินใจเองได้อย่าง ‘Shakey’ โดยมันสามารถเคลื่อนที่ และรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวมันได้ด้วย AI หุ่นยนต์เริ่มเข้าใกล้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในปี 2002 กับการเปิดตัวของ ‘Roomba’ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติที่สามารถเคลื่อนที่ และทำความสะอาดได้เองโดยใช้เซนเซอร์และ AI ช่วยนำทาง และได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับเทรนด์การใช้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วโลกนับแต่นั้นมา

ในปี 2016 ‘Sophia’ ได้ปรากฏตัวขึ้นในฐานะของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ พัฒนาโดย Hanson Robotics โดยสามารถเรียนรู้พฤติกรรม และตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ผ่านใบหน้า สร้างความสนใจให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก

อาจกล่าวได้ว่า ‘หุ่นยนต์’ เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในวงจรชีวิตของเรา ในขณะเดียวกันมันกำลังพาเราไปสู่อนาคตแห่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทบางอย่างของมนุษย์ที่เราควรจะต้องทำความเข้าใจ และยอมรับว่าการมีอยู่ของมันสามารถเพิ่ม Productivity ให้เกิดขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมได้เช่นกัน

บทบาทของ ‘หุ่นยนต์’ ในอุตสาหกรรมปี 2025

‘หุ่นยนต์’ เริ่มถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่ม Productivity และลดต้นทุนแรงงาน โดยอุตสาหกรรมที่นำหุ่นยนต์ไปใช้มีมากมาย แต่จะขอพูดถึงอุตสาหกรรมหลัก ๆ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์: Tesla ใช้หุ่นยนต์แขนกลจาก KUKA และ ABB ในสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น การประกอบโครงสร้าง การเชื่อมตัวถัง และการทาสี เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดข้อผิดพลาด นอกจากนี้ในขณะที่ตลาด E-commerce กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว Amazon ได้สร้างระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ โดยใช้หุ่นยนต์ AGV (Autonomous Guided Vehicles) เช่น Proteus และ Kiva Robots ในคลังสินค้าเพื่อช่วยในการคัดแยก และขนย้ายพัสดุ ซึ่งช่วยลดเวลาจัดการคำสั่งซื้อ และเพิ่มความเร็วในการจัดส่ง
2. อุตสาหกรรมการแพทย์: ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่คนไทยเข้ามามีบทบาทจากการพัฒนาหุ่นยนต์ในช่วง โควิด-19 ที่ผ่านมา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะศิษย์เก่าจุฬาฯ จัดตั้งเป็นบริษัท Startup ภายใต้ชื่อบริษัท HG Robotics และบริษัท Obodroid ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า ปิ่นโต เพื่อใช้ขนส่งยา และเวชภัณฑ์ภายในโรงพยาบาล ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และลดการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อ และยังมีน้อง ดินสอ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุเสมือนคู่หูยามฉุกเฉินที่พัฒนาโดย CT Asia Robotics อีกด้วย
3. อุตสาหกรรมการเกษตรและบริการ: วิทยาการหุ่นยนต์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้การทำงานของเกษตรกรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น FarmBot และ DJI Agras หุ่นยนต์ช่วยปลูกพืช พ่นยาฆ่าแมลง และดูแลฟาร์ม โดยสามารถควบคุมผ่าน AI และแอปพลิเคชัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบริการก็ทำให้เราได้ใกล้ชิดหุ่นยนต์มากขึ้นในร้านอาหาร อย่าง BellaBot หุ่นยนต์แมวน้อยเสิร์ฟอาหารที่ใช้ในร้านสุกี้ตี๋น้อย หรือแม้แต่ร้านอาหารชั้นนำในห้างสรรพสินค้าอย่าง MK และ Yayoi ก็ยังตัดสินใจลงทุนกับ Delivery Robot เพื่อช่วยให้การบริการของพนักงานในร้านเป็นไปอย่างราบรื่น

‘หุ่นยนต์’ ส่งผลกระทบต่อแรงงานอย่างไร

เนื่องจากหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่ม Productivity ให้กับหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้การทำงานซ้ำ ๆ ที่สิ้นเปลืองแรงงาน หรืองานอันตรายที่ไม่ควรเอาชีวิตไปเสี่ยงก็ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการอาจเลือกลงทุนกับหุ่นยนต์เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับพวกเขาได้ในระยะยาวเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นแรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ งานที่เสี่ยงอันตราย หรืองานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำสูงก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณจะถูกหุ่นยนต์แทนที่ได้แบบ 100% เช่นนั้นแล้วแรงงานจะต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกับ AI และหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ผ่านซอฟต์แวร์ หรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์อัตโนมัติ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยอมถอยให้กับหุ่นยนต์ไปซะทีเดียว แต่มันหมายความว่าคุณอาจจะต้องเพิ่มทักษะบางอย่างที่เหนือกว่า และยากจะมีใครแทนที่ นั่นก็คือทักษะดังต่อไปนี้

  • ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) – เนื่องจากหุ่นยนต์ยังขาดความสามารถในการตีความบริบทเชิงลึก หรือความสามารถในการพลิกแพลงสถานการณ์ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) – แม้ในตอนนี้เราจะเห็น AI สามารถสร้างงานศิลปะได้หลายรูปแบบ ทว่าจุดกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์ของมันก็ยังได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานของมนุษย์ หากเราเป็นผู้ริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา พนันได้เลยว่า AI หรือหุ่นยนต์หน้าไหนก็สู้คุณไม่ได้
  • ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และอารมณ์ (Emotional Intelligence) – แม้หุ่นยนต์บางตัวจะสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกโต้ตอบกับเราได้ แต่เชื่อเถอะว่าอารมณ์ของมนุษย์เรายากแท้หยั่งถึง ความสามารถในการอ่านบรรยากาศในวงสนทนา หรือการใช้ภาษากายในการสื่ออารมณ์คงไม่มีใครทำได้ดีไปกว่าจิตใต้สำนึกของมนุษย์อีกแล้ว
    สรุปได้ว่าความสะดวกสบายในการทำงานด้วยหุ่นยนต์ และ AI อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป จงอย่าให้ การมีอยู่ของหุ่นยนต์ทำให้ Productivity ของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับความเฉื่อยชาของเรา

หากไม่อยากให้หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ลองสำรวจตัวเองว่าตอนนี้มีทักษะอะไรที่ยังเอาชนะมันไม่ได้บ้าง และจงเลือกที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มทักษะเหล่านั้นซะ

บทสรุปอนาคตของ ‘หุ่นยนต์’

หุ่นยนต์จะเปลี่ยนแปลงโลกในทุกอุตสาหกรรม แม้ในตอนนี้หุ่นยนต์จะยังทำงานตามโปรแกรมที่ติดตั้งไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้า AI จะพลิกโฉมให้หุ่นยนต์ใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์มากที่สุด ในอนาคตการบูรณาการ AI, IoT และ Cloud Computing จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้แบบเรียลไทม์ ผ่านข้อมูลที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud ซึ่งช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ขณะที่ Nvidia และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกอย่าง Tesla, Amazon และ OpenAI ได้ร่วมลงทุนเพื่อหวังจะเปลี่ยนให้ ‘หุ่นยนต์’ ในภาพยนตร์เป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง โดย Rev Lebaredian, Vice President of Omniverse and Simulation Technology ของ Nvidia ได้กล่าวว่า “ส่วนที่ขาดหายไปในการสร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานทั่วไป (General Purpose) ก็คือสมองที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-powered brain)” ไม่แน่ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์ที่มี Movement คล้ายมนุษย์ และสามารถทำงานที่ปกติแล้วเป็นงานของมนุษย์ได้ เช่น การช่วยงานในบ้าน การเติมสต๊อกสินค้าบนเชลฟ์ หรือแม้แต่การทำงานในออฟฟิศ ถือเป็นการตั้งเป้าหมายปฏิวัติวงการหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับ AI ครั้งสำคัญเลยก็ว่าได้

ดังนั้น AI จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของหุ่นยนต์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้ว่าการพัฒนาดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความท้าทาย เช่น การแทนที่แรงงานมนุษย์ หรือคำถามด้านความปลอดภัยของ AI ตามมาในภายหลัง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าศักยภาพของหุ่นยนต์ในปี 2025 โดยเฉพาะการพัฒนาการทำงานร่วมกับ AI ทำให้เราเห็นถึงอนาคตอันใกล้ว่ามนุษย์ และหุ่นยนต์จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุล และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องของสิทธิความเป็นเจ้าของ และการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยสิ่งที่ช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของดังกล่าวนี้ได้อย่างชัดเจน และถูกต้องที่สุดก็คือ การจดสิทธิบัตร เพื่อปกป้องนวัตกรรมอันล้ำค่าให้เป็นของเรา ดังนั้นหากคุณมีไอเดียด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และอยากปกป้องนวัตกรรมของคุณในประเทศไทย ไปจนถึงในระดับสากล IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจดสิทธิบัตรที่จะช่วยให้ผลงานของคุณได้รับความคุ้มครองแบบครบจบในที่เดียว ปรึกษาเจ้าหน้าที่ตอนนี้เพื่อให้เราช่วยให้คำแนะนำได้เลย ไม่มีค่าใช้จ่าย!

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

อีเมล: [email protected]

โทร.: 02-011-7161 ถึง 6

Line: @idgthailand

Facebook: IDGThailand

Facebook
Twitter
LinkedIn
“หุ่นยนต์” สู่โลกอนาคต

บทบาทและอนาคตหุ่นยนต์ในปี 2025

หุ่นยนต์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราไปแล้ว โลกอนาคตขยับเข้ามาเร็วขึ้น เห็นได้จากเทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่รวดเร็วของผู้คนในปัจจุบัน ตั้งแต่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ไปจนถึงแขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม และด้วยการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของ AI และ Machine Learning ส่งผลให้ปี 2025 และหลังจากนี้หุ่นยนต์จะสามารถคิดวิเคราะห์ และโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น อีกทั้งยังเข้ามามีบทบาทในแทบทุกอุตสาหกรรมอย่างการแพทย์ การขนส่ง หรือการดูแลผู้สูงอายุ

วิวัฒนาการของ ‘หุ่นยนต์’

จุดเริ่มต้นของหุ่นยนต์อย่าง ‘Unimate’ ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 โดย George Devol และ Joseph Engelberger เพื่อใช้หยิบจับ ยกของหนัก หรือเชื่อมโลหะ ตามคำสั่งหรือโปรแกรมที่ได้ติดตั้งไว้ อันเป็นการช่วยลดอันตราย และข้อผิดพลาดในสายการผลิตจริง

ต่อมาในปี 1972 Charles Rosen และทีมงานที่ Stanford Research Institute ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่สามารถเรียนรู้และตัดสินใจเองได้อย่าง ‘Shakey’ โดยมันสามารถเคลื่อนที่ และรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวมันได้ด้วย AI หุ่นยนต์เริ่มเข้าใกล้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในปี 2002 กับการเปิดตัวของ ‘Roomba’ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติที่สามารถเคลื่อนที่ และทำความสะอาดได้เองโดยใช้เซนเซอร์และ AI ช่วยนำทาง และได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับเทรนด์การใช้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั่วโลกนับแต่นั้นมา

ในปี 2016 ‘Sophia’ ได้ปรากฏตัวขึ้นในฐานะของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ พัฒนาโดย Hanson Robotics โดยสามารถเรียนรู้พฤติกรรม และตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ผ่านใบหน้า สร้างความสนใจให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก

อาจกล่าวได้ว่า ‘หุ่นยนต์’ เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในวงจรชีวิตของเรา ในขณะเดียวกันมันกำลังพาเราไปสู่อนาคตแห่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทบางอย่างของมนุษย์ที่เราควรจะต้องทำความเข้าใจ และยอมรับว่าการมีอยู่ของมันสามารถเพิ่ม Productivity ให้เกิดขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมได้เช่นกัน

บทบาทของ ‘หุ่นยนต์’ ในอุตสาหกรรมปี 2025

‘หุ่นยนต์’ เริ่มถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่ม Productivity และลดต้นทุนแรงงาน โดยอุตสาหกรรมที่นำหุ่นยนต์ไปใช้มีมากมาย แต่จะขอพูดถึงอุตสาหกรรมหลัก ๆ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์: Tesla ใช้หุ่นยนต์แขนกลจาก KUKA และ ABB ในสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น การประกอบโครงสร้าง การเชื่อมตัวถัง และการทาสี เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดข้อผิดพลาด นอกจากนี้ในขณะที่ตลาด E-commerce กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว Amazon ได้สร้างระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ โดยใช้หุ่นยนต์ AGV (Autonomous Guided Vehicles) เช่น Proteus และ Kiva Robots ในคลังสินค้าเพื่อช่วยในการคัดแยก และขนย้ายพัสดุ ซึ่งช่วยลดเวลาจัดการคำสั่งซื้อ และเพิ่มความเร็วในการจัดส่ง
2. อุตสาหกรรมการแพทย์: ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่คนไทยเข้ามามีบทบาทจากการพัฒนาหุ่นยนต์ในช่วง โควิด-19 ที่ผ่านมา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะศิษย์เก่าจุฬาฯ จัดตั้งเป็นบริษัท Startup ภายใต้ชื่อบริษัท HG Robotics และบริษัท Obodroid ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า ปิ่นโต เพื่อใช้ขนส่งยา และเวชภัณฑ์ภายในโรงพยาบาล ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และลดการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อ และยังมีน้อง ดินสอ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุเสมือนคู่หูยามฉุกเฉินที่พัฒนาโดย CT Asia Robotics อีกด้วย
3. อุตสาหกรรมการเกษตรและบริการ: วิทยาการหุ่นยนต์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้การทำงานของเกษตรกรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น FarmBot และ DJI Agras หุ่นยนต์ช่วยปลูกพืช พ่นยาฆ่าแมลง และดูแลฟาร์ม โดยสามารถควบคุมผ่าน AI และแอปพลิเคชัน ในขณะที่อุตสาหกรรมบริการก็ทำให้เราได้ใกล้ชิดหุ่นยนต์มากขึ้นในร้านอาหาร อย่าง BellaBot หุ่นยนต์แมวน้อยเสิร์ฟอาหารที่ใช้ในร้านสุกี้ตี๋น้อย หรือแม้แต่ร้านอาหารชั้นนำในห้างสรรพสินค้าอย่าง MK และ Yayoi ก็ยังตัดสินใจลงทุนกับ Delivery Robot เพื่อช่วยให้การบริการของพนักงานในร้านเป็นไปอย่างราบรื่น

‘หุ่นยนต์’ ส่งผลกระทบต่อแรงงานอย่างไร

เนื่องจากหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่ม Productivity ให้กับหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้การทำงานซ้ำ ๆ ที่สิ้นเปลืองแรงงาน หรืองานอันตรายที่ไม่ควรเอาชีวิตไปเสี่ยงก็ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการอาจเลือกลงทุนกับหุ่นยนต์เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับพวกเขาได้ในระยะยาวเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นแรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ งานที่เสี่ยงอันตราย หรืองานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำสูงก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณจะถูกหุ่นยนต์แทนที่ได้แบบ 100% เช่นนั้นแล้วแรงงานจะต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกับ AI และหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ผ่านซอฟต์แวร์ หรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์อัตโนมัติ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยอมถอยให้กับหุ่นยนต์ไปซะทีเดียว แต่มันหมายความว่าคุณอาจจะต้องเพิ่มทักษะบางอย่างที่เหนือกว่า และยากจะมีใครแทนที่ นั่นก็คือทักษะดังต่อไปนี้

  • ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) – เนื่องจากหุ่นยนต์ยังขาดความสามารถในการตีความบริบทเชิงลึก หรือความสามารถในการพลิกแพลงสถานการณ์ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) – แม้ในตอนนี้เราจะเห็น AI สามารถสร้างงานศิลปะได้หลายรูปแบบ ทว่าจุดกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์ของมันก็ยังได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานของมนุษย์ หากเราเป็นผู้ริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา พนันได้เลยว่า AI หรือหุ่นยนต์หน้าไหนก็สู้คุณไม่ได้
  • ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และอารมณ์ (Emotional Intelligence) – แม้หุ่นยนต์บางตัวจะสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกโต้ตอบกับเราได้ แต่เชื่อเถอะว่าอารมณ์ของมนุษย์เรายากแท้หยั่งถึง ความสามารถในการอ่านบรรยากาศในวงสนทนา หรือการใช้ภาษากายในการสื่ออารมณ์คงไม่มีใครทำได้ดีไปกว่าจิตใต้สำนึกของมนุษย์อีกแล้ว
    สรุปได้ว่าความสะดวกสบายในการทำงานด้วยหุ่นยนต์ และ AI อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป จงอย่าให้ การมีอยู่ของหุ่นยนต์ทำให้ Productivity ของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับความเฉื่อยชาของเรา

หากไม่อยากให้หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ลองสำรวจตัวเองว่าตอนนี้มีทักษะอะไรที่ยังเอาชนะมันไม่ได้บ้าง และจงเลือกที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มทักษะเหล่านั้นซะ

บทสรุปอนาคตของ ‘หุ่นยนต์’

หุ่นยนต์จะเปลี่ยนแปลงโลกในทุกอุตสาหกรรม แม้ในตอนนี้หุ่นยนต์จะยังทำงานตามโปรแกรมที่ติดตั้งไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้า AI จะพลิกโฉมให้หุ่นยนต์ใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์มากที่สุด ในอนาคตการบูรณาการ AI, IoT และ Cloud Computing จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้แบบเรียลไทม์ ผ่านข้อมูลที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud ซึ่งช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ขณะที่ Nvidia และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกอย่าง Tesla, Amazon และ OpenAI ได้ร่วมลงทุนเพื่อหวังจะเปลี่ยนให้ ‘หุ่นยนต์’ ในภาพยนตร์เป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง โดย Rev Lebaredian, Vice President of Omniverse and Simulation Technology ของ Nvidia ได้กล่าวว่า “ส่วนที่ขาดหายไปในการสร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานทั่วไป (General Purpose) ก็คือสมองที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-powered brain)” ไม่แน่ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์ที่มี Movement คล้ายมนุษย์ และสามารถทำงานที่ปกติแล้วเป็นงานของมนุษย์ได้ เช่น การช่วยงานในบ้าน การเติมสต๊อกสินค้าบนเชลฟ์ หรือแม้แต่การทำงานในออฟฟิศ ถือเป็นการตั้งเป้าหมายปฏิวัติวงการหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับ AI ครั้งสำคัญเลยก็ว่าได้

ดังนั้น AI จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของหุ่นยนต์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้ว่าการพัฒนาดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความท้าทาย เช่น การแทนที่แรงงานมนุษย์ หรือคำถามด้านความปลอดภัยของ AI ตามมาในภายหลัง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าศักยภาพของหุ่นยนต์ในปี 2025 โดยเฉพาะการพัฒนาการทำงานร่วมกับ AI ทำให้เราเห็นถึงอนาคตอันใกล้ว่ามนุษย์ และหุ่นยนต์จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุล และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องของสิทธิความเป็นเจ้าของ และการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยสิ่งที่ช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของดังกล่าวนี้ได้อย่างชัดเจน และถูกต้องที่สุดก็คือ การจดสิทธิบัตร เพื่อปกป้องนวัตกรรมอันล้ำค่าให้เป็นของเรา ดังนั้นหากคุณมีไอเดียด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และอยากปกป้องนวัตกรรมของคุณในประเทศไทย ไปจนถึงในระดับสากล IDG มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจดสิทธิบัตรที่จะช่วยให้ผลงานของคุณได้รับความคุ้มครองแบบครบจบในที่เดียว ปรึกษาเจ้าหน้าที่ตอนนี้เพื่อให้เราช่วยให้คำแนะนำได้เลย ไม่มีค่าใช้จ่าย!

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

อีเมล: [email protected]

โทร.: 02-011-7161 ถึง 6

Line: @idgthailand

Facebook: IDGThailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ