เครื่องหมาย มอก. คืออะไร ? ใช้หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบอย่างไร
ในปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีความสำคัญมากขึ้นในการค้าทั้งภายในประเทศเเละระหว่างประเทศ โดยมีมาตรฐานมากกว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภท
ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนดีกว่า ว่ามอก. ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งคืออะไร?
มอก.เป็นคำย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ซึ่งจะต้องระบุอยู่บนตัวสินค้า มอก. มีส่วนประกอบดังนี้
– โลโก้ มอก.
– ลำดับที่ในการออกเลข มอก.
– ปี พ.ศ. ที่ออกเลข
สินค้าที่มีตรา มอก. คือ สินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา โดยแบ่งเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมเป็น 5 ประเภท คือ
- เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป
2.เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
- เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย
- เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
- เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
โดยหลักเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อขออนุญาต สมอ. มีด้วยกัน 2 หลักการ คือ
1.ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด
2.ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตประกอบด้วย
- การตรวจสอบสินค้าและเอกสารเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต
- การตรวจติดตามภายหลังออกใบอนุญาต
ณ ตอนนี้ทางสมอ. มีการออกใบอนุญาต 2 ประเภท
1.การอนุญาตทั่วไป :
1.1 การให้อนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ตามมาตรา 16 (ใบอนุญาตแสดง มาตรฐานทั่วไป)
1.2. การให้อนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ตามมาตรา 20 (ใบขอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ตามาตรฐานบังคับ)
1.3. การให้อนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ตามมาตรา 21(ใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานบังคับ)
2.การอนุญาตเฉพาะครั้ง : เป็นการอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 21 สำหรับการประกอบกิจการนำเข้าเฉพาะครั้ง (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้ง) ใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้งมีเพียงบางมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตกำหนด
เอกสารประกอบการยื่นขอใช้เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม มีดังนี้
- ชื่อผลิตภัณฑ์
- รูปถ่ายผลิตภัณฑ์
- คู่มือการใช้
- รายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Specification)
- วัตถุประสงค์การใช้
- พิกัดสินค้า (HS. code)
- เอกสารรับรองมาตรฐานการผลิต (ISO 9001, GMP)
- เอกสารรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
เป็นไรอย่างกันบ้างครับ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาบอกกล่าวทุกคนในครั้งนี้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อหลายๆท่านมากเลยใช่ไหมครับ ท่านใดที่ต้องการจำหน่ายสินค้าที่เข้าข่ายว่าต้องมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมาย มอก. เครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดเเจ้งเครื่องสำอาง ควรนำมาจดทะเบียนต่างๆให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า เเละเป้นการรับรองคุณภาพของสินค้าเราอีกด้วย
IDG เราให้บริการขึ้นทะเบียน อย. รวมถึง การขออนุญาต สมอ. ประเภทเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เเละเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เราพร้อมช่วยเหลือทุกขั้นตอน เพื่อไม่ให้ท่านเสียเวลา และ ลดความยุ่งยาก และเรายัง ให้คำปรึกษา ฟรี ! อีกด้วย
ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนอย. (FDA) โดยตรงได้ที่
โทร: 02-011-7161 ถึง 102
E-Mail: fda@idgthailand.com
Line : @idgthailand