มีผู้ประกอบการหลายคนอาจสงสัย ว่าเปิดบริษัทแล้วต้องทำอะไรต่อ มีภาษีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง ต้องหัก
ณ ที่จ่ายไหม ยื่นภาษีวันไหน วันนี้เรามาสรุปสิ่งที่ต้องทำหลังจากจดเป็นบริษัทแล้ว ดังนี้ค่ะ
1.ให้ดูว่าบริษัทมีการจ่ายค่าบริการเหล่านี้หรือไม่ เช่น ค่าบริการ ค่าเช่า ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา
ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ถ้ามีการจ่ายค่าบริการเหล่านี้ “ต้อง หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีทุกครั้ง”
นำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังนี้
– ค่าบริการ 3%
– ค่าเช่าอัตรา 5%
– ค่าจ้างทำของ 3%
– ค่าโฆษณา 2%
– ค่าขนส่ง 1%
– ค่าประกันภัย 1%
สำหรับยอดมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ทางกรมสรรพากรกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แต่ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท แต่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าโทรศัพท์รายเดือน ค่าอินเทอร์เน็ต
ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท
2.บริษัทมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ (ถ้ารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านต่อปี
ก็ยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้) แต่ถ้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งภาษีด้วยแบบ
ภพ.30 ทุกเดือน ถึงแม้จะไม่มีรายได้ก็ต้องยื่นแบบภาษี ทุกเดือนและนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15
ของเดือนถัดไป
3.บริษัทมีประกันสังคมหรือไม่ ถ้ามีลูกจ้าง 1
คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคมและนำส่งประกันสังคมด้วยแบบสปส.1-10
ทุกเดือน ยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
4.จัดทำบัญชี ปิดงบการเงิน โดยหาสำนักงานบัญชีเพื่อจัดทำบัญชี ปิดงบการเงิน และยื่นภาษีให้
(ภาษีประจำปีที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี)