ซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีอะไรกันนะ ?
พูดได้เลยว่า ในความเป็นจริงแล้ว ใครที่ไม่ได้อยู่ในวงการบัญชี ก็คงไม่คุ้นหูกับคำว่า “ภ.พ. 36” อย่างแน่นอน สิ่งนี้มันคืออะไรกันนะ ? แล้วเกี่ยวอะไรกับการซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศด้วยล่ะ ?
เหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เลย เพราะยังมีอีกหลายคน ที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เหตุเพราะไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ. 36 นั่นเอง .. ดังนั้น รู้ก่อนได้เปรียบนะคะ
ภ.พ. 36 ก็คือ แบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งผู้ที่จ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการ จะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% แทนผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ประกอบกิจการในต่างประเทศนั่นเอง
แแล้วใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.พ.36 ?
- ผู้จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งได้มีการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการในประเทศไทยชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ จะเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย
- ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือบริการที่ได้ขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงศุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือบริการดังกล่าวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- ผู้ทอดตลาดที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด
** ผู้จ่ายจะต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ตัวอย่าง
บริษัท กานดา จำกัด จ่ายค่าโฆษณาให้กับ Google บริษัทก็มีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทน Google ด้วยแบบ ภ.พ. 36 ซึ่งถ้าผู้ประกอบการบางท่านที่ไม่ทราบว่าต้องยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทน Google ด้วย ก็จะโดนปรับต้องเสียภาษีย้อนหลังเมื่อโดนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตรวจสอบ !!
ท่านสามารถ Download แบบฟอร์ม ภ.พ.36 ได้ที่นี่
IDG บริการรับทำบัญชีและภาษี ให้คำแนะนำพื้นฐานทางด้านการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและภาษี
สอบถามเพิ่มเติม Click !