ใครว่าคำสามัญนำมาใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าไม่ได้ !!?
เครื่องหมายการค้าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผู้ประกอบธุรกิจสร้างความแตกต่างกับสินค้า ถ้าเป็นเครื่องหมายการค้าที่โดดเด่น น่าจดจำ จะยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างความสำเร็จในธุรกิจได้ เครื่องหมายการค้า จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคิดให้ดี
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้ตามกฎหมายจะต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่นที่ได้รับจดทะเบียนอยู่ก่อน แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำสามัญ ก็อาจนำมาจดทะเบียนได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเล็กน้อย
โดยหลัก การนำคำสามัญมาใช้กับสินค้าที่มักจะใช้คำนั้นเรียกตัวสินค้าเอง เช่น แอสไพรินสำหรับสินค้ายาแก้ปวด หรือ โคล่า สำหรับสินค้าจำพวกน้ำอัดลม เครื่องหมายที่ใช้คำเหล่านี้จะไม่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ และมีโอกาสสูงที่จะไม่ได้รับจดทะเบียน แต่ในทางปฏิบัติก็มีวิธีการรับมือกับปัญหาการนำคำสามัญมาใช้ โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนสละสิทธิที่จะเป็นเจ้าของส่วนหรือคำที่เป็นคำสามัญนั้นแต่เพียงผู้เดียว
ในทางกลับกัน หากนำคำสามัญสำหรับสินค้าบางประเภท เช่น ลูกท้อ ซึ่งหากใช้กับผลไม้ย่อมเป็นคำสามัญ แต่เมื่อไปใช้กับสินค้ายาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นนี้ ย่อมไม่ถือเป็นคำสามัญอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามความในมาตรา 7 จึงไม่จำเป็นต้องสละสิทธิแต่อย่างใด
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้ตามกฎหมายจะต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่นที่ได้รับจดทะเบียนอยู่ก่อน แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำสามัญ ก็อาจนำมาจดทะเบียนได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเล็กน้อย
โดยหลัก การนำคำสามัญมาใช้กับสินค้าที่มักจะใช้คำนั้นเรียกตัวสินค้าเอง เช่น แอสไพรินสำหรับสินค้ายาแก้ปวด หรือ โคล่า สำหรับสินค้าจำพวกน้ำอัดลม เครื่องหมายที่ใช้คำเหล่านี้จะไม่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ และมีโอกาสสูงที่จะไม่ได้รับจดทะเบียน แต่ในทางปฏิบัติก็มีวิธีการรับมือกับปัญหาการนำคำสามัญมาใช้ โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนสละสิทธิที่จะเป็นเจ้าของส่วนหรือคำที่เป็นคำสามัญนั้นแต่เพียงผู้เดียว
ในทางกลับกัน หากนำคำสามัญสำหรับสินค้าบางประเภท เช่น ลูกท้อ ซึ่งหากใช้กับผลไม้ย่อมเป็นคำสามัญ แต่เมื่อไปใช้กับสินค้ายาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นนี้ ย่อมไม่ถือเป็นคำสามัญอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามความในมาตรา 7 จึงไม่จำเป็นต้องสละสิทธิแต่อย่างใด