OUR BLOG

“กฎหมายลิขสิทธิ์” ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว

 “กฎหมายลิขสิทธิ์” ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว

     ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่เริ่มมีผลใช้บังคับแล้ว เพิ่มความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้ให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลและเพื่อเตรียมตัวในการที่ไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

  •  เพิ่มอายุการคุ้มครองงานภาพถ่าย
          จากเดิมที่คุ้มครองเพียงแค่ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น หรือ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก เป็นให้ความคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และขยายความคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
  • เพิ่มความคุ้มครองแก่งานลิขสิทธิ์ที่ปรากฎบนสื่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบ Notice and takedown
            หากเจ้าของลิขสิทธิ์เห็นว่ามีผู้ละเมิดงานลิขสิทธิ์ของตนบนอินเทอร์เน็ต สามารถแจ้งต่อผู้ให้บริการ โดยทำเป็นหนังสือแจ้งเตือนเพื่อให้นำงานของตนออกจากระบบได้ทันที และผู้ให้บริการก็สามารถนำเอาข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกจากระบบได้ทันทีเช่นกัน โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาลเหมือนอย่างแต่ก่อน เพื่อยับยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าทันและรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลที่การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายบนสื่อออนไลน์เพื่อความเป็นธรรม กฎหมายก็ได้เปิดช่องให้ผู้ใช้บริการมีสิทธิโต้แย้งไปยังผู้ให้บริการว่าตนไม่ได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ และกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ที่แจ้งหรือโต้แย้งเท็จไปยังผู้ให้บริการอีกด้วย ในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
  • เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผู้ให้บริการ” และ“ผู้ใช้บริการ” เพื่อให้ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้นโดยจำแนกผู้ให้บริการออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
  1.   ผู้ให้บริการเป็นสื่อกลางส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต อย่าง TOT AIS TRUE เป็นต้น
  2.   ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการชั่วคราว เช่น Cloud เป็นต้น
  3.   ผู้ให้บริการรับฝากข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บไซต์ต่างๆ อย่าง Facebook Youtube เป็นต้น
  4.   ผู้ให้บริการสืบค้นแหล่งที่ตั้งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และ ผู้ใช้บริการให้หมายถึงผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการโดยไม่คำนึงว่ามีการเสียค่าใช้บริการหรือไม่
  •  เพิ่มข้อยกเว้นความรับผิดแก่ผู้ให้บริการ
    โดยกำหนดทั้งเงื่อนไขทั่วไปที่ใช้บังคับแก่ผู้ให้บริการทุกประเภท และเงื่อนไขเฉพาะของผู้ให้บริการแต่ละประเภทที่มีข้อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการให้บริการเงื่อนไขทั่วไป กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกประเภทมีการประกาศใช้ “มาตรการยกเลิกการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ซ้ำ” ถึงจะได้รับยกเว้นความรับผิด
    เงื่อนไขเฉพาะ กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการภายใต้เงื่อนไขต่างๆ อาทิเช่น มีการเก็บหรือส่งผ่านข้อมูลผ่านกระบวนการทางเทคนิคที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ, ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของข้อมูล, ไม่มีการรับผลประโยชน์ทางการเงินจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ตนมีสิทธิควบคุมการกระทำละเมิดนั้น และการจัดให้มีช่องทางเพื่อรับแจ้งและติดต่อถผู้ให้บริการได้โดยง่าย เป็นต้น
    •  เพิ่มเติมบทนิยาม “มาตรการทางเทคโนโลยี” และการกระทำที่เป็นละเมิด

โดยกำหนดนิยามของมาตรการทางเทคโนโลยี ให้หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หรือใช้ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ หรือสิ่งบันทึกการแสดง เช่น การใส่รหัสผ่าน, การจำกัดการเข้าถึง และการป้องกันการทำซ้ำ เป็นต้น

อีกทั้งยังกำหนดให้ การกระทำที่ทำให้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมการเข้าถึงนั้นไม่เกิดผล รวมถึงการผลิต จำหน่ายแจกจ่ายซึ่งสิ่งที่ทำให้มาตรการทางเทคโนโลยีนั้นไม่เกิดผล เป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีอีกด้วย เช่น การถอดรหัส การแฮกข้อมูล เป็นต้น

ผู้กระทำละเมิดนับว่ามีความผิดทางอาญา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และในกรณีเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำละเมิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะนำไปสู่การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ในประเทศอื่นๆที่เป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเช่นกัน และยังช่วยส่งเสริมอุตสหากรรมดิจิทัลคอนเทนต์อีกด้วย

 

IDG เรามีทีมทนายความผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาทางด้านลขิสิทธิ์

สอบถามบริการหรือข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-011-7161 ต่อ 106 – 107 หรือ LINE: @idgthailand

Source:

https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/013/T_0001.PDF

https://www.senate.go.th/document/Lawdraft/Ext5/5031_0001.PDF

http://www.ipthailand.go.th/en/dip-law-2/item/description_copyright.html

https://www.zicolaw.com/resources/alerts/thailand-amendments-to-the-copyright-act-coming-into-force/

 

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ