OUR BLOG

วัคซีน COVID-19 ขาดแคลน การผ่อนปรนสิทธิบัตร จำเป็นไหม ?

วัคซีน COVID-19 ขาดแคลน การผ่อนปรนสิทธิบัตร จำเป็นไหม ?


        สถานการณ์ COVID-19 ตอนนี้ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากวัคซีนที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อประชากรทั่วโลก และการที่จะนำวัคซีนเข้ามาได้ องค์กรนั้น ๆ จำเป็นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของวัคซีนเสียก่อน เพราะบริษัทผู้ผลิตวัคซีนแต่ละราย ได้มีการจดสิทธิบัตรเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิการผลิตวัคซีนนั่นเอง
         แต่เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ประเทศอินเดียและแอฟริกาใต้ได้มีการยื่นข้อเสนอต่อองค์การการค้าโลก อย่าง World Trade Organization (WTO) เกี่ยวกับการขอยกเว้นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS Waiver) ในเรื่องของวัคซีน COVID-19 เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่มีรายได้ต่ำ
         หลายคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า TRIPS Waiver คืออะไร ? เมื่อเราย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 นั้น ได้มี “ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า” เกิดขึ้น หรือ เป็นที่รู้จักกันในนาม TRIPS Agreement ซึ่งข้อตกลงนี้อยู่ภายใต้ WTO โดย TRIPS Agreement เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่ได้วางหลักเกณฑ์มาตรฐานของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และวางบรรทัดฐานเกี่ยวกับขอบเขตของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกือบทุกประเภท การบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศภาคีสมาชิก
         แต่เมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้หลายฝ่ายต้องการขอยกเว้นการบังคับใช้ TRIPS Agreement หรือเรียกว่า TRIPS Waiver โดย TRIPS Waiver คือการขอยกเว้นข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ การคุ้มครองข้อมูลความลับ สิทธิบัตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัย การบำบัดรักษา วัคซีน อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์การป้องกัน และกระบวนการผลิต สำหรับการป้องกันและรักษา COVID-19 เพื่อให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับ COVID-19 โดยที่ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และไม่ถือว่าเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงที่ COVID-19 กำลังระบาด และถ้ามาโฟกัสที่การผ่อนปรนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร หรือ Patent waiver ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่หลายฝ่ายมีความคิดเห็นที่ต่างกัน
ข้อดีของ Patent Waiver สำหรับการผลิตวัคซีน COVID-19

  • ช่วยให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเรียนรู้และผลิตวัคซีนได้เอง ส่งผลให้กระบวนการผลิตวัคซีนทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องรอการผลิตจากประเทศที่เป็นผู้คิดค้นวัคซีนเท่านั้น ในกรณีที่เจ้าของสิทธิบัตร (Patent holders) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัคซีน ไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก
  • ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถผลิตวัคซีนได้ในราคาที่ต่ำลง เพราะได้รับอนุญาตให้ผลิตได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออนุญาตใช้สิทธิบัตร

ข้อจำกัดของ Patent Waiver สำหรับการผลิตวัคซีน COVID-19

  • ทำลายกระบวนการสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าของสิทธิบัตร เพราะอาจทำให้เจ้าของสิทธิบัตรซึ่งเป็นบริษัทหรือบุคคลทั่วไป ไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินจากการใช้สิทธิบัตรนั้น ดังนั้นการที่ไม่ได้รับผลตอบแทนอาจทำให้แรงจูงใจในการพัฒนางานลดลงได้นั่นเอง ซึ่งอาจต้องมีหน่วยงานมาทำการซื้อสิทธิบัตรจากผู้ผลิตวัคซีนในปัจจุบัน จากนั้นจึงจะเผยแพร่ต่อผู้ผลิตรายอื่นทั่วโลก (ในกรณีที่ผู้ผลิตวัคซีนในปัจจุบันไม่ทำ Voluntary licensing หรือการอนุญาตให้ใช้สิทธิด้วยความเต็มใจของทั้งผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิและผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ)
  • ข้อมูลที่เปิดเผยในสิทธิบัตร ไม่มี know-how ทั้งเรื่องข้อแนะนำสำหรับการผลิต หรือที่มาของวัตถุดิบเป็นส่วนประกอบวัคซีน เหมือนเป็นเพียงการแจกสูตรยา จึงมีข้อกังวลตามมา ว่ากระบวนการผลิตที่ขาด know-how อาจทำให้วัคซีนที่ผลิตได้เกิดปัญหา เช่น ความปลอดภัยของการใช้งาน ประสิทธิภาพของวัคซีน และอาจรวมถึงการผลิตวัคซีนปลอมออกมา

        ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำ Patent Waiver นั้นมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดอยู่ ซึ่งสุดท้ายแล้วการทำ Patent Waiver จะได้รับการอนุมัติจาก WTO หรือไม่ ต้องติดตามการหารือเกี่ยวกับ TRIPS Waiver ของประเทศสมาชิกที่จะเกิดขึ้นในการประชุม WTO ครั้งที่ 12 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2021 นี้
        ประเด็นของการบังคับใช้สิทธิหรือความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักรู้ ซึ่งหากมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือลิขสิทธิ์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง IDG มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาและพร้อมเป็นที่ปรึกษาให้คุณ

สิทธิบัตรกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพัฒนาธุรกิจ

IDG มีความเชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจของคุณ

 ติดต่อเราเพื่อสอบถามรายละเอียด

ทีมวิเคราะห์สิทธิบัตร

Tel : 02-0117161 ต่อ 302

Line : @idgthailand

E-mail : [email protected]


Click here

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ