OUR BLOG

ชาวไทยยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามากแค่ไหน !?

ชาวไทยยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามากแค่ไหน !?

ทรัพย์สินทางปัญญานั้นแบ่งออกเป็นหลักๆแล้ว ก็คง ต้องเป็นเรื่องเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเพิ่มขึ้นในแทบทุกๆปีอย่างต่อเนื่องเราลองมาดูกันว่าตอนนี้ทั่วโลกมีทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละอย่างมากแค่ไหน

Intellectual property total application

ตามข้อมูลการรายงานของ WIPO (World Intellectual Property Organization) เฉพาะในปี 2013 นั้นได้รายงานไว้ว่า ทั่วโลกมีการยื่นจดสิทธิบัตร (Patent) ไปแล้วทั้งสิ้น 2.6 ล้านฉบับ (ปี 2012 มีการยื่นเพียง 2.3 ล้านฉบับ) อนุสิทธิบัตร (Utility model / Petty patent) ทั้งสิ้น 978,000 ส่วนเครื่องหมายการค้า (Trademark) มีการยื่นจดในปี 2013 ไปถึง 7 ล้านเครื่องหมายการค้า ส่วนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) มีทั้งสิ้น 1.2 ล้านฉบับ จำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นแสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมากทั่วโลก ซึ่งหากท่านผู้อ่านต้องการจะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สักฉบับหนึ่ง คงต้องคิดให้ดีและสืบค้นให้มั่นใจ ว่าสิทธิบัตรของท่านไปซ้ำกับใครหรือป่าวจากจำนวนสิทธิบัตรที่มีทั่วโลกนับล้านฉบับ

%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นนั้นทั้งเรื่องของสิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า เกินครึ่งนั้นมากจากฝั่งเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ดังเช่น กราฟด้านบนนั้น เฉพาะจีนประเทศเดียวก็มีการยื่นจดเครื่องหมายการค้าไว้ถึง 1,880,800 เครื่องหมาย

Utility model 1
%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2 low middle

ตามเกณฑ์ของ WIPO แล้วประเทศไทยนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Low- and Middle income countries ซึ่งประเทศไทยนั้นนับว่าเป็นประเทศที่มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้ามากที่สุดในกลุ่ม (ปี 2013)  โดยมีการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ปี 2013 สูงถึง 4,6097 เครื่องหมายและมีอนุสิทธิบัตรสูงถึง 1,609 ฉบับ ซึ่งนำหน้าประเทศในโซนอาเซียนอย่างเช่น เวียดนาม กัมพูชาและมาเลเซีย (ในส่วนสิทธิบัตรนั้นนับว่าใกล้เคียงกับเวียดนามมาก)

%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C
%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ตารางด้านบนนั้นเป็นการแสดงจำนวนการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2010 – 2013 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละประเภทนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ข้อมูลข้างต้นรวมไปถึงที่ต่างชาติเข้ามายื่นจดในประเทศไทยด้วยนะครับ)

ปัญหาหนึ่งที่หลายคนพูดถึงคือการดำเนินการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ค่อนข้างล่าช้า (บ้าง) อันนี้ก็ช่วยเหลือกันนะครับ จะเห็นว่าทางกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีงานในแต่ละปีจำนวนมาก ทำให้อาจล่าช้าไปบ้าง แต่หากผู้ที่ต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตร มีความรู้ที่ถูกต้องนั้นจะช่วยให้ลดภาระของกรมในส่วนนี้ไปได้มากทีเดียว หรือเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพเพื่อดำเนินการยื่นคำขอต่างๆก็ได้นั้นนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งทีเดียว

จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งมีการแข่งขันทางการค้ากันโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นจำนวนมาก น่าจะถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการไทยควรจะใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น ลองมองในธุรกิจหรืองานของตัวเองดูนะครับ อาจมีทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจของคุณและยังไม่ได้จดทะเบียนขอรับความคุ้มครองก็ได้นะครับ

ติดตามบทความดีดีและอ่านเพิ่มเติมในบทความอื่นๆได้นะครับ

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ