OUR BLOG

ผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่าง ขอคุ้มครองหรือมีทรัพย์สินทางปัญญาอะไรบ้าง

ทรัพย์สินทางปัญญาคืองานที่เราต้องปกป้องและดูแล
รู้ไหม ? สถิติการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ในประเทศไทย ประจำปี 2561 มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา จดเครื่องหมายการค้าซึ่งวันนี้ ไอดีจีจะขอนำข้อมูลและตัวเลขที่น่าสนใจมาวิเคราะห์และเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ ดังนี้
สติถิ จำนวนคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ในปี 2561
ปี 2561 มีการยื่นคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า (นับตามจำนวนคำขอ) รวม 47,246 คำขอ และนับตามจำนวนจำพวกรวม 62,451 จำพวก1 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีจำนวนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสูงเกิน 60,000 จำพวก และสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
trademark

กลุ่มสินค้าที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนสูงสุด
การจดเครื่องหายการค้า กลุ่มเครื่องหมายที่ยื่นคำขอสูงสุดคือ เครื่องหมายบริการ (จำพวก 35-45) จำนวน 15,217 คำขอ ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนสูงที่สุดได้แก่ กลุ่มเครื่องสำอาง ยา ผลิตภัณฑ์เคมี (จำพวก 1-5) มีการยื่นคำขอจดทะเบียนสูงถึง 13,908 คำขอ รองลงมาคือกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม ของหวาน (จำพวก 29-33) จำนวน 9,719 คำขอ และกลุ่มเครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ อาวุธ (จำพวก 7,9-13) จำนวน 4,675 คำขอ
03 1

ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสูงที่สุด
ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยสูงสุดในปี 2561 ได้แก่ ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) โดยมีคนไทยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศสูงถึง 28,138 คำขอ คิดเป็นร้อยละ 60 ของคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมดในปี 2561 (47,246 คำขอ)
04 1

จากข้อมูลสถิติข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนการคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้อัตราการเติบโตจะไม่ร้อนแรงมากนักเหมือนในบางประเทศ โดยกลุ่มสินค้าที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มเครื่องสำอาง ยา และผลิตภัณฑ์เคมี และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และที่สำคัญ จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการชาวไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามากขึ้น โดยในปี 2561 มีคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยคนไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 5,000 คำขอเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ข้อมูลดิบ: กรมทรัพย์สินทางปัญญา จาก www.ipthailand.go.th/th/trademark-010.html
โดย ไอดีจีเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรมที่สามารถออกแบบ ปกป้อง และให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราสามารถให้บริการคุณในเรื่องต่อไปนี้
การสร้างแบรนด์ พร้อมด้วยการยื่นจดเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่
ร่างและยื่นจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์และงานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
วิเคราะห์เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆโดยการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรทั่วโลก
บริการของเราเหมาะกับใครบ้าง
ผู้ประกอบการ ที่ต้องการสร้างแบรนด์และเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าเพื่อปกป้องไอเดียธุรกิจหลักล้าน
วิศวกร / นักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการปกป้องงานประดิษฐ์ของตัวเองด้วยการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตร
จ้าของลิขสิทธิ์ที่ต้องการปกป้องและคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์
นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ต้องการปกป้องงานออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบ
ผู้บริหาร ที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท / หน่วยงาน / องค์กร
นักกฎหมาย ที่ต้องการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญนอกองค์กรที่สามารถให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ด้วยทีมงานคุณภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ 


วีระเวช อรธนาลัย (กาย) – กรรมการผู้จัดการ IDG
กายเป็นนักกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) และตัวแทนสิทธิบัตรเลขที่ 2314 ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ไอดีจี กายมีหน้าที่ดูแลภาพรวมขององค์กรและวางแนวทางเพื่อพัฒนาให้บริการทั้งหมดมีมาตรฐานระดับโลก รวมถึงมีการให้บริการด้านการออกแบบ ปกป้อง และพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มรูปแบบในราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษาของไทย
กายมีแนวคิดว่าการทำธุรกิจนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ดีและไม่ปล่อยให้เพียงฝ่ายกฎหมายเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินทางปัญญา แต่ให้ทุกๆ ฝ่ายในองค์กรไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และอื่นๆ เข้าใจถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่ตนเองมีและช่วยกันวางกลยุทธ์เพื่อให้มีการนำข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างสูงสุด
ประสบการณ์
กายและทีมได้ร่วมงานกับองค์กรหลากหลายขนาด เช่นบริษัทขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย SME รวมถึงผู้ประดิษฐ์รายบุคคล ที่ซึ่ง เราได้ช่วยคุ้มครองและแปลงไอเดียของลูกค้าเหล่านี้ให้กลายเป็นโปรดักส์และบริการที่ดีที่สุด และเราได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรหลักของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในปี 2558 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าในด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศกลุ่ม ASEAN และประเทศจีน
ก่อนการก่อตั้งไอดีจี กายเคยเป็นนักพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยีของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUIPI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม (University-Industry Collaboration) และเป็นผู้วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของเทคโนโลยีในหลากหลายวิทยาการ ทั้งในด้านการตลาด ด้านกฎหมาย และด้านเทคนิค ซึ่งก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโลยีจากมหาวิทยาลัยสู่อุตสาหกรรมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 20 โครงการ
ก่อนการทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา กายเคยเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาที่สถาบัน Riken Brain Science Institute แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงระยะเวลา 3 ปีในการทำวิจัย กายได้มีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสาทชีวเคมีเพื่อตรวจสอบระบบของประสาทที่มีส่วนทำให้เกิดอาการหรือความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น อาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) และโรคจิตเภท (Schizophrenia)  ซึ่งผลการทำวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับสากล เช่น Nature Publishing Group
ศาสตราจารย์ โยชิโทชิ ทานากะ – ที่ปรึกษา IDG
ศาสตราจารย์ทานากะ ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับทีม IDG อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศและการบริหารธุรกิจ
ประสบการณ์
ศาสตราจารย์ทานากะมีประสบการณ์รวมกันมากกว่า 30 ปีในการบริหารงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในภาครัฐ ภาคเอกชน และการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ในคณะบริหารนวัตกรรมแห่ง Tokyo Institute of Technology
อ่านบทความที่น่าสนใจได้ที่ : idgthailand.com/ผลงานของเรา-2/
ติดต่อเราได้ที่ : idgthailand.com

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ