OUR BLOG

วิธีการยื่นจดสิทธิบัตรต่างประเทศ ตอน 1 : สิทธิบัตรต่างประเทศ 101

7

ยื่นจดสิทธิบัตรต่างประเทศ สำคัญอย่างไร?

       อย่างที่ทุกท่านพอจะทราบกันดี ในปัจจุบันนั้นการค้าและการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ นั้น ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในประเทศไทยอีกต่อไป การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในการสื่อสารสมัยใหม่ได้ทำการลดความสำคัญของเขตแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้สามารถติดต่อค้าขายกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โลกของเราจึงได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) อย่างสมบูรณ์ โดยภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว นอกจากทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่ได้ง่ายขึ้นของสินค้าและการลงทุนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก

       อย่างไรก็ดี ในการคิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมานั้น ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนในการค้นคว้าและวิจัยจำนวนมหาศาล การที่จะมีผู้อื่นมาแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของเรานั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จำนวนมากจึงเลือกที่จะทำการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของตนเองเพื่อขอรับความคุ้มครองทางกฎหมาย รวมถึงสามารถบริหารในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนในวิธีการอื่น ๆ เช่น โอน, ขาย หรือให้เช่ากรรมสิทธิอย่างถูกต้องอีกด้วย

       ในกรณีต้องการใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของตนเองในหลาย ๆ ประเทศ โดยปกติแล้วจะไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จึงจำเป็นที่ต้องจดสิทธิบัตรของตัวเองในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเทศ เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศนั้น ๆ เพราะฉะนั้นแล้ว การยื่นจดสิทธิบัตรงานประดิษฐ์ของตนเองไปยังต่างประเทศจึงถือว่าเป็นขั้นตอนมีความสำคัญอย่างมากในการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของตนเองไปแข่งขันในเวทีโลก

ยื่นจดทรัพย์ทางปัญญา สามารถทำอย่างไรได้บ้าง?

   ในปัจจุบัน เจ้าของสิทธิบัตรไทยที่ต้องการจดสิทธิบัตรของตนเองไปยังต่างประเทศ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ 1) ระบบการยื่นตรง (Direct Route System) ซึ่งจะเป็นการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปยังสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศนั้น ๆ  โดยตรง และ 2) ระบบ PCT (PCT Route System) ซึ่งกรณีนี้จะเป็นการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปตรวจสอบของหน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO – World Intellectual Property Organization) ก่อนที่จะนำผลการตรวจสอบดังกล่าวประกอบคำร้องเพื่อยื่นเข้าแต่ละประเทศอีกครั้ง

ทั้ง 2 วิธีต่างกันอย่างไร?

   สำหรับระบบการยื่นตรง (Direct Route System) จะมีข้อดีตรงที่มีความประหยัดมากกว่าทั้งในแง่ของ ค่าใช้จ่าย และระยะเวลา เนื่องจากเป็นการยื่นตรงไปยังสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศนั้น ๆ จึงไม่เกิดค่าใช้จ่ายที่จะตรวจสอบผ่านโดย WIPO ส่วนในเรื่องระยะเวลาที่ใช้น้อยกว่านั้นอาจจะไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบในทุกกรณี เนื่องจากการยื่นตรงนั้น ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องทำการยื่นออกนอกประเทศภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก เพื่อที่จะได้เข้าเงื่อนไขในการขอถือสิทธิย้อนหลังไปยังคำขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นไว้ครั้งแรก

นอกจากนี้ หากผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่สามารถดำเนินการภายใน 12 เดือน งานดังกล่าวก็มีโอกาสจะถูกตีตรา “ไม่มีความใหม่” โดยผู้ตรวจสอบ และไม่ได้รับจดในประเทศนั้น ๆ เลยก็เป็นได้

ในส่วนของระบบ PCT (PCT route treaty System) นั้นจะใช้ค่าใช้จ่ายและเวลามากกว่าระบบยื่นตรง เนื่องจากต้องรอผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยหน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จากนั้นจึงนำผลการตรวจสอบไปยื่นเข้าประเทศต่าง ๆ อีกครั้ง ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวนั้นมีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าระบบยื่นตรงบางประการ ได้แก่

      1.    เจ้าของงานมีเวลาตัดใจที่มากขึ้นในการที่จะยื่นเข้าประเทศใดบ้าง เนื่องจากภายใต้เงื่อนไข PCT จะได้รับขยายเวลาสำหรับยื่นเข้าประเทศจาก 12 เป็น 30-31 เดือน 
      2.     ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะได้รับผลการตรวจค้นระหว่างประเทศมาประกอบการพิจารณาว่างานของเรานั้น จะเข้าเงื่อนไขการเป็นสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ หรือไม่

นอกจากนี้ สิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้นที่ได้รับการตรวจสอบโดย WIPO จะได้รับการเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลระดับโลก ซึ่งจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงที่มีน้ำหนักมาก ในกรณีมีผู้อื่นคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะคล้ายกับของเราในภายหลัง

 

สรุป

ระบบการยื่นตรง (Direct Route System) เหมาะสำหรับคนที่มีแผนการที่ชัดเจนแล้วว่าจะนำงานประดิษฐ์ของตัวเองไปใช้ประโยชน์ในประเทศใดบ้าง รวมถึงทำการตรวจสอบงานของตนเองมาค่อนข้างรัดกุมว่าจะผ่านเงื่อนไขการพิจารณาทั้งหมด การยื่นด้วยระบบดังกล่าวนั้นจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

ระบบ PCT (PCT Route System) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเวลาในการตัดสินใจเพิ่มเติมว่าจะขอรับความคุ้มครองในประเทศใดบ้าง และคนที่ต้องการนำผลการตรวจค้นระหว่างประเทศไปประกอบการยื่นจดในประเทศนั้น ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แก่งานประดิษฐ์ของตน รวมไปถึงคนที่ต้องการยื่นขอรับความคุ้มครองในหลาย ๆ ประเทศ

        นอกเหนือไปกว่านั้น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของหลาย ๆ ประเทศได้กำหนดให้ผู้ที่ยื่นคำขอจากต่างประเทศ จะต้องดำเนินการผ่านตัวแทนที่ได้ลงทะเบียนกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเท่านั้น การตัดสินใจเลือกตัวแทนจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากจะมีหน้าที่เป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องแล้ว ยังทำการประสานงานในด้านการแปลภาษาโดยทีมแปลที่มีประสบการณ์ในด้านการแปลสิทธิบัตร รวมถึงตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระเบียบและข้อบังคับของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศอีกด้วย

 
หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน
โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร
E-Mail: [email protected]
Line: @idgthailand

 

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ