OUR BLOG

สิทธิบัตร และ ขอบเขตความคุ้มครอง

        ผู้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้ล้วนมีฝีมือในการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา จึงไม่น่าแปลกใจที่ในตอนนี้ ผู้คนได้ให้ความสนใจกับการจดสิทธิบัตรเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
         เมื่อพูดถึงสิทธิตามสิทธิบัตรแล้ว หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจว่า ถ้าจดสิทธิบัตรในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว จะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก !
         เพราะตามหลักการแล้ว “สิทธิบัตรเป็นสิทธิตามหลักดินแดน” (Territorial Rights) หมายความว่า จะมีขอบเขตการบังคับใช้สิทธิเฉพาะในประเทศที่ได้จดสิทธิบัตรไว้เท่านั้น ดังนั้นหากมีการลอกเลียนแบบในประเทศที่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรไว้ ตัวเจ้าของสิทธิบัตรจะไม่สามารถอ้างสิทธิหรือดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการลอกเลียนแบบได้
           ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ได้มีกรณีที่ผู้ประกอบการทำการลอกเลียนแบบเอกลักษณ์ วิธีการตกแต่งร้าน รวมไปถึงวิธีการสั่งอาหาร จากร้านอาหารชื่อดังในประเทศญี่ปุ่นอย่าง “อิจิรัน ราเมง” หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ “ราเมงข้อสอบ” จนสร้างความสับสนให้กับลูกค้า และทำให้เกิดการถกเถียงกันในโลกออนไลน์ว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ? ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว พบว่า ร้านอาหารดังกล่าวได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร “Shop System” แค่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงเป็นระบบสำหรับการตรวจสอบจำนวนลูกค้า ที่นั่งว่าง และการสั่งอาหาร ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2546 และได้รับสิทธิบัตรญี่ปุ่น เลขที่ประกาศโฆษณา JP4267981B2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 แต่ไม่ได้ขอรับความคุ้มครองในประเทศไทย ดังนั้นการลอกเลียนแบบที่เกิดขึ้นจึงไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิบัตร ทำให้ไม่สามารถเอาผิดกับผู้ประกอบการในประเทศไทยได้
          เพราะฉะนั้น หากผู้ประกอบการหรือผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องการสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของตนในประเทศใด ก็จำเป็นต้องขอรับความคุ้มครองในประเทศนั้น ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์และป้องกันการลอกเลียนแบบที่อาจนำมาซึ่งปัญหาในอนาคตได้

บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาและดำเนินการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-011-7161 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ


Click here

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ