OUR BLOG

อยากทำน้ำส้มขาย อย. จำเป็น หรือไม่ ?

อยากทำน้ำส้มขาย อย. จำเป็น หรือไม่ ?

banner 1
         จากกรณีล่าสุดที่เป็นกระแสไม่นานมานี้ ถ้าไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ เมื่อแม่ค้าขายน้ำส้มได้ถูกเจ้าหน้าที่ล่อซื้อไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงและปัญหาที่ตามมาในภายหลัง อย่างเช่น อาจจะต้องมีการเสียค่าปรับกันเกิดขึ้น ด้วยเหตุที่แม่ค้าไม่แน่ใจว่าสินค้าของตนจำเป็นจะต้องมีการขอจดแจ้ง อย. หรือไม่ ? นั่นเอง (แหล่งข่าวจาก: เรื่องเล่าเช้านี้)
         ซึ่งทาง IDG คิดว่ากรณีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ใครหลาย ๆ คน เนื่องจากยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้กันเลยว่า “ถ้าจะขายน้ำส้ม หรือ เครื่องดื่มอื่น ๆ จำเป็นต้องจด อย. ไหม ? ” แล้วถ้าไม่จดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? วันนี้ IDG มีคำตอบมาให้ทุกคนกันค่ะ
         ก่อนที่เราจะนำน้ำส้มของเราไปจด อย. เราต้องมาตรวจสอบกันก่อนว่า สินค้าของเราได้ตรงตามพรบ. กำหนด หรือเปล่า
   อ้างอิงจาก พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 

  • อาหารไม่บริสุทธิ์  อาหารปลอม อาหารผิดมาตรฐาน เป็นอาหารที่ห้ามผลิต-นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือซึ่งจำหน่าย ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย
  • อาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคจะต้องมีความปลอดภัยในการบริโภค

มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องไม่มีการแสดง ฉลาก หรือการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อการลวงหรือพยายามลวง ผู้บริโภคให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์
         แปลได้ว่า ถ้าสินค้าของเราตรงตามข้อ 1 ทั้งหมด นั่นหมายถึงว่า น้ำส้มคั้นของเราไม่สามารถจด อย. ได้ค่ะ และ ในส่วนของข้อ 2 ก็คือ อาหารหรือเครื่องดื่มที่จะจำหน่ายได้ ต้องมีความปลอดภัย ไม่โฆษณาเกินจริง หรือ มีการหลอกลวงผู้บริโภคนั่นเอง
         นอกจากตัวน้ำส้มคั้นแล้ว อย่าลืมในส่วนของบรรจุภัณฑ์ด้วยนะ ว่าต้องมีการปิดสนิท 
อ้างอิงจาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ.2556  
  สาระสำคัญของประกาศฯ (ฉบับที่ 349) พ.ศ.2556
  นิยาม “อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ” หมายความว่า

  1.       อาหารที่ผ่านกรรมวิธีใช้ทำลายหรือยับยั้งการขยายพันธ์ของจุลินทรีย์ด้วยความร้อน ภายหลังหรือก่อน บรรจุหรือปิดผนึก
  2.       อาหารอื่นที่มีกระบวนการผลิตและเงื่อนไขทำนองเดียวกัน

เงื่อนไข

  • มีค่า PH > 4.6 และมี AW > 0.85
  • เก็บรักษาในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่คงรูปหรือไม่คงรูปที่สามารถป้องกันมิให้อากาศภายนอกเข้าไปในภาชนะบรรจุได้
  • เก็บรักษาว้ ณ อุณหภูมิปกติ

 “ต้องปฏิบัติตาม Specific GMP (LACF/Acidified Food GMP)”

         ดังนั้นน้ำส้มบรรจุขวด ถูกจัดว่าเป็นอาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิทค่ะ เนื่องจาก เป็นไปตามเงื่อนไขของ อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท อ้างอิงจาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ.2556 
ถ้าเราเข้าไปสืบค้นที่  CLICK จะพบว่า มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์น้ำส้มเป็นจำนวนมาก 
messageImage 1624527451058
         แต่เมื่อวันที่ 18 ที่ผ่านมานี้ สำนักข่าวมติชนได้รายงานว่า นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงไว้ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถทำขายเองได้ และจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมาขออนุญาตกับ อย. แต่ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ หากเป็นน้ำส้มที่ผลิตบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทแล้วส่งไปขายตามร้านค้าต่าง ๆ จะมีความจำเป็นต้องขออนุญาตจาก อย. เสียก่อน และต้องมีฉลากสินค้า รายละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงต้องมีเลข อย. 13 หลักที่มีการได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว
        จากรายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทางผู้ประกอบการยังมีข้อสงสัยอยู่ใช่ไหมว่า เราสามารถขายออนไลน์ได้อยู่ไหม แล้วกรณีแบบไหนที่จำเป็นต้องจด อย. ?
ทาง IDG มีตัวอย่างมาให้ดูกันค่ะ

584f41a0ffdc136c6f879010690e9430
CR. www.abroadwithash.com

ถ้านาย A ผลิตและขายให้กับผู้บริโภคเองโดยตรงหน้าบ้าน โดยที่ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตที่ไหนและอย่างไร รวมไปถึง การที่นาย A คั้นน้ำส้มสดขายที่ตลาด ก็สรุปได้ว่า นาย A ไม่จำเป็นต้องจด อย. ค่ะ

90f939839a15d8ae6dcae82aaa325603
cr. carelumina.com

แต่ในกรณีที่ นาย B มีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ จะเป็นนาย C ที่มีการขายน้ำส้มคั้นโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ที่ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้ ดังนั้น ทั้ง นาย B และ C ต้องขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ตามลำดับ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้าค่ะ

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรงที่ฝ่ายเครื่องหมายการค้าของเรา โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

โทร: 02-011-7161 ถึง 6

ฝ่ายเครื่องหมายการค้า  02-011-7161 Ext

ฝ่ายภายในประเทศ Ext 101,102

ฝ่ายต่างประเทศ Ext 104,105

ฝ่ายกฏหมาย Ext 103

E-Mail: [email protected]


Click here

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ