10 กลุ่มคําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาคุณภาพคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร
ในยุคที่ผู้คนหันมาขายของผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น พ่อค้า เเม่ค้าหลายๆท่านต่างก็มีกลยุทธ์ในการขาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่นหรือการใช้คำโฆษณาที่สะดุดตาในการขายสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อ สนใจในสินค้า ผู้ขายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ว่าคำโฆษณาของตนนั้นถูกต้องหรือเกินความจริงไปรึเปล่า เเต่! ไม่รู้ไม่ได้เเล้ว เพราะหากยังใช้คำโฆษณาที่เราจะมาบอกทุกคนในวันนี้อยู่ ถือว่าผิดกฎหมาย อาจได้รับโทษโดยไม่รู้ตัว
คําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณา คุณภาพ คุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร เช่น
– ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ วิเศษ
– เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ล้ำเลิศ เลิศลํ้า
– ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด
– ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย
– ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด
– เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล
– สุดเหวี่ยง
– ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง
– อย. รับรอง ปลอดภัย
– เห็นผลเร็ว
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง กับการโฆษณาอาหาร ตามประกาศ อย. ฉบับใหม่ 2564
– 5 หลักเกณฑ์ข้อความที่ห้ามใช้
– 10 กลุ่มคําที่ไม่อนญาตในการโฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร
ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีจำนวนมากขึ้น และมีการแข่งขันที่สูงขึ้น การโฆษณาช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของเราดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจมากขึ้น ทำให้ได้รับข้อมูลสินค้าอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ ท่านลยให้ความสำคัญกับการโฆษณาเป็นอย่างมาก พร้อมกับทุ่มงบประมานอย่างมาก และมีบ่อยครั้งที่การโฆษณานั้นกับกลายเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย พรบ. อาหารปี 2522
ตามพรบ.อาหาร ปี 2522 มาตรา 40 ห้ามมิให้โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ และสรรพคุณ ของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดการหลงเชื่อโดยไม่สมควร และมาตรา 41 กำหนดให้ ผู้ประสงค์จะโฆษณา คุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางสื่อใดๆ เช่น วิทยุกระจายเสียง ภาพยนต์ สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต หรือด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า จะต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนต์ หรือข้อความที่จะใช้ในการโฆษณาส่งให้อย.ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถโฆษณาได้ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และหากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลักเกณฑ์ข้อความที่ห้ามใช้
- ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ซึ่งไม่รวมถึงข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้
- ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกิน ความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
- ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
- ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ พ่อค้า เเม่ค้าต้องเลิกใช้คำต้องห้ามเหล่านี้เเล้วนะครับ ส่วนผู้ซื้อก็ย่าคิดที่จะซื้อของที่โฆษณาเกินจริงเด็ดขาดเลย เพราะว่าสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน อย. นั้นจะถูกห้ามให้ใช้คำโฆษณาที่เราได้กล่าวไปข้างต้น หรือถ้าหากสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาได้รับการขึ้นทะเบียน อย.จริงไหม สามารถจดเลข อย. แล้วแจ้งที่สายด่วนของอย. 1556 หรือที่แอปพลิเคชันของอย.ได้โดยตรงเลย
Source : http://www.ratchakitcha.soc.go.th (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564)
ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน อย. (FDA) โดย IDG มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์
โทร: 02-011-7161 ถึง 102
E-Mail: [email protected]
Line : @idgthailand