OUR BLOG

10 กลุ่มคําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาอาหาร

10 กลุ่มคําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณา

10 กลุ่มคําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาคุณภาพคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร

 

ในยุคที่ผู้คนหันมาขายของผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น พ่อค้า เเม่ค้าหลายๆท่านต่างก็มีกลยุทธ์ในการขาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่นหรือการใช้คำโฆษณาที่สะดุดตาในการขายสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อ สนใจในสินค้า ผู้ขายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ว่าคำโฆษณาของตนนั้นถูกต้องหรือเกินความจริงไปรึเปล่า เเต่! ไม่รู้ไม่ได้เเล้ว เพราะหากยังใช้คำโฆษณาที่เราจะมาบอกทุกคนในวันนี้อยู่ ถือว่าผิดกฎหมาย อาจได้รับโทษโดยไม่รู้ตัว 

 

คําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณา คุณภาพ คุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร เช่น

ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ วิเศษ

เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ  ล้ำเลิศ เลิศลํ้า

ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด

ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย

ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด

เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล

สุดเหวี่ยง

ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง

อย. รับรอง ปลอดภัย

เห็นผลเร็ว

 

กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง กับการโฆษณาอาหาร  ตามประกาศ อย. ฉบับใหม่ 2564 

– 5 หลักเกณฑ์ข้อความที่ห้ามใช้   

– 10 กลุ่มคําที่ไม่อนญาตในการโฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร

ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีจำนวนมากขึ้น และมีการแข่งขันที่สูงขึ้น การโฆษณาช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของเราดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจมากขึ้น ทำให้ได้รับข้อมูลสินค้าอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ ท่านลยให้ความสำคัญกับการโฆษณาเป็นอย่างมาก พร้อมกับทุ่มงบประมานอย่างมาก และมีบ่อยครั้งที่การโฆษณานั้นกับกลายเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย พรบ. อาหารปี 2522  

 

ตามพรบ.อาหาร ปี 2522 มาตรา 40 ห้ามมิให้โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ และสรรพคุณ ของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดการหลงเชื่อโดยไม่สมควร และมาตรา 41 กำหนดให้ ผู้ประสงค์จะโฆษณา คุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางสื่อใดๆ เช่น วิทยุกระจายเสียง ภาพยนต์ สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต หรือด้วยวิธีการอื่นๆ  เพื่อประโยชน์ทางการค้า จะต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนต์ หรือข้อความที่จะใช้ในการโฆษณาส่งให้อย.ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถโฆษณาได้  ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และหากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

หลักเกณฑ์ข้อความที่ห้ามใช้   

  1. ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ซึ่งไม่รวมถึงข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ 
  2. ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกิน ความจริงหรือไม่ก็ตาม
  3. ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
  4. ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
  5. ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ พ่อค้า เเม่ค้าต้องเลิกใช้คำต้องห้ามเหล่านี้เเล้วนะครับ ส่วนผู้ซื้อก็ย่าคิดที่จะซื้อของที่โฆษณาเกินจริงเด็ดขาดเลย เพราะว่าสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียน อย. นั้นจะถูกห้ามให้ใช้คำโฆษณาที่เราได้กล่าวไปข้างต้น หรือถ้าหากสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาได้รับการขึ้นทะเบียน อย.จริงไหม  สามารถจดเลข อย. แล้วแจ้งที่สายด่วนของอย. 1556 หรือที่แอปพลิเคชันของอย.ได้โดยตรงเลย

 

Source : http://www.ratchakitcha.soc.go.th  (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564)

             : https://www.fda.moph.go.th

 

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน อย. (FDA)  โดย IDG มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์ 

โทร: 02-011-7161 ถึง 102 

E-Mail: [email protected]

Line : @idgthailand

 

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ