OUR BLOG

25 ศัพท์สิทธิบัตร นวัตกรรมและเทคโนโลยี

25ศัพท์สิทธิบัตร
เราจะเห็นกันได้ชัดเลยว่า หลาย ๆ คนในยุคนี้ได้เข้ามาให้ความสนใจกับ “สิทธิบัตร” จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร เพราะ ผู้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้ล้วนมีฝีมือในการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา
ดังนั้น IDG ได้รวบรวม 25 คำศัพท์ สิทธิบัตรที่ควรรู้ มาให้ทุกคนได้เข้าใจคำศัพท์เหล่านี้มากขึ้นกันค่ะ โดยจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้:
1. ก่อนจดสิทธิบัตร
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจดสิทธิบัตรคือ งานที่เรากำลังพัฒนาอยู่ Technology Readiness Level (TRL) ระดับไหน และ มีความเป็นไปได้ที่จะยื่นจดสิทธิบัตร (Patentability) แล้วหรือยัง ? รวมถึงมีความอิสระในการดำเนินการ (Freedom To Operate: FTO) ในไทยหรือต่างประเทศหรือไม่ และการวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Landscape) จะช่วยให้มองเห็นภาพกว้างของเทคโนโลยี

  • Technology Readiness Level (TRL) คือ การบ่งชี้ระดับความพร้อมและเสถียรภาพของเทคโนโลยีตามบริบท รวมไปถึงการใช้งาน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างนักเทคโนโลยีกับผู้ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ โดย TRL มีทั้งหมด 9 ระดับด้วยกัน
  • ความเป็นไปได้ที่จะยื่นจดสิทธิบัตร (Patentability) คือ การสืบค้นความเป็นไปได้ในการขอรับสิทธิบัตร/เอกสารก่อนหน้า โดยจะมีการตรวจสอบความใหม่ และ ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
  • ความอิสระในการดำเนินการ (Freedom To Operate: FTO) คือ การสืบค้นสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น
  • การวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Landscape) เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของเทคโนโลยีที่เราสนใจ โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. ระหว่างจดสิทธิบัตร
ผู้ที่ยื่นจดสิทธิบัตรจะต้องรู้ว่าผลงานที่กำลังขอรับความคุ้มครอง จัดอยู่ในสิทธิบัตรประเภทไหน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent), อนุสิทธิบัตร (Petty patent) และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) ล้วนมีหลักเกณฑ์การพิจารณาและอายุการคุ้มครองที่ต่างกัน

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) เป็นหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับการคิดค้นกลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบของสิ่งของเครื่องใช้ หรือกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น กลไกของเครื่องยนต์ วิธีการในการผลิตสินค้า
  • อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
    แต่อนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) เป็นการสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิมและต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม

3. หลังจดสิทธิบัตร
เมื่อผลงานได้รับการคุ้มครอง สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ มองหาช่องทางการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ โดยการวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) และการวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Landscape) เพื่อหาโอกาสให้กับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงทำ FTO เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิผู้อื่น และการยื่นจดสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) เพื่อขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ

  • การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลหลายส่วน เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และข้อมูลที่ได้จะช่วยให้บริษัทวางแผนการตลาดได้อย่างตรงจุดเพื่อเพิ่มยอดขายหรือขยายธุรกิจ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลจากสิทธิบัตรก็เป็นอีกวิธีที่สามารถวิเคราะห์ตลาดได้
  • การวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Landscape) เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของเทคโนโลยีที่เราสนใจ โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การยื่นคำขอผ่านระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) คือ การยื่นคำขอระหว่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นขอรับความคุ้มครองในประเทศภาคีต่อไป

4. การใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตร
การถ่ายทอดเทคโนโลยีก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่คุณจะหารายได้จากสิทธิบัตร โดยผู้ที่สนใจผลงานของคุณจะต้องขออนุญาตใช้สิทธิ (Licensing) ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบ การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing), การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive Licensing) หรือ อนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) โดยที่คุณจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

  • การขออนุญาตใช้สิทธิ (Licensing) เป็นการที่เจ้าของสิทธิอนุญาตให้ผู้ขอใช้สิทธิได้ใช้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ขาย ใช้หรือมีไว้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
    • การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing) คือ การให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวให้กับผู้รับอนุญาต โดยที่ผู้อนุญาตจะไม่มีสิทธิใด ๆ ในขอบเขตสิทธิเดียวกันนั้น ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด
    • การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive Licensing) คือ การที่ผู้รับอนุญาตจะได้รับสิทธิตามขอบเขตที่ได้รับ แต่ผู้อนุญาตจะยังคงมีสิทธิในขอบเขตที่อนุญาตไป และยังสามารถอนุญาตให้ใช้สิทธิให้กับผู้รับอนุญาตรายอื่น ๆ ได้
    • อนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) คือ การที่ผู้อนุญาตจะยังคงมีสิทธิในขอบเขตที่ให้กับผู้รับอนุญาต แต่จะไม่สามารถอนุญาตใช้สิทธิให้กับคนอื่น ๆ ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาและดำเนินการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

เบอร์โทร : 02-011-7161 ถึง 6 (ฝ่ายสิทธิบัตรต่างประเทศกด 303)

Email: [email protected]


Click here

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ