OUR BLOG

4 วิธี เพื่อลดโอกาสในการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ

4 วิธี เพื่อลดโอกาสในการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ 01 scaled 1

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการพยายามหาแนวทางเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาด หรือเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ และ มีความยั่งยืนนั่นเอง

กลยุทธ์หนึ่งที่สามารถทำได้เพื่อสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งนั่นก็คือ การขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร โดยสิทธิบัตรจะเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายสิ่งประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครองนั่นเอง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้

ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้กำลังจะเริ่มดำเนินธุรกิจ IDG ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ได้รวบรวม 4 วิธี เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ ได้ลดโอกาสการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรได้ ดังนี้

  • ตรวจสอบความอิสระในการดำเนินการ (Freedom to Operate) ก่อนดำเนินการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 

หากมีสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าที่ต้องการผลิตหรือนำเข้า ไมว่าจะสำหรับใช้ประโยชน์หรือการนำจำหน่าย ก็ควรที่จะทำการตรวจสอบความอิสระในการดำเนินการก่อน เพื่อให้ทราบว่าสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าดังกล่าวนั้นได้มีการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นไว้แล้วหรือยัง รวมถึงมีการคุ้มครองในรูปแบบใดบ้าง และยังมีอายุทางกฎหมายอยู่ระหว่างการคุ้มครองหรือไม่ เพื่อลดโอกาสในการละเมิดสิทธิบัตรของบุคคลอื่นที่ได้มีการขอรับความคุ้มครองไว้แล้วนั่นเอง

  • จดสิทธิบัตร ก่อนที่จะโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์

IDG ขอแนะนำให้ทำการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรก่อนที่จะทำการโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์นั้น เนื่องจากหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเพื่อรับจดทะเบียนสิทธิบัตรคือ “ความใหม่” ซึ่งหมายถึง การประดิษฐ์นั้นต้องไม่เคยถูกเปิดเผยสาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์ก่อนวันที่ยื่นเอกสารต่อทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยกเว้นแต่เป็นการแสดงสิ่งประดิษฐ์ในงานที่ถูกจัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหากผู้ประกอบการหรือเจ้าของสิทธิบัตรได้นำสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าไปแสดงในงานที่จัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และต้องการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร ต้องยื่นขอรับความคุ้มครองภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ได้ไปนำเสนอในงานจัดแสดงที่จัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศนั่นเอง

  • จดสิทธิบัตร เมื่อมีแนวคิดใหม่หรือมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์/ผลิตภัณฑ์ใหม่ 

ก่อนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ IDG แนะนำให้ท่านนำแนวคิด ขั้นตอน หรือการออกแบบที่กำลังจะดำเนินการไปตรวจสอบก่อนว่า แนวคิด ขั้นตอน หรือการออกแบบดังกล่าวมีผู้อื่นได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีสิทธิบัตรที่ขอรับความคุ้มครองไว้แล้วหรือยัง หากแนวคิดและการออกแบบดังกล่าว ยังไม่มีผู้อื่นประดิษฐ์หรือคิดค้นขึ้นมาก่อน รวมถึงมีความแตกต่างที่ชัดเจน มีการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ยังไม่มีผู้อื่นสามารถทำได้ ขอแนะนำให้นำลักษณะทางเทคนิคหรือการออกแบบใหม่นั้น ไปยื่นจดสิทธิบัตรไว้ก่อนที่จะพัฒนาแนวคิดดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตและจำหน่าย เพื่อลดโอกาสที่จะถูกคู่แข่งนำแนวคิดนี้ไปขอรับความคุ้มครองก่อนหน้าเรา เป็นการลดโอกาสในการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรได้อีกด้วย

  • ขออนุญาตใช้สิทธิบัตรของผู้อื่น เพื่อพัฒนาต่อยอดหรือผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

มีสิทธิบัตรมากมายหลายล้านฉบับในโลกนี้ที่มีการถูกคิดค้นมาแล้วจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งหากเราต้องการลดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนา ก็สามารถเลือกช่องทางในการขออนุญาตใช้สิทธิบัตรของผู้อื่น ที่เราสนใจได้ แล้วนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และนำไปหาประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งการนำสิทธิบัตรของผู้อื่นไปใช้นั้น ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรร่วมกับการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ก่อนนั่นเอง ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเจ้าของสิทธิบัตรเพื่อเจรจาเสนอเงื่อนไขในการซื้อขายได้ ด้วยการเข้าถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่หน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาค่ะ

หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน

โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร

E-Mail: [email protected]

Line: @idgthailand

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

4 วิธี เพื่อลดโอกาสในการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ 01 scaled 1

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการพยายามหาแนวทางเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาด หรือเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ และ มีความยั่งยืนนั่นเอง

กลยุทธ์หนึ่งที่สามารถทำได้เพื่อสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งนั่นก็คือ การขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร โดยสิทธิบัตรจะเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายสิ่งประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครองนั่นเอง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้

ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้กำลังจะเริ่มดำเนินธุรกิจ IDG ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ได้รวบรวม 4 วิธี เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ ได้ลดโอกาสการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรได้ ดังนี้

  • ตรวจสอบความอิสระในการดำเนินการ (Freedom to Operate) ก่อนดำเนินการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 

หากมีสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าที่ต้องการผลิตหรือนำเข้า ไมว่าจะสำหรับใช้ประโยชน์หรือการนำจำหน่าย ก็ควรที่จะทำการตรวจสอบความอิสระในการดำเนินการก่อน เพื่อให้ทราบว่าสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าดังกล่าวนั้นได้มีการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นไว้แล้วหรือยัง รวมถึงมีการคุ้มครองในรูปแบบใดบ้าง และยังมีอายุทางกฎหมายอยู่ระหว่างการคุ้มครองหรือไม่ เพื่อลดโอกาสในการละเมิดสิทธิบัตรของบุคคลอื่นที่ได้มีการขอรับความคุ้มครองไว้แล้วนั่นเอง

  • จดสิทธิบัตร ก่อนที่จะโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์

IDG ขอแนะนำให้ทำการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรก่อนที่จะทำการโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์นั้น เนื่องจากหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเพื่อรับจดทะเบียนสิทธิบัตรคือ “ความใหม่” ซึ่งหมายถึง การประดิษฐ์นั้นต้องไม่เคยถูกเปิดเผยสาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์ก่อนวันที่ยื่นเอกสารต่อทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยกเว้นแต่เป็นการแสดงสิ่งประดิษฐ์ในงานที่ถูกจัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหากผู้ประกอบการหรือเจ้าของสิทธิบัตรได้นำสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าไปแสดงในงานที่จัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และต้องการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร ต้องยื่นขอรับความคุ้มครองภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ได้ไปนำเสนอในงานจัดแสดงที่จัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศนั่นเอง

  • จดสิทธิบัตร เมื่อมีแนวคิดใหม่หรือมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์/ผลิตภัณฑ์ใหม่ 

ก่อนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ IDG แนะนำให้ท่านนำแนวคิด ขั้นตอน หรือการออกแบบที่กำลังจะดำเนินการไปตรวจสอบก่อนว่า แนวคิด ขั้นตอน หรือการออกแบบดังกล่าวมีผู้อื่นได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีสิทธิบัตรที่ขอรับความคุ้มครองไว้แล้วหรือยัง หากแนวคิดและการออกแบบดังกล่าว ยังไม่มีผู้อื่นประดิษฐ์หรือคิดค้นขึ้นมาก่อน รวมถึงมีความแตกต่างที่ชัดเจน มีการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ยังไม่มีผู้อื่นสามารถทำได้ ขอแนะนำให้นำลักษณะทางเทคนิคหรือการออกแบบใหม่นั้น ไปยื่นจดสิทธิบัตรไว้ก่อนที่จะพัฒนาแนวคิดดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตและจำหน่าย เพื่อลดโอกาสที่จะถูกคู่แข่งนำแนวคิดนี้ไปขอรับความคุ้มครองก่อนหน้าเรา เป็นการลดโอกาสในการละเมิดหรือถูกละเมิดสิทธิบัตรได้อีกด้วย

  • ขออนุญาตใช้สิทธิบัตรของผู้อื่น เพื่อพัฒนาต่อยอดหรือผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

มีสิทธิบัตรมากมายหลายล้านฉบับในโลกนี้ที่มีการถูกคิดค้นมาแล้วจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งหากเราต้องการลดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนา ก็สามารถเลือกช่องทางในการขออนุญาตใช้สิทธิบัตรของผู้อื่น ที่เราสนใจได้ แล้วนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และนำไปหาประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งการนำสิทธิบัตรของผู้อื่นไปใช้นั้น ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรร่วมกับการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ก่อนนั่นเอง ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเจ้าของสิทธิบัตรเพื่อเจรจาเสนอเงื่อนไขในการซื้อขายได้ ด้วยการเข้าถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่หน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาค่ะ

หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน

โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร

E-Mail: [email protected]

Line: @idgthailand

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ