OUR BLOG

4 สัญญาที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา​

cover 4contract

4 สัญญาที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

“การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา” หรือ “IP Management” ไม่ได้มีเพียงการวางแผนเพื่อดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ฯลฯ หรือบริหารจัดการทะเบียน IP ให้เข็มแข็งเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจเท่านั้น แต่จำเป็นที่นักธุรกิจอย่างเราต้องมีการเตรียม “เอกสารทางกฎหมาย” หรือ สัญญาต่างๆ ที่จะช่วยทำให้ธุรกิจนั้นปลอดภัยจากการโดนละเมิด ฟ้องร้องคดี และสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้หากคู่สัญญามีเจตนาละเมิด เช่น ขโมยความลับทางการค้าของบริษัท หรือไม่สามารถช่วยเราคุ้มครอง IP ได้ตามข้อกำหนดได้จริง ซึ่งการคุ้มครอง/ปกป้อง IP ให้มีประสิทธิภาพสูง ควรใช้กระบวนการที่ผมจะขอเรียกว่า 2-Layer Defense System ซึ่งหมายถึงการปกป้อง IP อย่างน้อย 2 ระดับชั้น: (1) ระดับของสัญญา; และ (2) ระดับของ IP ที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง โดย การคุ้มครองในระดับของสัญญานั้น ควรเกิดขึ้นก่อนการยื่นขอรับความคุ้มครอง IP แล้วด้วยซ้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของใน IP และข้อพิพาทที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อมีสิ่งที่เป็น IP เกิดขึ้นมาในกระบวนการทางธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซอฟแวร์ใหม่ หรืองานกราฟิกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในบริษัทโดยลูกจ้างเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา หรือผู้รับจ้าง/ให้บริการภายนอกเป็นผู้คิดค้น ออกแบบ หรือสร้างสรรค์ให้เรา เป็นต้น ทั้งนี้ ในการทำแผน IP Management ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สัญญาที่สำคัญมากที่ทุกๆบริษัท ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม มี 4 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้:

 

1. สัญญาจ้างงาน (Employment Agreement) : เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของคุณดูแล IP ของคุณอย่างที่คุณต้องการ เนื่องจากพนักงานเป็นคนสร้าง IP เกือบทั้งหมดภายในบริษัท/องค์กร และมีการใช้ประโยชน์จากมันอยู่เป็นประจำ พนักงานทุกคนควรที่จะต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของใน IP ข้อมูลต่างๆที่มีความอ่อนไหวต่อบริษัทหรือเป็นความลับทางการค้า รวมถึงสิทธิและความรับผิดชอบของพวกเขาต่อบริษัท ดังนั้น การสร้างวัฒนธรรมที่ปลูกฝังและส่งเสริมความตระหนักถึง IP (IP Aware Culture) เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำตั้งแต่ต้น งานประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ ซอฟแวร์ งานดีไซน์ต่างๆที่พนักงานออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาภายใต้ขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยใช้ทรัพยากรของบริษัท และซึ่งเกิดขึ้นภายในเวลาการทำงานให้กับบริษัท IP เหล่านั้นควรที่จะตกเป็นของบริษัท หรือได้รับการโอนสิทธิหลังจากที่มีการสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ หรือคิดค้นขึ้นมา แต่ในทางกลับกัน พนักงานทุกคนก็มีชีวิตส่วนตัว และหากสิ่งเหล่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่พวกเขาตกลงทำให้แก่บริษัท ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องโอนสิทธิใน IP ให้กับบริษัทด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การทำสัญญาจ้างงานที่ถูกต้อง และป้องกันปัญหาด้าน IP ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างในอนาคต นอกจากการมีข้อกำหนดไม่ให้เปิดเผยความลับของบริษัท (non-disclosure clause) หรือไม่ทำงานให้คู่แข่งหรือค้าแข่ง (non-compete clause) ในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ก็ควรมีข้อกำหนดในสัญญาที่กล่าวถึง:

    • IP ที่จะตกเป็นของบริษัท และของลูกจ้าง/พนักงาน
    • สิ่งที่พนักงานต้องเก็บเป็นความลับ และที่สามารถเปิดเผยได้
    • การให้พนักงานให้ความร่วมมือช่วยบริษัทในการถือครอง IP และงานประดิษฐ์ตามความเหมาะสม
    • ข้อมูลที่บริษัทอนุญาตให้พนักงานใช้ และห้ามใช้หลังลาออกจากบริษัท

 

 2. สัญญาที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า/ซัพพลายเออร์  (Customer/Supplier Agreement) : เพื่อแจ้งให้พวกเขาเคารพ และช่วยดูแลรักษาสิทธิของคุณ คงไม่มีธุรกิจไหนสามารถทำทุกอย่างเองได้ทั้งหมด การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในห่วงโซ่อุปทานต้องมีการทำสัญญาเพื่อการสร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจของคุณมากขึ้น และการเสริมข้อกำหนดด้าน IP เข้าไปเป็นเรื่องที่จำเป็นเนื่องจากข้อพิพาทด้าน IP (IP-related disputes) มักจะมีให้เห็นกันบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้น เงื่อนไขที่เราต้องเพิ่มไปในสัญญากับลูกค้า ตัวแทนจำหน่วย ซัพพลายเออร์ หรือ OEM ของคุณ รวมถึง:

  • หากคุณเป็นซัพพลายเออร์ ควรมีเงื่อนไขและข้อกำหนดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของใน IP (ระบุ IP ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสัญญา และใบเสนอราคาทุกฉบับ) และสิทธิในการใช้ IP งานอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจมีการระบุไม่ให้แกะหรือแยกชิ้นส่วน หรือห้ามทำวิศวกรรมย้อนกลับ และบางที หากเป็นสินค้าตัวอย่างหรืองานต้นแบบที่มีความอ่อนไหวสูง เจ้าของงานอาจห้ามไม่ให้ผู้ซื้อเปิดเผยกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก พร้อมให้ทำลายหลักฐานหรือส่งกลับตัวอย่างนั้นเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
  • ในการแต่ตั้งตัวแทนจำหน่าย สัญญาควรระบุขอบเขตสิทธิของตัวแทนจำหน่ายในการใช้ IP ของคุณให้ชัดเจน รวมถึงประเภทของ IP ที่สามารถใช้ในการโปรโมท (เครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) ตลาดหรือแหล่งที่สามารถขายได้ (ประเทศ/จังหวัด, website/social media/platform ฯลฯ) ลักษณะของตัวแทน (exclusive/non-exclusive/sole, sub-contractor ฯลฯ) ซึ่งควรให้ตัวแทนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการละเมิด IP และแจ้งเบาะแสกับเราเมื่อพบเจอสินค้าปลอม หรือเลียนแบบ รวมถึงการให้ตัวแทนมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาและปกป้อง IP ของเราได้ด้วยเช่นกัน

 

 3. แบบโอนสิทธิ (Assignment Form) : เพื่อให้มั่นใจว่าคุณเป็นเจ้าของสิทธิ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย หากคุณยังไม่ทราบ การจ้างคนนอก เช่น agency หรือ freelance เพื่อช่วยโปรโมทธุรกิจของคุณ เช่น การสร้างงานวรรณกรรม ภาพวาด รูปถ่าย เว็บไซต์ ฯลฯ พวกลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างสรรค์นั้น จะตกเป็นของ agency หรือ freelance ที่คุณไปว่าจ้างโดย “อัตโนมัติ” ซึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ คุณมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียม “แบบหรือสัญญาโอนสิทธิ” เพื่อให้พวกเขาโอนสิทธิใน IP มาให้คุณภายหลังจากที่มีการสร้างสรรค์งานดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการทำสัญญาจ้างที่ระบุถึงสิทธิและการเป็นเจ้าของใน IP ของผู้ว่าจ้างไว้ก่อนหน้านี้ก็ดี แต่ยังมีความจำเป็นที่คุณต้องเตรียมแบบโอนสิทธิไว้อีกฉบับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับ agency เดิม หากคุณมีแผนจ้าง agency หรือ freelance ที่อื่นๆอีกในอนาคต หรือจะปรับแต่งผลงานเองในภายหลัง ซึ่งข้อกำหนดที่ควรมีในแบบโอนสิทธิ รวมถึง:

    • Agency/freelance โอนสิทธิในงานที่สร้างสรรค์ทั้งหมดให้บริษัทของคุณ ซึ่งคุณสามารถก๊อปปี้ ดัดแปรง และใช้ประโยชน์จากมันตามที่คุณต้องการได้
    • Agency/freelance จะสละ “ธรรมสิทธิ์” หรือ “Moral rights” ในงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับของตนซึ๋งอาจทำให้มีปัญหาในการโอนหรือมอบสิทธิให้กับผู้อื่นได้ เพราะถ้าไม่มีข้อกำหนดดังกล่าว เจ้าของงานสร้างสรรค์จะสามารถบังคับใช้สิทธิหรือโต้แย้งการดัดแปลง แก้ไขผลงานกับคุณได้ในภายหลัง
    • Agency/freelance ยินดีชดใช้ค่าเสียหาย (Indemnify) ให้คุณหากคุณโดนฟ้องร้อง ดำเนินคดีละเมิดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณไปว่าจ้างให้ agency หรือ freelance ดังกล่าวสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่า ถึงคุณจะเป็นเจ้าของผลงาน แต่ความรับผิดชอบ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิด IP ของบุคคลอื่น จะตกเป็นภาระของผู้สร้างสรรค์

 

 4. สัญญาให้รักษาข้อมูลเป็นความลับ (Non-Disclosure Agreement: NDA) : เพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่เปิดเผยแผนการหรือข้อมูลความลับออกไปโดยไม่ได้ขออนุญาตคุณก่อน เริ่มมีคนในแวดวงธุรกิจกล่าวประโยคว่า “Data Is the New Oil” กันมากขึ้น ซึ่งผมเองก็เริ่มเห็นด้วย เพราะข้อมูลที่บริษัทเราสะสมทุกวัน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การพัฒนาสินค้า บริการ หรือ offer ต่างๆให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น หรือ know-hows ของบริษัทที่สำคัญ ไม่ว่าจะผลการทดลอง สูตรยา เทคนิคพิเศษ โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ ฯลฯ  ดังนั้นการทำ NDA หรือ CDA เป็นสัญญาที่สำคัญมากอันดับต้นๆ ซึ่งใช้กันบ่อยมากในทุกวงการเพื่อป้องกันไม่ให้ “ผู้รับข้อมูล” นำข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นความลับไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญา การทำ NDA อาจจะอยู่ในรูปแบบ 1-way ซึ่งมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น หรือ 2-way ในกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลไม่ถือว่าผิดสัญญาในบางกรณี เช่น เมื่อหมดระยะเวลาที่ต้องรักษาข้อมูลเป็นความลับตามที่ระบุในสัญญา การใช้ในการพิจารณาของศาลฯ หรือเมื่อข้อมูลกลายเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว เป็นต้น NDA ที่ดีควรประกอบด้วยอย่างน้อย:

    • ลักษณะของข้อมูลที่เป็นความลับที่ต้องการให้ NDA คุ้มครอง
    • ตัวตนตามกฎหมายของฝ่ายผู้ให้ข้อมูล และผู้รับข้อมูล
    • 1-way หรือ 2-way
    • จุดประสงค์ของการทำ NDA
    • ใครสามารถเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลได้บ้าง และเพื่ออะไร
    • ระยะเวลาการคุ้มครองภายใต้ NDA

เนื่องจาก พรบ. สิทธิบัตร ระบุไว้ว่าสิ่งที่จะนำมาจดสิทธิบัตรได้ต้องเป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยมีมาก่อน ไม่เหมือนกับเอกสารสิทธิบัตรของผู้อื่นที่ได้ยื่นไปก่อนหน้าแล้ว และไม่เคยมีการเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เช่น มีการวางขาย ประกาศโฆษณา ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือออกงานแสดงสินค้า ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์ หรือ ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ จำเป็นที่จะต้องห้ามให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ต้องการจดสิทธิบัตรถูกเปิดเผยออกไปก่อนการยื่นคำขอเป็นเด็ดขาด แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยให้ผู้อื่นรับรู้ เช่น ผู้ร่วมวิจัยจากภายนอก หรือ นายทุนหรือบริษัทที่สนใจให้ทุนสนับสนุน เพื่อช่วยเร่งการพัฒนางานประดิษฐ์หรือออกแบบให้เสร็จสิ้น NDA จะมีความจำเป็นในการนำมาควบคุมข้อมูลไม่ให้รั่วไหลออกไปก่อนวันที่ยื่นคำขอฯ  ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนสร้าง IP ใหม่ๆ ผมอยากให้คุณย้อนกลับมาตรวจสอบสัญญาทั้ง 4 แบบว่าครอบคลุมเงื่อนไขและข้อกำหนดด้าน IP เพียงพอหรือไม่ คู่สัญญาของคุณ ทั้งลูกจ้างภายใน และภายนอก รวมถึงพันมิตรทางธุรกิจ เข้าใจเรื่อง IP และความสำคัญของการดูแล IP ของคุณมากพอหรือเปล่า หากทุกฝ่ายเข้าใจ มีความชัดเจนในประเด็นนี้ พร้อมลงนามร่วมกันในสัญญา การร่วมมือกันสร้าง ปกป้อง และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จาก IP ในอนาคต จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงแน่นอนครับ

Facebook
Twitter
LinkedIn

cover 4contract

4 สัญญาที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

“การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา” หรือ “IP Management” ไม่ได้มีเพียงการวางแผนเพื่อดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ฯลฯ หรือบริหารจัดการทะเบียน IP ให้เข็มแข็งเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจเท่านั้น แต่จำเป็นที่นักธุรกิจอย่างเราต้องมีการเตรียม “เอกสารทางกฎหมาย” หรือ สัญญาต่างๆ ที่จะช่วยทำให้ธุรกิจนั้นปลอดภัยจากการโดนละเมิด ฟ้องร้องคดี และสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้หากคู่สัญญามีเจตนาละเมิด เช่น ขโมยความลับทางการค้าของบริษัท หรือไม่สามารถช่วยเราคุ้มครอง IP ได้ตามข้อกำหนดได้จริง ซึ่งการคุ้มครอง/ปกป้อง IP ให้มีประสิทธิภาพสูง ควรใช้กระบวนการที่ผมจะขอเรียกว่า 2-Layer Defense System ซึ่งหมายถึงการปกป้อง IP อย่างน้อย 2 ระดับชั้น: (1) ระดับของสัญญา; และ (2) ระดับของ IP ที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง โดย การคุ้มครองในระดับของสัญญานั้น ควรเกิดขึ้นก่อนการยื่นขอรับความคุ้มครอง IP แล้วด้วยซ้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของใน IP และข้อพิพาทที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อมีสิ่งที่เป็น IP เกิดขึ้นมาในกระบวนการทางธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซอฟแวร์ใหม่ หรืองานกราฟิกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในบริษัทโดยลูกจ้างเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา หรือผู้รับจ้าง/ให้บริการภายนอกเป็นผู้คิดค้น ออกแบบ หรือสร้างสรรค์ให้เรา เป็นต้น ทั้งนี้ ในการทำแผน IP Management ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สัญญาที่สำคัญมากที่ทุกๆบริษัท ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม มี 4 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้:

 

1. สัญญาจ้างงาน (Employment Agreement) : เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของคุณดูแล IP ของคุณอย่างที่คุณต้องการ เนื่องจากพนักงานเป็นคนสร้าง IP เกือบทั้งหมดภายในบริษัท/องค์กร และมีการใช้ประโยชน์จากมันอยู่เป็นประจำ พนักงานทุกคนควรที่จะต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของใน IP ข้อมูลต่างๆที่มีความอ่อนไหวต่อบริษัทหรือเป็นความลับทางการค้า รวมถึงสิทธิและความรับผิดชอบของพวกเขาต่อบริษัท ดังนั้น การสร้างวัฒนธรรมที่ปลูกฝังและส่งเสริมความตระหนักถึง IP (IP Aware Culture) เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำตั้งแต่ต้น งานประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ ซอฟแวร์ งานดีไซน์ต่างๆที่พนักงานออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาภายใต้ขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยใช้ทรัพยากรของบริษัท และซึ่งเกิดขึ้นภายในเวลาการทำงานให้กับบริษัท IP เหล่านั้นควรที่จะตกเป็นของบริษัท หรือได้รับการโอนสิทธิหลังจากที่มีการสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ หรือคิดค้นขึ้นมา แต่ในทางกลับกัน พนักงานทุกคนก็มีชีวิตส่วนตัว และหากสิ่งเหล่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่พวกเขาตกลงทำให้แก่บริษัท ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องโอนสิทธิใน IP ให้กับบริษัทด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การทำสัญญาจ้างงานที่ถูกต้อง และป้องกันปัญหาด้าน IP ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างในอนาคต นอกจากการมีข้อกำหนดไม่ให้เปิดเผยความลับของบริษัท (non-disclosure clause) หรือไม่ทำงานให้คู่แข่งหรือค้าแข่ง (non-compete clause) ในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ก็ควรมีข้อกำหนดในสัญญาที่กล่าวถึง:

    • IP ที่จะตกเป็นของบริษัท และของลูกจ้าง/พนักงาน
    • สิ่งที่พนักงานต้องเก็บเป็นความลับ และที่สามารถเปิดเผยได้
    • การให้พนักงานให้ความร่วมมือช่วยบริษัทในการถือครอง IP และงานประดิษฐ์ตามความเหมาะสม
    • ข้อมูลที่บริษัทอนุญาตให้พนักงานใช้ และห้ามใช้หลังลาออกจากบริษัท

 

 2. สัญญาที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า/ซัพพลายเออร์  (Customer/Supplier Agreement) : เพื่อแจ้งให้พวกเขาเคารพ และช่วยดูแลรักษาสิทธิของคุณ คงไม่มีธุรกิจไหนสามารถทำทุกอย่างเองได้ทั้งหมด การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในห่วงโซ่อุปทานต้องมีการทำสัญญาเพื่อการสร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจของคุณมากขึ้น และการเสริมข้อกำหนดด้าน IP เข้าไปเป็นเรื่องที่จำเป็นเนื่องจากข้อพิพาทด้าน IP (IP-related disputes) มักจะมีให้เห็นกันบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้น เงื่อนไขที่เราต้องเพิ่มไปในสัญญากับลูกค้า ตัวแทนจำหน่วย ซัพพลายเออร์ หรือ OEM ของคุณ รวมถึง:

  • หากคุณเป็นซัพพลายเออร์ ควรมีเงื่อนไขและข้อกำหนดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของใน IP (ระบุ IP ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสัญญา และใบเสนอราคาทุกฉบับ) และสิทธิในการใช้ IP งานอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจมีการระบุไม่ให้แกะหรือแยกชิ้นส่วน หรือห้ามทำวิศวกรรมย้อนกลับ และบางที หากเป็นสินค้าตัวอย่างหรืองานต้นแบบที่มีความอ่อนไหวสูง เจ้าของงานอาจห้ามไม่ให้ผู้ซื้อเปิดเผยกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก พร้อมให้ทำลายหลักฐานหรือส่งกลับตัวอย่างนั้นเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
  • ในการแต่ตั้งตัวแทนจำหน่าย สัญญาควรระบุขอบเขตสิทธิของตัวแทนจำหน่ายในการใช้ IP ของคุณให้ชัดเจน รวมถึงประเภทของ IP ที่สามารถใช้ในการโปรโมท (เครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) ตลาดหรือแหล่งที่สามารถขายได้ (ประเทศ/จังหวัด, website/social media/platform ฯลฯ) ลักษณะของตัวแทน (exclusive/non-exclusive/sole, sub-contractor ฯลฯ) ซึ่งควรให้ตัวแทนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการละเมิด IP และแจ้งเบาะแสกับเราเมื่อพบเจอสินค้าปลอม หรือเลียนแบบ รวมถึงการให้ตัวแทนมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาและปกป้อง IP ของเราได้ด้วยเช่นกัน

 

 3. แบบโอนสิทธิ (Assignment Form) : เพื่อให้มั่นใจว่าคุณเป็นเจ้าของสิทธิ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย หากคุณยังไม่ทราบ การจ้างคนนอก เช่น agency หรือ freelance เพื่อช่วยโปรโมทธุรกิจของคุณ เช่น การสร้างงานวรรณกรรม ภาพวาด รูปถ่าย เว็บไซต์ ฯลฯ พวกลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างสรรค์นั้น จะตกเป็นของ agency หรือ freelance ที่คุณไปว่าจ้างโดย “อัตโนมัติ” ซึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ คุณมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียม “แบบหรือสัญญาโอนสิทธิ” เพื่อให้พวกเขาโอนสิทธิใน IP มาให้คุณภายหลังจากที่มีการสร้างสรรค์งานดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการทำสัญญาจ้างที่ระบุถึงสิทธิและการเป็นเจ้าของใน IP ของผู้ว่าจ้างไว้ก่อนหน้านี้ก็ดี แต่ยังมีความจำเป็นที่คุณต้องเตรียมแบบโอนสิทธิไว้อีกฉบับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับ agency เดิม หากคุณมีแผนจ้าง agency หรือ freelance ที่อื่นๆอีกในอนาคต หรือจะปรับแต่งผลงานเองในภายหลัง ซึ่งข้อกำหนดที่ควรมีในแบบโอนสิทธิ รวมถึง:

    • Agency/freelance โอนสิทธิในงานที่สร้างสรรค์ทั้งหมดให้บริษัทของคุณ ซึ่งคุณสามารถก๊อปปี้ ดัดแปรง และใช้ประโยชน์จากมันตามที่คุณต้องการได้
    • Agency/freelance จะสละ “ธรรมสิทธิ์” หรือ “Moral rights” ในงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับของตนซึ๋งอาจทำให้มีปัญหาในการโอนหรือมอบสิทธิให้กับผู้อื่นได้ เพราะถ้าไม่มีข้อกำหนดดังกล่าว เจ้าของงานสร้างสรรค์จะสามารถบังคับใช้สิทธิหรือโต้แย้งการดัดแปลง แก้ไขผลงานกับคุณได้ในภายหลัง
    • Agency/freelance ยินดีชดใช้ค่าเสียหาย (Indemnify) ให้คุณหากคุณโดนฟ้องร้อง ดำเนินคดีละเมิดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณไปว่าจ้างให้ agency หรือ freelance ดังกล่าวสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่า ถึงคุณจะเป็นเจ้าของผลงาน แต่ความรับผิดชอบ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิด IP ของบุคคลอื่น จะตกเป็นภาระของผู้สร้างสรรค์

 

 4. สัญญาให้รักษาข้อมูลเป็นความลับ (Non-Disclosure Agreement: NDA) : เพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่เปิดเผยแผนการหรือข้อมูลความลับออกไปโดยไม่ได้ขออนุญาตคุณก่อน เริ่มมีคนในแวดวงธุรกิจกล่าวประโยคว่า “Data Is the New Oil” กันมากขึ้น ซึ่งผมเองก็เริ่มเห็นด้วย เพราะข้อมูลที่บริษัทเราสะสมทุกวัน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การพัฒนาสินค้า บริการ หรือ offer ต่างๆให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น หรือ know-hows ของบริษัทที่สำคัญ ไม่ว่าจะผลการทดลอง สูตรยา เทคนิคพิเศษ โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ ฯลฯ  ดังนั้นการทำ NDA หรือ CDA เป็นสัญญาที่สำคัญมากอันดับต้นๆ ซึ่งใช้กันบ่อยมากในทุกวงการเพื่อป้องกันไม่ให้ “ผู้รับข้อมูล” นำข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นความลับไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญา การทำ NDA อาจจะอยู่ในรูปแบบ 1-way ซึ่งมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น หรือ 2-way ในกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลไม่ถือว่าผิดสัญญาในบางกรณี เช่น เมื่อหมดระยะเวลาที่ต้องรักษาข้อมูลเป็นความลับตามที่ระบุในสัญญา การใช้ในการพิจารณาของศาลฯ หรือเมื่อข้อมูลกลายเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว เป็นต้น NDA ที่ดีควรประกอบด้วยอย่างน้อย:

    • ลักษณะของข้อมูลที่เป็นความลับที่ต้องการให้ NDA คุ้มครอง
    • ตัวตนตามกฎหมายของฝ่ายผู้ให้ข้อมูล และผู้รับข้อมูล
    • 1-way หรือ 2-way
    • จุดประสงค์ของการทำ NDA
    • ใครสามารถเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลได้บ้าง และเพื่ออะไร
    • ระยะเวลาการคุ้มครองภายใต้ NDA

เนื่องจาก พรบ. สิทธิบัตร ระบุไว้ว่าสิ่งที่จะนำมาจดสิทธิบัตรได้ต้องเป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยมีมาก่อน ไม่เหมือนกับเอกสารสิทธิบัตรของผู้อื่นที่ได้ยื่นไปก่อนหน้าแล้ว และไม่เคยมีการเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เช่น มีการวางขาย ประกาศโฆษณา ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือออกงานแสดงสินค้า ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์ หรือ ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ จำเป็นที่จะต้องห้ามให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ต้องการจดสิทธิบัตรถูกเปิดเผยออกไปก่อนการยื่นคำขอเป็นเด็ดขาด แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยให้ผู้อื่นรับรู้ เช่น ผู้ร่วมวิจัยจากภายนอก หรือ นายทุนหรือบริษัทที่สนใจให้ทุนสนับสนุน เพื่อช่วยเร่งการพัฒนางานประดิษฐ์หรือออกแบบให้เสร็จสิ้น NDA จะมีความจำเป็นในการนำมาควบคุมข้อมูลไม่ให้รั่วไหลออกไปก่อนวันที่ยื่นคำขอฯ  ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนสร้าง IP ใหม่ๆ ผมอยากให้คุณย้อนกลับมาตรวจสอบสัญญาทั้ง 4 แบบว่าครอบคลุมเงื่อนไขและข้อกำหนดด้าน IP เพียงพอหรือไม่ คู่สัญญาของคุณ ทั้งลูกจ้างภายใน และภายนอก รวมถึงพันมิตรทางธุรกิจ เข้าใจเรื่อง IP และความสำคัญของการดูแล IP ของคุณมากพอหรือเปล่า หากทุกฝ่ายเข้าใจ มีความชัดเจนในประเด็นนี้ พร้อมลงนามร่วมกันในสัญญา การร่วมมือกันสร้าง ปกป้อง และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จาก IP ในอนาคต จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงแน่นอนครับ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ