OUR BLOG

5 เทคโนโลยีสำหรับ “สังคมผู้สูงอายุ”

เตรียมความพร้อม 5 เทคโนโลยีสู่ “สังคมผู้สูงอายุ“

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ – เป็นที่ทราบกันมาสักพักแล้วครับว่า ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2533 แล้ว ซึ่งตามข้อมูลขององกรณ์สหประชาชาติ กล่าวว่าหากมีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุเกิน 65 ปี เกิน 14 เปอร์เซ็นต์ ก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ จะเข้าสู่สังคมที่อุดมไปด้วยผู้สูงอายุ

คำถามคือ “สังคมผู้สูงอายุ” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับประเทศ และเราควรตั้งรับต่อปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร? สังคมผู้สูงอายุ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมครั้งใหญ่ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว จะเพิ่มสูงขึ้น วัยทำงานต้องมีภาระหนักขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ กรอบระยะเวลาการทำงานจะยาวนานขึ้น เช่นจากปกติกำหนดให้มีการเกษียณอายุตอน 60 ปี ก็อาจจะต้องเพิ่มเป็น 65 ปี เพื่อตอบสนองต่อตลาดวัยทำงานที่มีจำนวนลดลง 

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ได้มีการเตรียมความพร้อมของประเทศในระดับหนึ่งเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่ก็ถือว่ายังไม่ตื่นตัวพอสมควรกับระยะเวลาอีกเพียง 15 ปีข้างหน้านี้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรองรับปรากฏการณ์ต่างๆ ถือได้ว่ายังน้อยมากๆ ดังนั้นในอีกหลายสัปดาห์ต่อจากนี้ ผมจะลงลึกในเทคโนโลยีแต่ละตัว ที่ใช้ตอบสนองต่อความต้องการในช่วงเวลาของสังคมผู้สูงอายุ โดยสัปดาห์นี้จะเริ่มจาก เกลิ่นนำ 5 เทคโนโลยีหลัก อันจะได้เจาะลึกเป็นรายเทคโนโลยีต่อไป  

%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3

ข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

BigData

ฐานข้อมูล

เทคโนโลยีที่นำ “Big Data” เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และเก็บข้อมูล เช่น ระยะเวลาการรับประทานยา, เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหว เพื่อตรวจดูการออกกำลังกายหรือกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุ, บันทึกประวัติสุขภาพ, ตารางนัดพบแพทย์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างหลากหลาย

motion sensor

อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว

จากไฟ LED ปกติ ที่เราใช้ให้ความสว่างในตอนกลางคืนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดเป็นเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ยกตัวอย่างเช่นอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ติดตั้งบนหุ่นยนต์ช่วยเหลือ ซึ่งสามารถเห็นว่ามีคนอยู่ในห้องหรือไม่ โดยดูจากคลืนความร้อนของมนุษย์ หรือถูกพัฒนาให้ติดตั้งบนอ่างน้ำหรือเตาอบ ที่สามารถปิดระบบอัติโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้องนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

interaction solfware

อุปกรณ์เพื่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงอายุมักประสบคือ ความโดดเดี่ยวจากความคิดถึงลูกหลาน หรือไม่ค่อยมีโอกาสในการพูดคุยกับผู้อื่น การได้พูดคุยหรือพบเจอสังคมจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความสุขและสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาด้านนี้ได้จึงเปรียบเสมือนยาชั้นดีที่ช่วยเยียวยาจิตใจของผู้สูงอายุ

ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยหน้าจอสัมผัสที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย เช่น สไกป์, เฟซบุค, วีดีโอหรือรูปภาพของครอบครัว หรือที่สำคัญการโทรศัพท์หาลูกหลานได้อย่างง่ายดาย 

GPS

จีพีเอส (GPS)

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุคือการหลงลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าออกจากบ้านพักแล้ว ลืมเส้นทางกลับบ้าน ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยด้านนี้คือการใช้ GPS ในการนำทางผู้สูงอายุหรือเด็กกลับมายังบ้านได้ถูกต้อง หรือช่วยให้คนในครอบครัวสามารถตามหาคนเหล่านั้นได้ในลักษณะของการติดเเท็ก เช่น อุปกรณ์ติดตามยี่ห้อหนึ่งที่พัฒนาให้อยู่ในรูปของรองเท้า เพราะแท็กโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นกำไร หรือสร้อยมักเกิดการหลงลืมไว้ในห้องน้ำได้ง่าย แต่ถ้าเป็นรองเท้าก็คงยากที่คนจะออกจากบ้านแล้วลืมใส่รองเท้า

robot

หุ่นยนต์

ปัจจุบันเทคโนโลหุ่นยนต์ไม่ได้เป็นที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากปัจจัยด้านราคา แต่ทั้งนี้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติที่ได้เริ่มมีใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ให้ราคาถูกลงอย่างแน่นอน โดยในอีกไม่นานเราจะเห็นหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สำหรับเจ้าหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุนี้ ก็มีด้วยกันในหลายลักษณะเช่น หุ่นยนต์สำหรับอุ้ม หุ่นยนต์เพื่อการเอนเตอร์เทรนหรือหุ่นยนต์สำหรับแจ้งเตือนเวลาการรับประทานยาหรือพบแพทย์ เป็นต้น

ข้อมูลโดย Enlightive (ศึกษาบริการเพิ่มเติม https://idgthailand.com/enlightive-methodology/

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ