OUR BLOG

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ “บุหรี่”

idg 201802 36

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับบุหรี่
31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

บุหรี่และยาสูบ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใกล้ชิดชีวิตของเยาวชนยุคปัจจุบันแบบใกล้ปลายจมูก เทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เยาวชนเข้าถึงข้อมูลและแหล่งซื้อขายได้อย่างง่ายดาย เป็นสัญญาณได้ว่าหากมีนักสูบหน้าใหม่เป็นเด็กและเยาวชนมากขึ้นเท่าใด สถานการณ์การสูบบุหรี่ในอนาคตก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

และในวันงดสูบบุหรี่โลกปีนี้  IDG ขอนำเสนอข้อมูลให้ผู้ที่คิดอยากสูบบุหรี่หรือที่กำลังเป็นนักสูบอยู่ ได้ตระหนักถึงอันตรายและพิษภัยของบุหรี่ กับความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับบุหรี่ 6 ข้อ ต่อไปนี้ครับ

Banner 31 5 2018 cr 02

1. สูบบุหรี่ช่วยลดความอ้วนได้

แม้จะมีกระแสนิยมนี้ในต่างประเทศ เพราะเชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะมีสารชนิดหนึ่งไปกดประสาทส่วนที่คอยกระตุ้นความหิว ทำให้ไม่ค่อยหิวหรืออยากอาหาร  แต่ในความเป็นจริงคือยังไม่มีผลการศึกษาใดมายืนยันได้ว่า  การสูบบุหรี่เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผล  ที่สำคัญ คือ ร่างกายจะได้รับสารพิษจากการสูบบุหรี่ ที่อาจส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่ามากการลดน้ำหนัก

Banner 31 5 2018 cr 03

2. บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกประกาศแล้วว่า “บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่” โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับล่าสุด คือ ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA ชี้ว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (e-Cigarette) ไม่ได้ทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ลดลงหลังจากการใช้ 1 ปี แต่อย่างใด และที่สำคัญในบุหรี่ไฟฟ้ามี “นิโคติน” ที่เข้มข้น ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพมากอีกด้วย

Banner 31 5 2018 cr 05

3. ช่วยให้สมองแล่นคิดงานได้

 ช่วยให้สมองแล่น คิดงานได้  ผลลัพธ์นี้เกิดจากสิ่งที่ผู้สูบ “คาดไว้” ในใจมากกว่า ด้วยพิษของ “นิโคติน” ที่ส่งผลต่อสมอง ทำให้ผู้สูบคิดว่าได้ผลลัพธ์ คือ คลายเครียดจนเกิดไอเดียผลิตงานได้ แต่แท้จริงแล้วนี่คือ ผลลวง (Placebo Effect) หรือที่เราเรียกว่า “มโน” ไว้ล่วงหน้าก่อน (Nicotine & Tobacco Research Volume 5, Number 5 (October 2003) 695-709)

Banner 31 5 2018 cr 06

4. สูบบุหรี่ดีกว่าดื่มเหล้า

 สูบบุหรี่ดีกว่าดื่มเหล้า  จากการสำรวจพบว่า การสูบบุหรี่มีส่วนกระตุ้นให้มีโอกาสยกเหล้าเข้าปากมากขึ้น ลองสังเกตง่ายๆ เวลาอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ ก็มักชวนให้รู้สึก “อยาก” ไปด้วย และเพื่อไม่ให้เหงาปากเพิ่ม ก็มักมีการดื่มเหล้าเข้ามาด้วย จากการศึกษาชี้ว่า ถ้าเสพสูบบุหรี่กับเหล้าร่วมกันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งช่องปากและคออย่างทวีคูณ (Multiplicative effect)

Banner 31 5 2018 cr 07

5. บุหรี่แบบสลิมปลอดภัยกว่า

 บุหรี่แบบสลิมปลอดภัยกว่า  ขึ้นชื่อว่าบุหรี่มียาสูบแล้ว ล้วนแต่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งสิ้น ซ้ำร้ายบุหรี่ที่ให้รสสัมผัสหอมเย็นอย่าง “เมนทอล” ยิ่งทำให้ผู้สูบ “ติด” ง่ายขึ้นกว่าบุหรี่ทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์คือได้ “นิโคติน” และ “น้ำมันดิน” ที่เป็นอันตรายเหมือนกัน

Banner 31 5 2018 cr 08

6. สูบแบบไม่สูดควันลงปอดไม่เป็นอะไร

 สูบแบบไม่สูดควันลงปอดไม่เป็นอะไร  การสูบบุหรี่วิธีนี้ไม่ใช่ทางออก เพราะทันทีที่สูบบุหรี่ ควันจะลงปอดไม่มากก็น้อย ขณะที่ยังมีสารเคมีบางส่วนสามารถฉาบอยู่บนฟันและเหงือก ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก

เห็นมั้ยครับว่า “บุหรี่” มีแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย วัดงดสูบบุหรี่โลก ปีนี้ IDG ก็อยากเชิญชวนให้ทุกคน “ลด-ละ-เลิก” การสูบบุหรี่กันนะครับ เพื่อต่อประโยชน์ตัวคุณเองและคนที่คุณรัก

ที่มา : หนังสือ คู่มือชุดนิทรรศการยืม-คืน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตประเด็น “บุหรี่และยาสูบ”
จัดทำโดย : สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ