OUR BLOG

6 Checklist ควรจดทะเบียนบริษัทตอนไหนดี ?

จดทะเบียนบริษัท

     ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเมื่อทำธุรกิจไปได้สักระยะหนึ่งก็อาจจะเกิดคำถามว่า ควรจดจัดตั้งบริษัทเลยไหม? หรือ ต้องจดทะเบียนบริษัทตอนไหน? ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตเป็นอย่างมาก ด้วยปัญหาที่อาจเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี หรือการสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ จึงเป็นที่น่าหนักใจว่าควรเดินหน้าธุรกิจต่อไปในแนวทางไหน วันนี้ IDG มีเช็กลิสต์คร่าว ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการประเมินความพร้อมของคุณในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาไปสู่นิติบุคคล

  1. ธุรกิจที่ทำมีผู้ร่วมลงทุนหลายคน

หากธุรกิจมีการขยับขยายหรือเติบโตมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การแบ่งปันผลตอบแทนกรณีที่เป็นธรรมดาระหว่างกันอาจเกิดปัญหาตามมา ดังนั้นการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะมีข้อตกลงระหว่างกันที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการแบ่งสัดส่วนผลตอบแทน เนื่องจากจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้ามารับรองสิทธิ์ของผู้ร่วมลงทุนแต่ละราย เช่น การแบ่งเงินปันผล สัดส่วนการลงทุน หน้าที่ความรับผิด เป็นต้น

  1. ธุรกิจจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือ

บางธุรกิจการสร้างความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ การทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา การตรวจสอบสถานะของเจ้าของธุรกิจเป็นไปได้ยากเนื่องจากปัจจุบันมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากมีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมาย การตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบผ่านระบบคลังข้อมูลธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ โดยสามารถตรวจสอบทุนจดทะเบียน งบการเงินล่าสุด รวมถึงผลประกอบการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่การทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย

  1. ธุรกิจจำเป็นต้องมีการขอสินเชื่อ หรือหาผู้ลงทุนเพิ่มหรือไม่

ในมุมของการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การเป็นบริษัท หรือ นิติบุคคลนั้นมีประโยชน์มากกว่า เพราะมีทั้งเรื่องของความน่าเชื่อถือ ข้อมูลต่าง ๆ เช่น งบการเงิน แผนธุรกิจ หรือโอกาสได้รับกระแสเงินสดในอนาคต สามารถทำให้ผู้ให้สินเชื่อ หรือ คนที่จะมาร่วมทุนใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

  1. อยากเปิดบริษัทเพราะกังวลเรื่องภาษี

ในกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ถ้าหากเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) มีจำนวนน้อย การทำธุรกิจในฐานบุคคลธรรมดาจะมีอัตราภาษีที่น้อยกว่า แต่ถ้าหากธุรกิจมีรายได้มากและคาดการณ์ว่าจะเติบโตอีกในอนาคต การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้เสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่า

  1. ธุรกิจมีความพร้อมในการทำเอกสารหรือไม่

การจัดทำเอกสาร หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารรายได้ เอกสารค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา และบางกรณีอาจมีความซับซ้อน ในการเสียภาษีหากทำธุรกิจโดยไม่สามารถหาหลักฐานการจ่ายเงินได้ รายจ่ายเหล่านั้นก็จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย แต่ในทางกลับกัน เมื่อเป็นบุคคลธรรมดา กิจการบางอย่าง เช่น 40 (8) ขายของแบบซื้อมาขายไปหรือการขายของออนไลน์ ก็สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% โดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานในการคำนวณภาษี 

  1. ธุรกิจเราจะได้กำไรเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่

การจ่ายภาษีที่น้อยลงไม่ใช่คำตอบของการตั้งธุรกิจเสมอไป การวางแผนและคำนวณตัวเลขที่วัดผลได้อย่างรอบครอบ เป็นตัวชี้วัดสุดท้ายที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคง เพราะเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นย่อมมีเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น การจ้างแรงงาน การตลาด และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจควรวางแผนระยะยาวล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจตั้งบริษัท

เราหวังว่า Checklist ข้างต้นจะพอเป็นแนวทางให้กับเจ้าของธุรกิจที่กำลังสับสนว่าควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ และหากท่านยังมีข้อสงสัยในเรื่องของการจดทะเบียนบริษัท  IDG เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและรับจดจัดตั้งนิติบุคคล รวมถึงรับปรึกษาทางด้านกฎหมายและภาษีฟรี พร้อมเตรียมเอกสารคำขอให้ท่านอย่างครบถ้วน เพื่อช่วยประหยัดเวลาแก่เจ้าของธุรกิจที่ต้องการมีบริษัทเป็นของตนเอง

ติดต่อเราได้ที่ : 
Line: @idgthailand (มี@)
E-Mail: [email protected]
Facebook : Intellectual Design Group
โทร: 02-011-7161 ต่อ 106 ฝ่ายกฏหมาย

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

จดทะเบียนบริษัท

     ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเมื่อทำธุรกิจไปได้สักระยะหนึ่งก็อาจจะเกิดคำถามว่า ควรจดจัดตั้งบริษัทเลยไหม? หรือ ต้องจดทะเบียนบริษัทตอนไหน? ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตเป็นอย่างมาก ด้วยปัญหาที่อาจเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี หรือการสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ จึงเป็นที่น่าหนักใจว่าควรเดินหน้าธุรกิจต่อไปในแนวทางไหน วันนี้ IDG มีเช็กลิสต์คร่าว ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการประเมินความพร้อมของคุณในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาไปสู่นิติบุคคล

  1. ธุรกิจที่ทำมีผู้ร่วมลงทุนหลายคน

หากธุรกิจมีการขยับขยายหรือเติบโตมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การแบ่งปันผลตอบแทนกรณีที่เป็นธรรมดาระหว่างกันอาจเกิดปัญหาตามมา ดังนั้นการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะมีข้อตกลงระหว่างกันที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการแบ่งสัดส่วนผลตอบแทน เนื่องจากจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้ามารับรองสิทธิ์ของผู้ร่วมลงทุนแต่ละราย เช่น การแบ่งเงินปันผล สัดส่วนการลงทุน หน้าที่ความรับผิด เป็นต้น

  1. ธุรกิจจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือ

บางธุรกิจการสร้างความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ การทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา การตรวจสอบสถานะของเจ้าของธุรกิจเป็นไปได้ยากเนื่องจากปัจจุบันมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากมีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมาย การตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบผ่านระบบคลังข้อมูลธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ โดยสามารถตรวจสอบทุนจดทะเบียน งบการเงินล่าสุด รวมถึงผลประกอบการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่การทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย

  1. ธุรกิจจำเป็นต้องมีการขอสินเชื่อ หรือหาผู้ลงทุนเพิ่มหรือไม่

ในมุมของการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การเป็นบริษัท หรือ นิติบุคคลนั้นมีประโยชน์มากกว่า เพราะมีทั้งเรื่องของความน่าเชื่อถือ ข้อมูลต่าง ๆ เช่น งบการเงิน แผนธุรกิจ หรือโอกาสได้รับกระแสเงินสดในอนาคต สามารถทำให้ผู้ให้สินเชื่อ หรือ คนที่จะมาร่วมทุนใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

  1. อยากเปิดบริษัทเพราะกังวลเรื่องภาษี

ในกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ถ้าหากเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) มีจำนวนน้อย การทำธุรกิจในฐานบุคคลธรรมดาจะมีอัตราภาษีที่น้อยกว่า แต่ถ้าหากธุรกิจมีรายได้มากและคาดการณ์ว่าจะเติบโตอีกในอนาคต การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้เสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่า

  1. ธุรกิจมีความพร้อมในการทำเอกสารหรือไม่

การจัดทำเอกสาร หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารรายได้ เอกสารค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา และบางกรณีอาจมีความซับซ้อน ในการเสียภาษีหากทำธุรกิจโดยไม่สามารถหาหลักฐานการจ่ายเงินได้ รายจ่ายเหล่านั้นก็จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย แต่ในทางกลับกัน เมื่อเป็นบุคคลธรรมดา กิจการบางอย่าง เช่น 40 (8) ขายของแบบซื้อมาขายไปหรือการขายของออนไลน์ ก็สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% โดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานในการคำนวณภาษี 

  1. ธุรกิจเราจะได้กำไรเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่

การจ่ายภาษีที่น้อยลงไม่ใช่คำตอบของการตั้งธุรกิจเสมอไป การวางแผนและคำนวณตัวเลขที่วัดผลได้อย่างรอบครอบ เป็นตัวชี้วัดสุดท้ายที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคง เพราะเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นย่อมมีเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น การจ้างแรงงาน การตลาด และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจควรวางแผนระยะยาวล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจตั้งบริษัท

เราหวังว่า Checklist ข้างต้นจะพอเป็นแนวทางให้กับเจ้าของธุรกิจที่กำลังสับสนว่าควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ และหากท่านยังมีข้อสงสัยในเรื่องของการจดทะเบียนบริษัท  IDG เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและรับจดจัดตั้งนิติบุคคล รวมถึงรับปรึกษาทางด้านกฎหมายและภาษีฟรี พร้อมเตรียมเอกสารคำขอให้ท่านอย่างครบถ้วน เพื่อช่วยประหยัดเวลาแก่เจ้าของธุรกิจที่ต้องการมีบริษัทเป็นของตนเอง

ติดต่อเราได้ที่ : 
Line: @idgthailand (มี@)
E-Mail: [email protected]
Facebook : Intellectual Design Group
โทร: 02-011-7161 ต่อ 106 ฝ่ายกฏหมาย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ