OUR BLOG

8 ข้อหลัก ๆ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 22

หลังจากบทความที่แล้วเราได้อธิบายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี (อ่านต่อคลิ๊ก)ไปแล้ว บทความนี้เราจะมาสิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี ทั้ง 8 ข้อ มีดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล

  • รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการโดยผู้รับไม่มีความผูกพันในทางธุรกิจการงานกับผู้ให้ เช่น ค่าน้ำมัน
    เงินช่วยเหลืองานบุญ ค่าโทรศัพท์ค่าใช้จ่ายแบบนี้ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจนถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว
  •  รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปโดยความรักใคร่ชอบพอกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งผู้รับไม่มีความผูกพันว่าจะต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตอบแทน หรือเรียกว่า การให้เปล่า
  • รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการกุศล หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปในการทำบุญทำทาน บริจาคทรัพย์สินช่วยการศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์หรือการอื่น ๆ ยกเว้นการบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศลสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เช่นโรงพยาบาลของรัฐ วัดวาอาราม สถานศึกษา สภากาชาดไทย และอื่น ๆ สามารถตรวจสอบรายชื่อในเว็บไซต์กรมสรรพากร

2. ค่ารับรอง เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ เป็นค่าสิ่งของให้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท และบุคคลที่รับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้างของกิจการ เว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือรับบริการนั้นด้วย และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรอง และค่ารับรองนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการค่ารับรองสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ และจะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

3. ค่าใช้จ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจ่ายให้ใคร เช่นบิลเงินสด ใบส่งของ หรือใบเสร็จรับเงินที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงินและการจ่ายค่าสินค้าและบริการที่ไม่ได้รับเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน (จ่ายแต่ไม่ได้บิล)

4. ค่าใช้จ่ายที่กำหนดขึ้นเอง แต่ไม่มีการจ่ายจริง ส่วนใหญ่จะพบได้ในกิจการที่ไม่ได้วางแผนภาษีไว้เมื่อตอนปิดงบพึ่งรู้ว่ากิจการมีกำไรเลยต้องตั้งค่าใช้จ่ายขึ้นมาลอยๆ เพื่อลดภาระภาษีที่เกิดขึ้น เช่น ค่าบริการตรวจสอบบัญชีค้างจ่าย,ค่าที่ปรึกษาค้างจ่าย หรือ ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นต้น

5. ค่าใช้จ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เช่นค่าน้ำประปา เดือนธันวาคม ปี 2562 จ่ายเงินในปี 2563 ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายปี 2562 ห้ามบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายปี 2563 ดังนั้นค่าใช้จ่ายต้องบันทึกให้ตรงรอบบัญชีที่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะชำระเงินปีไหนไม่เช่นนั้นจะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

6. เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรผู้ถือหุ้น (หรือเจ้าของกิจการ) สมควรได้ผลตอบแทนจากกิจการเป็นเงินเดือนบางคนถือโอกาสความเป็นผู้บริหาร จ่ายเงินเดือนตัวเองเยอะ ๆ เพื่อลดหย่อนภาษี แม้จะไม่ได้ระบุไว้ว่าเท่าไรถึงนับว่าสูงเกินแต่ก็ต้องสมเหตุสมผลกับผลประกอบการบริษัท ชั่วโมงทำงาน และประสบการณ์ หากผิดไปจากนี้ต้องระวังเจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้น
ส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน

7. ค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เช่นการซื้อทรัพย์สินที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี ซึ่งค่าใช้จ่ายในกลุ่มนี้เมื่อจ่ายไปแล้วจะได้มาซึ่งทรัพย์สินจึงลงเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้ เช่นการซื้อคอมพิวเตอร์ ราคา 30,000.บาท มาใช้ในกิจการ ราคาคอมพิวเตอร์จะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทันที แต่เป็นสินทรัพย์ของกิจการเนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้ประโยชน์หมดภายในวันเดียวกิจการจะรับรู้ค่าใช้จ่ายของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์

8. เบี้ยปรับ เงินเพิ่มทางภาษีอากร ค่าปรับอาญาและภาษี เป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะกรมสรรพากรมองว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายได้รับการลงโทษจากรัฐ จึงนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีของบริษัทไม่ได้ โดย

  • เบี้ยปรับเป็นมาตรการการลงโทษทางแพ่งกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
  • เงินเพิ่ม เป็นมาตรการการลงโทษทางแพ่งกับผู้ประกอบการที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีครบถ้วนภายในกำหนดเวลา
  • ค่าปรับทางอาญาเป็นจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ตามกฎหมาย รวมถึงภาษีซื้อของกิจการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อถูกเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีก็นำภาษีนั้นมาเครดิตโดยหักออกจากภาษีขายของตนในแต่ละเดือนภาษีหรือขอคืนภาษีที่ถูกเรียกเก็บนั้น

การวางแผนค่าใช้จ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการหากมีการจัดการที่ดีจะ
ทำให้กิจการมีโอกาศที่จะเสียภาษีลดลงได้และที่เราได้กล่าวมาข้างต้นนี้ก็เป็นข้อกว้างๆของค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษีว่าในทางภาษี
ไม่สามารถเอาค่าใช้จ่ายแบบใดบ้างมาคิดคำนวณเพื่อหาผลกำไรของกิจการได้แต่จริงๆแล้ว “ค่าใช้จ่ายต้องห้าม” ยังมีรายละเอียดอีกเยอะและมีข้อยกเว้นอีกมากซึ่งสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rd.go.th/publish/827.0.html

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ