OUR BLOG

ASEAN Big Brother การยื่นสิทธิบัตรสิงคโปร์

18

จากความเดิมตอนที่แล้ว ผู้เขียนมีความหวังเป็นอย่างยิ่งที่บทความดังกล่าวจะสามารถอธิบายให้ผู้อ่านให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยื่นขอรับความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายโอกาสทางการตลาดและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ป้องกันการถูกละเมิดงานประดิษฐ์ในต่างประเทศ ช่วยในการดึงดูดนักลงทุน รวมถึงเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร สำหรับบทความในตอนนี้ เราจะกลับมาที่การเจาะลึกถึงระบบสิทธิบัตรของแต่ละประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระเอกของเราในตอนนี้ก็คือ “ประเทศสิงคโปร์”นั่นเอง

ถึงแม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่เป็นประเทศผู้นำในด้านอุตสาหกรรมการผลิต มีโรงงานขนาดใหญ่ที่รองรับการผลิตเป็นจำนวนมากเหมือนประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่านโยบายของประเทศสิงคโปร์จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคการผลิต แต่ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้น ถือได้ว่าประเทศสิงคโปร์เองก็อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียหรือแม้กระทั่งตะวันตกเลย สังเกตได้จากการที่ประเทศสิงคโปร์มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและโทรคมนาคมที่ติดอันดับโลกมากมาย ซึ่งแต่ละบริษัทนั้นก็มีการพัฒนานวัตกรรมของตนเองไม่ใช่น้อย หรือแม้กระทั่งบริษัทสตาร์ทอัพ (startup) ก็มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในประเทสสิงคโปร์ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ เนื่องจากนโยบายที่เกื้อหนุนในการพัฒนาของนวัตกรรม นอกเหนือจากผู้ประกอบการชาวสิงคโปร์แล้ว ยังมีผู้ประกอบต่างชาติอีกจำนวนมากที่ยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ค่อนข้างสูง 

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับคำขอและตรวจสอบสิทธิบัตรของสิงคโปร์ ได้แก่ “สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสิงคโปร์” หรือ “Intellectual Property Office of Singapore (IPOS)” ซึ่งเป็นหนึ่งในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลก ถึงขนาดที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสำนักงานตรวจค้นระหว่างประเทศ (International Search Authority/ISA) ที่ผู้ยื่นคำขอสามารถเลือกสำนักงานดังกล่าวให้เป็นหน่วยงานตรวจค้น
เวลายื่นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (PCT) ได้เลย

ระบบสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์ 

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) มีอายุความคุ้มครอง 20 ปี โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุทุก ๆ ปี หลังจากได้รับ
    การจดทะเบียน 
  2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) มีอายุความคุ้มครอง 20 ปี โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุทุก ๆ 5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ยื่นคำขอ โดยเริ่มชำระหลังจากวันทีได้รับการจดทะเบียน

     

ในส่วนนี้ สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตคือ สำหรับงานประดิษฐ์ที่ต้องการขอรับความคุ้มครองในประเทศสิงคโปร์นั้น จะสามารถขอรับความคุ้มครองได้ในประเภท “สิทธิบัตรการประดิษฐ์” เท่านั้น หมายความว่า งานประดิษฐ์ดังกล่าวจะต้องผ่านเกณฑ์ทั้งในด้านความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม รวมถึงจะต้องมีการยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์อีกด้วย ดังนั้น ในกรณีที่ยื่นการประดิษฐ์ที่เป็นอนุสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์นั้น
มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับคำสั่งให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จึงจะได้รับจดทะเบียน เนื่องจากอนุสิทธิบัตรที่ยื่นเข้าประเทศสิงคโปร์นั้น จะถูกพิจารณาด้วยเกณฑ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งต้องมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นด้วย โดยระบบดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับระบบสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง ถึงแม้ว่าการยื่นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศสิงคโปร์อาจจะฟังดูมีเงื่อนไขมากมาย แต่สำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีความน่าสนใจเลยทีเดียว เนื่องจากมีอายุความคุ้มครองถึง 20 ปี นับตั้งแต่วันที่การยื่นคำขอเป็นครั้งแรก 

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อได้เปรียบอีกข้อหนึ่งของการยื่นสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การที่ประเทศสิงคโปร์นั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
ผู้ยื่นคำขอจึงไม่ต้องทำการแปลเป็นภาษาท้องถิ่นในการยื่น จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการแปลภาษาออกไป นอกเหนือจากนั้น สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสิงคโปร์ ยังมีการทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยเร่งรัดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็น 

1. Patent Prosecution Highway (PPH) 
ซึ่งโครงการนี้เราอาจจะค่อนคุ้นหู เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็มีโครงการดังกล่าวกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นเช่นกัน
แต่สำหรับประเทศสิงคโปร์นั้นได้มีการขยายความร่วมมือไปไกลกว่านั้นมาก โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญากว่า 30 สำนักงานจากประเทศทั่วโลกเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และยุโรป ซึ่งผลการตรวจค้นจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เร่งรัดขั้นตอนการตรวจสอบของประเทศสิงคโปร์ได้ เรียกได้ว่าเหมาะกับผู้ที่วางแผนที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองในหลาย ๆ ประเทศ 

2. The ASEAN Patent Examination Co-operation (ASPEC)
เป็นอีกชื่อหนึ่งที่เราค่อนข้างจะคุ้นหู เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็มีโครงการดังกล่าวเช่นกัน โดยผู้ยื่นคำขอสามารถใช้
ผลการตรวจค้นจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมาประกอบการตรวจค้นของประเทศสิงคโปร์ได้ ซึ่งโครงการนี้จะเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกมากกว่าการเร่งรัดการตรวจสอบ รวมถึงมีโควต้าคำขอที่จะยื่นผ่านระบบดังกล่าวที่จำกัดต่อเดือน และที่สำคัญ โดยส่วนมากแล้วกระบวนการตรวจค้นของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสิงคโปร์มักจะใช้เวลาดำเนินการที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนอื่น ๆ 

3. Patent Cooperation with Cambodia and Laos
โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และเหมาะสมกันการขอรับความคุ้มครองในหลาย ๆ ประเทศเป็นอย่างยิ่ง
โดยภายใต้โครงการนี้ สิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์แล้ว สามารถนำไปยื่นเข้าประเทศกัมพูชาและลาวได้อีกครั้ง (Re-register)
โดยถือเป็นคำขอเดียวกันได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเทศกำหนด 

วิธีการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์ 

ในการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์ สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผู้ยื่นสามารถยื่นได้ทั้งผ่านระบบการยื่นตรง (Direct route) และระบบสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (PCT) แต่ทั้งนี้ ในขั้นตอนการตรวจสอบของสิงคโปร์จะเป็นเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่
1. Search or Supplementary Search และ

2. Seach and Examination ในกรณีที่เป็นการยื่นตรงนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบทั้ง 2 ขั้นตอน ซึ่งทำให้ค่ามีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นมา ในขณะที่หากยื่นผ่านระบบ PCT จะได้รับการยกเว้นการตรวจสอบในขั้นตอนแรก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้ค่อนข้างมาก 

โดยสรุปแล้ว ประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจในการยื่นขอรับความคุ้มครอง เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของนักลงทุนที่จะลงทุนในนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติ การมีสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับการร่วมลงทุนเป็นอย่างมาก รวมถึงตลาดในประเศสิงคโปร์เองที่กำลังซื้อค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน จึงเหมาะที่จะนำสินค้าที่เป็นนวัตกรรมไปทำการตลาดเป็นอย่างยิ่ง 

หากพูดถึงประเทศสิงคโปร์แล้ว จะไม่พูดถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างประเทศมาเลเซียก็คงไม่ได้ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดเป็นอย่างมาก รวมถึงสำนักงานกฎหมายหรือตัวแทนสิทธิบัตรทั้งสองประเทศจำนวนมาก ก็ให้บริการดูแลคำขอทั้งสองประเทศควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นในตอนต่อไป เราจะมาอธิบายเจาะลึกถึงระบบสิทธิบัตรในประเทศมาเลเซียกันครับ 

Facebook
Twitter
LinkedIn
18

จากความเดิมตอนที่แล้ว ผู้เขียนมีความหวังเป็นอย่างยิ่งที่บทความดังกล่าวจะสามารถอธิบายให้ผู้อ่านให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยื่นขอรับความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายโอกาสทางการตลาดและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ป้องกันการถูกละเมิดงานประดิษฐ์ในต่างประเทศ ช่วยในการดึงดูดนักลงทุน รวมถึงเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร สำหรับบทความในตอนนี้ เราจะกลับมาที่การเจาะลึกถึงระบบสิทธิบัตรของแต่ละประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระเอกของเราในตอนนี้ก็คือ “ประเทศสิงคโปร์”นั่นเอง

ถึงแม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่เป็นประเทศผู้นำในด้านอุตสาหกรรมการผลิต มีโรงงานขนาดใหญ่ที่รองรับการผลิตเป็นจำนวนมากเหมือนประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่านโยบายของประเทศสิงคโปร์จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคการผลิต แต่ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้น ถือได้ว่าประเทศสิงคโปร์เองก็อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียหรือแม้กระทั่งตะวันตกเลย สังเกตได้จากการที่ประเทศสิงคโปร์มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและโทรคมนาคมที่ติดอันดับโลกมากมาย ซึ่งแต่ละบริษัทนั้นก็มีการพัฒนานวัตกรรมของตนเองไม่ใช่น้อย หรือแม้กระทั่งบริษัทสตาร์ทอัพ (startup) ก็มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในประเทสสิงคโปร์ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ เนื่องจากนโยบายที่เกื้อหนุนในการพัฒนาของนวัตกรรม นอกเหนือจากผู้ประกอบการชาวสิงคโปร์แล้ว ยังมีผู้ประกอบต่างชาติอีกจำนวนมากที่ยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ค่อนข้างสูง 

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับคำขอและตรวจสอบสิทธิบัตรของสิงคโปร์ ได้แก่ “สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสิงคโปร์” หรือ “Intellectual Property Office of Singapore (IPOS)” ซึ่งเป็นหนึ่งในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลก ถึงขนาดที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสำนักงานตรวจค้นระหว่างประเทศ (International Search Authority/ISA) ที่ผู้ยื่นคำขอสามารถเลือกสำนักงานดังกล่าวให้เป็นหน่วยงานตรวจค้น
เวลายื่นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (PCT) ได้เลย

ระบบสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์ 

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) มีอายุความคุ้มครอง 20 ปี โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุทุก ๆ ปี หลังจากได้รับ
    การจดทะเบียน 
  2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) มีอายุความคุ้มครอง 20 ปี โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุทุก ๆ 5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ยื่นคำขอ โดยเริ่มชำระหลังจากวันทีได้รับการจดทะเบียน

     

ในส่วนนี้ สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตคือ สำหรับงานประดิษฐ์ที่ต้องการขอรับความคุ้มครองในประเทศสิงคโปร์นั้น จะสามารถขอรับความคุ้มครองได้ในประเภท “สิทธิบัตรการประดิษฐ์” เท่านั้น หมายความว่า งานประดิษฐ์ดังกล่าวจะต้องผ่านเกณฑ์ทั้งในด้านความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม รวมถึงจะต้องมีการยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์อีกด้วย ดังนั้น ในกรณีที่ยื่นการประดิษฐ์ที่เป็นอนุสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์นั้น
มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับคำสั่งให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จึงจะได้รับจดทะเบียน เนื่องจากอนุสิทธิบัตรที่ยื่นเข้าประเทศสิงคโปร์นั้น จะถูกพิจารณาด้วยเกณฑ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งต้องมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นด้วย โดยระบบดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับระบบสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง ถึงแม้ว่าการยื่นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศสิงคโปร์อาจจะฟังดูมีเงื่อนไขมากมาย แต่สำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีความน่าสนใจเลยทีเดียว เนื่องจากมีอายุความคุ้มครองถึง 20 ปี นับตั้งแต่วันที่การยื่นคำขอเป็นครั้งแรก 

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อได้เปรียบอีกข้อหนึ่งของการยื่นสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การที่ประเทศสิงคโปร์นั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
ผู้ยื่นคำขอจึงไม่ต้องทำการแปลเป็นภาษาท้องถิ่นในการยื่น จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการแปลภาษาออกไป นอกเหนือจากนั้น สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสิงคโปร์ ยังมีการทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยเร่งรัดระยะเวลาในการตรวจสอบการประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็น 

1. Patent Prosecution Highway (PPH) 
ซึ่งโครงการนี้เราอาจจะค่อนคุ้นหู เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็มีโครงการดังกล่าวกับสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นเช่นกัน
แต่สำหรับประเทศสิงคโปร์นั้นได้มีการขยายความร่วมมือไปไกลกว่านั้นมาก โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญากว่า 30 สำนักงานจากประเทศทั่วโลกเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และยุโรป ซึ่งผลการตรวจค้นจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เร่งรัดขั้นตอนการตรวจสอบของประเทศสิงคโปร์ได้ เรียกได้ว่าเหมาะกับผู้ที่วางแผนที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองในหลาย ๆ ประเทศ 

2. The ASEAN Patent Examination Co-operation (ASPEC)
เป็นอีกชื่อหนึ่งที่เราค่อนข้างจะคุ้นหู เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาไทยก็มีโครงการดังกล่าวเช่นกัน โดยผู้ยื่นคำขอสามารถใช้
ผลการตรวจค้นจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมาประกอบการตรวจค้นของประเทศสิงคโปร์ได้ ซึ่งโครงการนี้จะเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกมากกว่าการเร่งรัดการตรวจสอบ รวมถึงมีโควต้าคำขอที่จะยื่นผ่านระบบดังกล่าวที่จำกัดต่อเดือน และที่สำคัญ โดยส่วนมากแล้วกระบวนการตรวจค้นของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสิงคโปร์มักจะใช้เวลาดำเนินการที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนอื่น ๆ 

3. Patent Cooperation with Cambodia and Laos
โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และเหมาะสมกันการขอรับความคุ้มครองในหลาย ๆ ประเทศเป็นอย่างยิ่ง
โดยภายใต้โครงการนี้ สิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์แล้ว สามารถนำไปยื่นเข้าประเทศกัมพูชาและลาวได้อีกครั้ง (Re-register)
โดยถือเป็นคำขอเดียวกันได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเทศกำหนด 

วิธีการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์ 

ในการยื่นสิทธิบัตรเข้าประเทศสิงคโปร์ สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผู้ยื่นสามารถยื่นได้ทั้งผ่านระบบการยื่นตรง (Direct route) และระบบสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (PCT) แต่ทั้งนี้ ในขั้นตอนการตรวจสอบของสิงคโปร์จะเป็นเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่
1. Search or Supplementary Search และ

2. Seach and Examination ในกรณีที่เป็นการยื่นตรงนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบทั้ง 2 ขั้นตอน ซึ่งทำให้ค่ามีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นมา ในขณะที่หากยื่นผ่านระบบ PCT จะได้รับการยกเว้นการตรวจสอบในขั้นตอนแรก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้ค่อนข้างมาก 

โดยสรุปแล้ว ประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจในการยื่นขอรับความคุ้มครอง เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของนักลงทุนที่จะลงทุนในนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติ การมีสิทธิบัตรในประเทศสิงคโปร์นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับการร่วมลงทุนเป็นอย่างมาก รวมถึงตลาดในประเศสิงคโปร์เองที่กำลังซื้อค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน จึงเหมาะที่จะนำสินค้าที่เป็นนวัตกรรมไปทำการตลาดเป็นอย่างยิ่ง 

หากพูดถึงประเทศสิงคโปร์แล้ว จะไม่พูดถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างประเทศมาเลเซียก็คงไม่ได้ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดเป็นอย่างมาก รวมถึงสำนักงานกฎหมายหรือตัวแทนสิทธิบัตรทั้งสองประเทศจำนวนมาก ก็ให้บริการดูแลคำขอทั้งสองประเทศควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นในตอนต่อไป เราจะมาอธิบายเจาะลึกถึงระบบสิทธิบัตรในประเทศมาเลเซียกันครับ 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ