OUR BLOG

จาก “สันดาป” สู่ “ไฟฟ้า” นวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์

นวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หนึ่งในปรากฏการณ์สำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ จุดเริ่มต้นสำคัญของ การเปลี่ยนแปลงนี้มาจากความร่วมมือของกว่า 190 ประเทศทั่วโลกภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อร่วมกันบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างออกนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว “สิ่งแวดล้อม” อาจไม่ใช่เหตุผลหลักในการตัดสินใจของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ทว่าเป็นเรื่องของความประหยัดในระยะยาว รวมถึงเทคโนโลยีทันสมัยที่มอบประสบการณ์ใหม่ในการขับขี่ บทความนี้จะชวนทุกคนมาอัปเดตสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปัจจุบัน พร้อมสำรวจเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และร่วมวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพร้อมแค่ไหนกับการเดินทางในครั้งนี้

สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน

จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่ยื่นจดทะเบียน

รูปที่ 1 จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสมในปี 2563-2567 (ที่มา : สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย)

แม้ในปัจจุบันรถยนต์ไฮบริด (HEV) จะยังคงเป็นประเภทที่มีจำนวนสะสมมากที่สุดในตลาดไทย แต่หากพิจารณาในเชิงอัตราการเติบโต จะเห็นว่าเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวเมื่อเทียบกับ BEV โดย HEV เติบโตจาก 259,812 คันในปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 469,543 คันในปี 2567 คิดเป็นการเติบโตประมาณ 81% ในช่วงสองปี ในขณะที่ BEV เพิ่มขึ้นจาก 32,081 คันในปี 2565 มาเป็น 227,490 คันในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตสูงเกือบ 600% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากการเลือกใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปสู่การให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ที่ไม่เพียงช่วย ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่ยังตอบโจทย์ด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์การขับขี่ที่ทันสมัยมากขึ้นด้วย

ข้อมูลความนิยมยานยนต์ของแต่ละประเทศในอาเซียน ปี 2567

รูปที่ 2 ข้อมูลความนิยมยานยนต์ของแต่ละประเทศในอาเซียน ปี 2567 (ที่มา : Deloitte)

นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงาน 2024 Global Automotive Consumer Study โดย Deloitte ซึ่งสำรวจแนวโน้มการเลือกประเภทเครื่องยนต์ในรถยนต์คันถัดไป (preference in type of engine for next vehicle) จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 27,000 คน ใน 26 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

สิ่งที่น่าสนใจคือ สัดส่วนของผู้บริโภคชาวไทยที่ยังคงต้องการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาป (Internal Combustion Engine : ICE) มีเพียง 32% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มเดียวกัน สะท้อนให้เห็น
ถึง “การเปลี่ยนผ่าน” สู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและรวดเร็ว

ในขณะที่ด้านภาครัฐของไทยมีแนวทางการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้ออกนโยบาย 30@30 เพื่อมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ผ่านการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 อีกทั้งยังส่งเสริมสถานี
อัดประจุไฟฟ้ารถยนต์กว่า 12,000 หัวจ่าย และส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกอีกด้วย

การปรับตัวและความท้าทาย

ยอดจองรถยนต์ในงาน Bangkok International Motor Show 2025 ครั้งที่ 46

รูปที่ 3 ยอดจองรถยนต์ในงาน Bangkok International Motor Show 2025 ครั้งที่ 46
(ที่มา : Autolifethailand)

แม้ภาครัฐและภาคธุรกิจจะพยายามปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จไฟฟ้าที่สวนทางกับปริมาณรถ EV เห็นได้จากยอดจอง BYD ในงานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม-8 เมษายน 2568 ที่ขึ้นแซงโตโยต้าเป็นครั้งแรกอยู่ที่ 10,353 คัน สะท้อนให้เห็นว่าตลาดพร้อมเติบโต ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานยังตามไม่ทัน รวมไปถึงด้านแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา และการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ โดยเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญอย่างแบตเตอรี่และระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก

เช่นเดียวกันกับในด้านของผู้บริโภคบางส่วนที่ยังกังวลเกี่ยวกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และต้นทุนในการซ่อมบำรุงระยะยาว อีกทั้งภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยเฉพาะรถยนต์จากจีนที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยต้องพิจารณาถึงคุณภาพโดยรวมของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้รถ EV จึงยังไม่ถูกเลือกให้เป็นรถยนต์คันแรกมากนัก ขณะที่รถยนต์ Hybrid อาจตอบโจทย์ได้มากกว่าในช่วงเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้รถยนต์คันเดิมไปอีกอย่างน้อย 10 ปี และต้องการความมั่นใจในความคุ้มค่าและความทนทานในระยะยาว

เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนอนาคตของรถยนต์

นอกเหนือจากการเปลี่ยนผ่านเครื่องยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า อีกหนึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่าง มีนัยสำคัญ
คือ “ระดับของเทคโนโลยี” ที่บรรจุอยู่ในรถยนต์แต่ละคัน ผู้ผลิตรถยนต์ต่างเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนผ่าน “การยื่นขอจดสิทธิบัตร” ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรถยนต์หนึ่งคันอาจมีองค์ประกอบที่สามารถจดสิทธิบัตรได้หลายร้อยฉบับ ตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ไปจนถึงสิทธิบัตรออกแบบดีไซน์ตัวถัง ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตร เช่น ระบบแจ้งเตือนผู้โดยสารที่ถูกลืมในรถ ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ หรือแม้แต่แบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ช่วยยืดอายุการใช้งาน 

บริษัทที่ขึ้นแท่นเป็นผู้นำในการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State Battery) คือ ‘Toyota’ โดยมีจำนวนสิทธิบัตรถึง 1,331 ฉบับ ซึ่งเป็นการคิดค้นแหล่งกำเนิดพลังงานที่มีเสถียรภาพสูง ไม่เสี่ยง
ต่อการติดไฟเหมือนกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน อีกทั้งยังรองรับการชาร์จไฟฟ้าได้เร็วกว่าอีกด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างสิทธิบัตรยานยนต์สุดล้ำจาก General Motors ที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2024 คือเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพจิตของผู้ขับขี่ (Vehicle Occupant Mental Wellbeing Assessment and Countermeasure Deployment) ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้ขับขี่ในระหว่างการเดินทาง
ระบบนี้จะตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ เช่น การเหยียบเบรกกระทันหันซ้ำ ๆ การเร่งเครื่องแรงผิดปกติ หรือการใช้แตรบ่อยครั้ง เพื่อระบุสัญญาณความเครียดหรือความกดดันทางจิตใจ หากพบพฤติกรรมเสี่ยง ระบบสามารถเชื่อมต่อกับบริการสนับสนุนต่าง ๆ ได้ทันที เช่น การแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ และยกระดับความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับและผู้โดยสาร

ในขณะที่ประเทศไทย แม้จะมีบทบาทในฐานะฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน แต่ยังมีสัดส่วนของการยื่นจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมยานยนต์ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่สิทธิบัตรที่ยื่นในไทยมักมาจากบริษัทรถยนต์ต่างชาติ หรือศูนย์วิจัย R&D ที่ตั้งอยู่ในไทย แต่ไม่ได้มาจากผู้ประกอบการหรือนักวิจัยท้องถิ่นโดยตรง

การสร้างสรรค์นวัตกรรมจึงไม่เพียงพอ หากขาดการปกป้องและต่อยอดในเชิงทรัพย์สินทางปัญญา นั่นทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องเร่งลงทุนด้านการวิจัย พัฒนา และยื่นขอจดสิทธิบัตรอย่างเป็นระบบ รวมถึงพัฒนาบุคลากรที่มีความเข้าใจทั้งเทคโนโลยีและกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างแท้จริง ท้ายที่สุด “สิทธิบัตร” จึงไม่ใช่แค่เครื่องมือปกป้องนวัตกรรม แต่คือ “ใบเบิกทาง” สู่ความสามารถใน การแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต

บทสรุปการเดินทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ความท้าทายที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็น “การเปลี่ยนผ่าน” ครั้งใหญ่ในอุตสากรรมยานยนต์ไทยอย่างชัดเจน แม้ในวันนี้รถ EV จะเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ทว่าคำถามสำคัญคือ “ในอีก 10 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะมุ่งไปทางไหน?” คำตอบอาจไม่ใช่แค่ “การหันมาใช้ EV” เท่านั้น แต่คือการเตรียมพร้อมในทุกมิติ ตั้งแต่ การพัฒนาแรงงานที่มีความรู้เฉพาะทางด้านระบบไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาว เพราะปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าในหลายระบบสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อทั้งต้นทุนและระยะเวลาในการซ่อมบำรุง

อีกหนึ่งความท้าทายที่ไม่อาจมองข้าม คือ คุณภาพและอายุการใช้งานของรถ EV ที่แม้จะเน้นยอดขายคันใหม่ แต่ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากยังคาดหวังความทนทาน คุ้มค่า และการดูแลระยะยาว ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบสนับสนุนหลังการขายที่มั่นคงเพียงพอในบางแบรนด์ โดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด

ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค คำถามสำคัญที่อาจต้องพิจารณาคือ “รถ EV เหมาะสมที่จะเป็นรถยนต์คันแรกหรือไม่หากเราต้องใช้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า” ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมควรหันกลับมามองว่า หากต้องการ “ครองใจคนไทย” อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ผลิตรถทันสมัยในราคาคุ้มค่า แต่ต้องสร้าง “ระบบนิเวศ” ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกอุ่นใจ ตั้งแต่การให้ข้อมูลที่โปร่งใส การรับประกันที่ชัดเจน การดูแลหลังการขายที่เข้าถึงได้ง่าย ไปจนถึง การส่งเสริมการใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบ เพราะอนาคตของรถยนต์ไทยไม่ใช่เพียงเรื่องของพลังงาน แต่คือ การร่วมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างรัฐ ผู้ผลิต และผู้บริโภค เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่คือการเดินทางที่มั่นคงของทั้งระบบเศรษฐกิจ

นวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หนึ่งในปรากฏการณ์สำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ จุดเริ่มต้นสำคัญของ การเปลี่ยนแปลงนี้มาจากความร่วมมือของกว่า 190 ประเทศทั่วโลกภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อร่วมกันบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างออกนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว “สิ่งแวดล้อม” อาจไม่ใช่เหตุผลหลักในการตัดสินใจของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ทว่าเป็นเรื่องของความประหยัดในระยะยาว รวมถึงเทคโนโลยีทันสมัยที่มอบประสบการณ์ใหม่ในการขับขี่ บทความนี้จะชวนทุกคนมาอัปเดตสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปัจจุบัน พร้อมสำรวจเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และร่วมวิเคราะห์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพร้อมแค่ไหนกับการเดินทางในครั้งนี้

สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน

จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่ยื่นจดทะเบียน

รูปที่ 1 จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนสะสมในปี 2563-2567 (ที่มา : สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย)

แม้ในปัจจุบันรถยนต์ไฮบริด (HEV) จะยังคงเป็นประเภทที่มีจำนวนสะสมมากที่สุดในตลาดไทย แต่หากพิจารณาในเชิงอัตราการเติบโต จะเห็นว่าเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวเมื่อเทียบกับ BEV โดย HEV เติบโตจาก 259,812 คันในปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 469,543 คันในปี 2567 คิดเป็นการเติบโตประมาณ 81% ในช่วงสองปี ในขณะที่ BEV เพิ่มขึ้นจาก 32,081 คันในปี 2565 มาเป็น 227,490 คันในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตสูงเกือบ 600% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากการเลือกใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปสู่การให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ที่ไม่เพียงช่วย ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่ยังตอบโจทย์ด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์การขับขี่ที่ทันสมัยมากขึ้นด้วย

ข้อมูลความนิยมยานยนต์ของแต่ละประเทศในอาเซียน ปี 2567

รูปที่ 2 ข้อมูลความนิยมยานยนต์ของแต่ละประเทศในอาเซียน ปี 2567 (ที่มา : Deloitte)

นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงาน 2024 Global Automotive Consumer Study โดย Deloitte ซึ่งสำรวจแนวโน้มการเลือกประเภทเครื่องยนต์ในรถยนต์คันถัดไป (preference in type of engine for next vehicle) จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 27,000 คน ใน 26 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

สิ่งที่น่าสนใจคือ สัดส่วนของผู้บริโภคชาวไทยที่ยังคงต้องการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาป (Internal Combustion Engine : ICE) มีเพียง 32% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มเดียวกัน สะท้อนให้เห็น
ถึง “การเปลี่ยนผ่าน” สู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและรวดเร็ว

ในขณะที่ด้านภาครัฐของไทยมีแนวทางการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้ออกนโยบาย 30@30 เพื่อมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ผ่านการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 อีกทั้งยังส่งเสริมสถานี
อัดประจุไฟฟ้ารถยนต์กว่า 12,000 หัวจ่าย และส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกอีกด้วย

การปรับตัวและความท้าทาย

ยอดจองรถยนต์ในงาน Bangkok International Motor Show 2025 ครั้งที่ 46

รูปที่ 3 ยอดจองรถยนต์ในงาน Bangkok International Motor Show 2025 ครั้งที่ 46
(ที่มา : Autolifethailand)

แม้ภาครัฐและภาคธุรกิจจะพยายามปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จไฟฟ้าที่สวนทางกับปริมาณรถ EV เห็นได้จากยอดจอง BYD ในงานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม-8 เมษายน 2568 ที่ขึ้นแซงโตโยต้าเป็นครั้งแรกอยู่ที่ 10,353 คัน สะท้อนให้เห็นว่าตลาดพร้อมเติบโต ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานยังตามไม่ทัน รวมไปถึงด้านแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา และการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ โดยเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญอย่างแบตเตอรี่และระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก

เช่นเดียวกันกับในด้านของผู้บริโภคบางส่วนที่ยังกังวลเกี่ยวกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และต้นทุนในการซ่อมบำรุงระยะยาว อีกทั้งภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยเฉพาะรถยนต์จากจีนที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยต้องพิจารณาถึงคุณภาพโดยรวมของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้รถ EV จึงยังไม่ถูกเลือกให้เป็นรถยนต์คันแรกมากนัก ขณะที่รถยนต์ Hybrid อาจตอบโจทย์ได้มากกว่าในช่วงเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้รถยนต์คันเดิมไปอีกอย่างน้อย 10 ปี และต้องการความมั่นใจในความคุ้มค่าและความทนทานในระยะยาว

เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนอนาคตของรถยนต์

นอกเหนือจากการเปลี่ยนผ่านเครื่องยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า อีกหนึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่าง มีนัยสำคัญ
คือ “ระดับของเทคโนโลยี” ที่บรรจุอยู่ในรถยนต์แต่ละคัน ผู้ผลิตรถยนต์ต่างเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนผ่าน “การยื่นขอจดสิทธิบัตร” ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรถยนต์หนึ่งคันอาจมีองค์ประกอบที่สามารถจดสิทธิบัตรได้หลายร้อยฉบับ ตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ไปจนถึงสิทธิบัตรออกแบบดีไซน์ตัวถัง ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตร เช่น ระบบแจ้งเตือนผู้โดยสารที่ถูกลืมในรถ ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ หรือแม้แต่แบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ช่วยยืดอายุการใช้งาน 

บริษัทที่ขึ้นแท่นเป็นผู้นำในการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State Battery) คือ ‘Toyota’ โดยมีจำนวนสิทธิบัตรถึง 1,331 ฉบับ ซึ่งเป็นการคิดค้นแหล่งกำเนิดพลังงานที่มีเสถียรภาพสูง ไม่เสี่ยง
ต่อการติดไฟเหมือนกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน อีกทั้งยังรองรับการชาร์จไฟฟ้าได้เร็วกว่าอีกด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างสิทธิบัตรยานยนต์สุดล้ำจาก General Motors ที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2024 คือเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพจิตของผู้ขับขี่ (Vehicle Occupant Mental Wellbeing Assessment and Countermeasure Deployment) ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้ขับขี่ในระหว่างการเดินทาง
ระบบนี้จะตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ เช่น การเหยียบเบรกกระทันหันซ้ำ ๆ การเร่งเครื่องแรงผิดปกติ หรือการใช้แตรบ่อยครั้ง เพื่อระบุสัญญาณความเครียดหรือความกดดันทางจิตใจ หากพบพฤติกรรมเสี่ยง ระบบสามารถเชื่อมต่อกับบริการสนับสนุนต่าง ๆ ได้ทันที เช่น การแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ และยกระดับความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับและผู้โดยสาร

ในขณะที่ประเทศไทย แม้จะมีบทบาทในฐานะฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน แต่ยังมีสัดส่วนของการยื่นจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมยานยนต์ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่สิทธิบัตรที่ยื่นในไทยมักมาจากบริษัทรถยนต์ต่างชาติ หรือศูนย์วิจัย R&D ที่ตั้งอยู่ในไทย แต่ไม่ได้มาจากผู้ประกอบการหรือนักวิจัยท้องถิ่นโดยตรง

การสร้างสรรค์นวัตกรรมจึงไม่เพียงพอ หากขาดการปกป้องและต่อยอดในเชิงทรัพย์สินทางปัญญา นั่นทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องเร่งลงทุนด้านการวิจัย พัฒนา และยื่นขอจดสิทธิบัตรอย่างเป็นระบบ รวมถึงพัฒนาบุคลากรที่มีความเข้าใจทั้งเทคโนโลยีและกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างแท้จริง ท้ายที่สุด “สิทธิบัตร” จึงไม่ใช่แค่เครื่องมือปกป้องนวัตกรรม แต่คือ “ใบเบิกทาง” สู่ความสามารถใน การแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต

บทสรุปการเดินทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ความท้าทายที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็น “การเปลี่ยนผ่าน” ครั้งใหญ่ในอุตสากรรมยานยนต์ไทยอย่างชัดเจน แม้ในวันนี้รถ EV จะเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ทว่าคำถามสำคัญคือ “ในอีก 10 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะมุ่งไปทางไหน?” คำตอบอาจไม่ใช่แค่ “การหันมาใช้ EV” เท่านั้น แต่คือการเตรียมพร้อมในทุกมิติ ตั้งแต่ การพัฒนาแรงงานที่มีความรู้เฉพาะทางด้านระบบไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาว เพราะปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าในหลายระบบสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อทั้งต้นทุนและระยะเวลาในการซ่อมบำรุง

อีกหนึ่งความท้าทายที่ไม่อาจมองข้าม คือ คุณภาพและอายุการใช้งานของรถ EV ที่แม้จะเน้นยอดขายคันใหม่ แต่ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากยังคาดหวังความทนทาน คุ้มค่า และการดูแลระยะยาว ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบสนับสนุนหลังการขายที่มั่นคงเพียงพอในบางแบรนด์ โดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด

ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค คำถามสำคัญที่อาจต้องพิจารณาคือ “รถ EV เหมาะสมที่จะเป็นรถยนต์คันแรกหรือไม่หากเราต้องใช้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า” ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมควรหันกลับมามองว่า หากต้องการ “ครองใจคนไทย” อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ผลิตรถทันสมัยในราคาคุ้มค่า แต่ต้องสร้าง “ระบบนิเวศ” ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกอุ่นใจ ตั้งแต่การให้ข้อมูลที่โปร่งใส การรับประกันที่ชัดเจน การดูแลหลังการขายที่เข้าถึงได้ง่าย ไปจนถึง การส่งเสริมการใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบ เพราะอนาคตของรถยนต์ไทยไม่ใช่เพียงเรื่องของพลังงาน แต่คือ การร่วมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างรัฐ ผู้ผลิต และผู้บริโภค เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่คือการเดินทางที่มั่นคงของทั้งระบบเศรษฐกิจ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ