OUR BLOG

Balanced Scorecard และการบริหาร Intangible Assets (IA) ข้ามสายงานให้มีประสิทธิภาพ

IP Vision 04

Balanced Scorecard
และการบริหาร Intangible Assets (IA) ข้ามสายงานให้มีประสิทธิภาพ

“A mere 7% of employees today fully understand their company’s strategies and what’s expected of them in order to help achieve company goals”– Robert S. Kaplan –

Professor Robert S. Kaplan แห่ง Harvard Business School ผู้คิดค้น Balanced Scorecard ร่วมกับ Dr. David P. Norton เคยกล่าวไว้ว่ามีพนักงานไม่กี่คนในองค์กรที่เข้าใจกลยุทธ์ขององค์กรที่ตนอยู่อย่างแท้จริง รวมถึงความคาดหวังจากผู้บริหารเพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดขององค์กร ดังนั้น Balanced Scorecard (BSC) ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปิดช่องว่างระหว่างกลยุทธ์องค์กรและการปฎิบัติงานของทุกคนในองค์กรเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน มีระบบการประเมินประสิทธิภาพการปฎิบัติงานที่ชัดเจนและมีความสมดุล โดยมองจาก 4 ปัจจัยหลักที่สำคัญต่อธุรกิจ ได้แก่ ด้านการเงิน, ด้านลูกค้า, ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยจุดประสงค์หลักของการใช้ BSC คือ เพื่อให้การทำงานของทุกๆ คนในทุกๆ ฝ่าย ไปในทิศทางที่ตอบโจทย์ความคาดหวัง วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กรให้ได้มากที่สุด

ผมเรียนเรื่องการใช้ BSC เพื่อการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรกจาก Prof. Tanaka อาจารย์ที่ปรึกษา ป.โท ของผมตอนเรียนอยู่ที่ Tokyo Tech และเชื่อว่าเครื่องมือการบริหารชนิดนี้ เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยขับเคลื่อนด้วยสินทรัพย์ทั่วไป (Tangible Assets Driven) เช่นทรัพยากรธรรมชาติ, ที่ดิน, เครื่องจักร, อุปกรณ์, วัตถุดิบ ฯลฯ ไปเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยมันสมอง หรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets/IA Driven) เช่น แบรนด์ โนว์ฮาวทางธุรกิจ, สิทธิบัตร, ดาต้า, โค้ต ฯลฯ  และ การใช้ BSC จะช่วยทำให้ฝ่ายอื่นๆ ในองค์กร รวมถึงตัวผู้บริหารหันมาให้ความสนใจและมีส่วนร่วมกับการบริหาร IA มากขึ้น

AAEAAQAAAAAAAAM4AAAAJGRmODhlN2EzLTc4ZjktNGY2YS1hOTlkLTc5YzFhOTUyOTRiMQ

ที่มา: https://www.linkedin.com

จากการที่ผู้บริหารส่วนใหญ่เคยมองกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ IA ว่า “ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับด้านการเงิน ไม่ช่วยทำให้ลูกค้าหรือผู้ถือหุ้นยอมรับสินค้าเรามากขึ้น มันเป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมาย รวมถึงการมองเป็นเรื่องต้นทุนที่สูง ทั้งในเรื่องการสร้าง พัฒนา จดทะเบียน และค่าใช้จ่ายแฝงอีกเยอะแยะในการปกป้อง บังคับคดีด้านทรัพย์สินทางปัญญา” แต่เมื่อมีการวางวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ IA ลงบน BSC ผมเชื่อว่าคุณจะสามารถให้มุมมองใหม่ๆ แก่ผู้บริหารและบุคคลากรอื่นๆ ที่กว้างขึ้น แตกต่างจากเดิม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Aspect)

  • ช่วยในการเพิ่มยอดขาย และผลกำไรให้บริษัทโดยการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ และเก็บค่าสิทธิหรือ Royalty ในการใช้สิทธิบัตร โนว์ฮาว ฐานข้อมูล หรือแบรนด์ของเราได้
  • ช่วยเพิ่มยอดขายโดยการปกป้องไม่ให้คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกับเราได้
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วยการพัฒนาไอเดียในการจัดการธุรกิจ และเทคนิคต่างๆ
  • เพิ่มเติมในผลการเงินของบริษัทโดยการสร้างและพัฒนาระบบบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
  • การใช้ส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจในเชิงมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น
Balanced Scorecard content 03
Balanced Scorecard content 02

2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer’s Aspect)

  • ช่วยปกป้องลูกค้าจากการพิพาทเรื่องกฎหมาย เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  • ส่งเสริมลูกค้าบางรายในการขยายส่วนแบ่งตลาด
  • เพิ่มผลกำไรให้ลูกค้าด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ
  • เพิ่มความสามารถด้านกลยุทธ์การขาย และการตรวจสอบจัดซื้อสินค้า
  • โปรโมทการขายให้คู่ค้า และส่งถึงผู้บริโภค
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการ
  • สร้างนโยบายด้านการสร้างแบรนด์และคุ้มครองเครื่องหมายการค้า

3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Business Process Aspect)

  • พัฒนากระบวนการภายในธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
  • เปลี่ยนหรือเริ่มกระบวนการปฎิบัติงานใหม่ด้วยสิทธิบัตรที่คุ้มครองรูปแบบธุรกิจ
  • ปรับปรุง ทำกระบวนการจัดการให้ทันสมัยจากการสั่งซื้อถึงการจ่ายเงินด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
  • เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของ Production Line
  • ปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายภายในองค์กรเกี่ยวกับไอเดียใหม่ๆ พร้อมกระบวนการจัดเก็บข้อมูลความลับ
Balanced Scorecard content 04
Balanced Scorecard content 01

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Organizational Development Aspect)

  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาเชิงกลยุทธ์ด้วยข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  • ให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์เทรนด์เทคโนโลยี และสิทธิบัตรของคู่แข่ง
  • สร้างความเชื่องโยงระหว่างฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายกฎหมาย ฝ่าย R&D ฝ่ายผลิต ฯลฯ
  • สร้างศูนย์กระจายความรู้ด้าน IA เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานทุกระดับและส่งต่อถึงคู่ค้าและผู้ถือหุ้น
  • กระตุ้นและทำให้พนักงานอยากมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้นโดยการให้รางวัลนักประดิษฐ์หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง
logo 02 1

วัตถุประสงค์ด้าน IA แบ่งตาม 4 ปัจจัยของ BSC ที่ได้ยกตัวอย่างตามด้านบนนี้ เป็นแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่อาจจะเหมาะสมเฉพาะบางธุรกิจ แต่ผมอยากให้ทุกท่านเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ด้าน IA ควรถูกนำไปพิจารณาใช้แบบ Cross Functional หรือให้เป็นความรับผิดชอบของหลายๆฝ่ายในองค์กร  เช่น การอนุญาตใช้สิทธิ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหลายๆฝ่ายแน่นอน เช่น การเงินและบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่าย R&D ฝ่ายผลิต ฯลฯ ก็จะนำไปแปลงเป็นกิจกรรมที่ต้องแชร์ระหว่างฝ่าย เช่น การตรวจเช็คยอดขายและบัญชีของผู้ใช้สิทธิเพื่อวิเคราะห์ค่าสิทธิที่ควรได้รับสำหรับฝ่ายบัญชี และการตรวจสอบคุณภาพของสิ่งที่ผลิตขึ้นมาตามสิทธิที่ถ่ายทอดไปโดยฝ่ายผลิต รวมถึงมีวิธีการวัดผลประสิทธิภาพ (KPIs) ของกิจกรรมทั้งหมด เช่น จำนวนและรายได้จากการอนุญาตใช้สิทธิ เปอร์เซ็นสินค้าที่ไม่ผ่าน QC  จำนวนการร้องเรียนจากลูกค้า ฯลฯ เพื่อส่งต่อไปถึงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กรต่อไป

วีระเวช อรธนาลัย (กาย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ