OUR BLOG

BAYH-DOLE ACT กับสิทธิของนักวิจัย

idg 201802 131 1
BAYH-DOLE ACT
กับสิทธิของนักวิจัย
 

        เมื่อตอนที่ 1 เราได้ทราบกันไปแล้วว่า Bayh Dole Act เปิดโอกาสให้ “ผู้รับทุน” เป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่เกิดจากสัญญารับทุนสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (มาตรา 10) และเป็นหน้าที่ของผู้รับทุน ที่จะต้องแสวงหาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยนั้นๆ

ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดของกฎหมายในมาตรา 10 เพิ่มเติม จะพบว่ามีการระบุไว้ในวรรค 4 ว่่า “กรณีที่ผู้รับทุนแสดงความประสงค์ไม่ถือครองสิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรม นักวิจัยที่มีความประสงค์ถือครองสิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น อาจทำหนังสือขอถือครองสิทธิไปยังผู้ให้ทุนได้” นั่นหมายความว่าหาก “นักวิจัย” ท่านใดมองเห็นแนวทางใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของตน สามารถขอเป็นเจ้าของในผลงานนั้นได้ แต่..ต้องเป็นกรณีที่ “ผู้รับทุน” ได้แก่ องค์กร หรือหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่ ไม่ขอเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยนั้น ซึ่งผู้รับทุนสามารถโอนความเป็นเจ้าของให้ “นักวิจัย” ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ให้ทุน และเมื่อ “นักวิจัย” ได้ความเป็นเจ้าของในผลงานนั้นๆ แล้ว ต้องปฏิบัติเสมือนหนึ่งเป็นผู้รับทุน คือ ..

  • รายงานผลการวิจัยและนวัตกรรม ให้ผู้ให้ทุนทราบก่อนดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (มาตรา 10 วรรค 2)
  • บริหารจัดการผลงาน เพื่อการใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์ และสาธารณประโยชน์ และกรณีเกิดรายได้ต้องมีการจัดสรรให้แก่ผู้ที่เกี่วยวข้อง (มาตรา 11)
  • หากไม่มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่รายงานผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ค้นพบต่อผู้ให้ทุน ให้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมกลับไปเป็นของผู้ให้ทุน (มาตรา 24)
 
         ในความเป็นจริง! การโอนสิทธิความเป็นเจ้าของจาก “ผู้รับทุน” มายัง “นักวิจัย” นั้น มีความจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐ หรือมหาวิทยาลัย จะต้องปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับ พรบ. ฉบับนี้ ด้วยในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมักระบุให้ สิทธิในผลงานวิจัยและผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของพนักงานหรือลูกจ้าง เป็นของหน่วยงานของรัฐ เท่านั้น โดยมีการระบุไว้ในระเบียบทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงาน หรือในสัญญาว่าจ้างงาน เป็นต้น

แล้วถ้า “นักวิจัย” ได้โอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นแล้ว แค่นักวิจัยเพียงฝ่ายเดียวจะสามารถจัดการผลงานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างที่กฎหมายเปิดโอกาสให้หรือไม่? ควรมีตัวช่วยหรือไม่? และควรเป็นใคร? ในตอนที่ 3 เราจะมาแนะนำกันค่ะ

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความล่าสุด

idg 201802 131 1
BAYH-DOLE ACT
กับสิทธิของนักวิจัย
 

        เมื่อตอนที่ 1 เราได้ทราบกันไปแล้วว่า Bayh Dole Act เปิดโอกาสให้ “ผู้รับทุน” เป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่เกิดจากสัญญารับทุนสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (มาตรา 10) และเป็นหน้าที่ของผู้รับทุน ที่จะต้องแสวงหาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยนั้นๆ

ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดของกฎหมายในมาตรา 10 เพิ่มเติม จะพบว่ามีการระบุไว้ในวรรค 4 ว่่า “กรณีที่ผู้รับทุนแสดงความประสงค์ไม่ถือครองสิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรม นักวิจัยที่มีความประสงค์ถือครองสิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น อาจทำหนังสือขอถือครองสิทธิไปยังผู้ให้ทุนได้” นั่นหมายความว่าหาก “นักวิจัย” ท่านใดมองเห็นแนวทางใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของตน สามารถขอเป็นเจ้าของในผลงานนั้นได้ แต่..ต้องเป็นกรณีที่ “ผู้รับทุน” ได้แก่ องค์กร หรือหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่ ไม่ขอเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยนั้น ซึ่งผู้รับทุนสามารถโอนความเป็นเจ้าของให้ “นักวิจัย” ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ให้ทุน และเมื่อ “นักวิจัย” ได้ความเป็นเจ้าของในผลงานนั้นๆ แล้ว ต้องปฏิบัติเสมือนหนึ่งเป็นผู้รับทุน คือ ..

  • รายงานผลการวิจัยและนวัตกรรม ให้ผู้ให้ทุนทราบก่อนดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (มาตรา 10 วรรค 2)
  • บริหารจัดการผลงาน เพื่อการใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์ และสาธารณประโยชน์ และกรณีเกิดรายได้ต้องมีการจัดสรรให้แก่ผู้ที่เกี่วยวข้อง (มาตรา 11)
  • หากไม่มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่รายงานผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ค้นพบต่อผู้ให้ทุน ให้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมกลับไปเป็นของผู้ให้ทุน (มาตรา 24)
 
         ในความเป็นจริง! การโอนสิทธิความเป็นเจ้าของจาก “ผู้รับทุน” มายัง “นักวิจัย” นั้น มีความจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐ หรือมหาวิทยาลัย จะต้องปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับ พรบ. ฉบับนี้ ด้วยในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมักระบุให้ สิทธิในผลงานวิจัยและผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของพนักงานหรือลูกจ้าง เป็นของหน่วยงานของรัฐ เท่านั้น โดยมีการระบุไว้ในระเบียบทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงาน หรือในสัญญาว่าจ้างงาน เป็นต้น

แล้วถ้า “นักวิจัย” ได้โอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นแล้ว แค่นักวิจัยเพียงฝ่ายเดียวจะสามารถจัดการผลงานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างที่กฎหมายเปิดโอกาสให้หรือไม่? ควรมีตัวช่วยหรือไม่? และควรเป็นใคร? ในตอนที่ 3 เราจะมาแนะนำกันค่ะ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ