OUR BLOG

ร้องเพลงตัวเอง “ละเมิดลิขสิทธิ์” ยังไง?

idg 201802 03


ร้องเพลงตัวเอง “ละเมิดลิขสิทธิ์” ยังไง?

จากกรณีที่ตัวแทนลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าศิลปินวง Big Ass ได้นำเพลง “ก่อนตาย” มาขับร้องในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความ และออกหมายเรียกทั้งหมดมาสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

14875922131487592323l

ที่มา : prachachat.net

ตามที่สำนักข่าวต่าง ๆ ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น หลายท่านคงกำลังสงสัยว่า เพลง “ก่อนตาย” เป็นเพลงของวง Big Ass เอง แล้วทำไมถึงถูกแจ้งความข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้? การร้องเพลงตัวเองเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วยเหรอ? วันนี้ IDG จะมาอธิบายให้ฟังกันครับ

3657155 0001

ที่มา : siamzone.com

เพลงหรืองานดนตรีกรรม

เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นที่มีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์จากงานอันมีสิทธิ์แก่บุคคลอื่น และอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิได้ตามกฎหมาย หากบุคคลอื่นใช้สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

คำถามต่อมาคือ ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานเพลงกันล่ะ?

สำหรับในธุรกิจเพลง โดยปกติค่ายเพลงมักจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานเพลงในสังกัดค่ายของตนเอง ซึ่งค่ายเพลงอาจเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้โดยการรับโอนลิขสิทธิ์จากผู้ประพันธ์ หรือศิลปินผู้สร้างสรรค์ หรือการเป็นเจ้าของโดยอาศัยสัญญาจ้างระหว่างค่ายเพลงกับศิลปิน ที่มีข้อสัญญาระบุให้ ค่ายเพลงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานเพลงที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างการเป็นศิลปินในสังกัด เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อศิลปินคนใดหรือวงใดสิ้นสุดสัญญากับค่ายเพลงเดิมและย้ายไปสังกัดค่ายอื่น จึงไม่มีสิทธิที่จะนำผลงานเพลงที่ค่ายเพลงเดิมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไปขับร้องโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยเป็นเพลงที่ตัวเองเคยแต่งหรือเคยเป็นเพลงแจ้งเกิดของวงก็ตาม

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ